ความเป็นมาของวันโอโซนโลก (World Ozone Day)
เนื่องจากในยุคสมัยที่ผ่านมา โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ได้ใช้สารเคมีซีเอฟซี หรือคลอโรฟลูออโรคาร์บอน (CFC : Chlorofluorocarbon) เป็นจำนวนมาก พบมากในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องทำความเย็น และอุตสาหกรรมผลิตโฟม ทำให้สารเคมี ซีเอฟซีระเหยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศ และไปทำปฏิกิริยากับก๊าซโอโซน จนก๊าซโอโซนถูกทำลาย และลดปริมาณลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งสารเคมีซีเอฟซีเป็นสารที่สลายตัวเองได้ยาก จึงทำให้ตกค้างอยู่ในชั้นบรรยากาศเป็นเวลานาน ร่วมกับก๊าซโอโซนถูกทำลายลงไปมาก จึงทำให้รังสียูวีอุลตราไวโอเลตเข้าสู่พื้นโลกมาขึ้น ซึ่งส่งผลให้สิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งสัตว์และ มนุษย์เกิดเป็นโรคมะเร็งผิวหนัง ด้วยเหตุนี้เองจึงได้มีการกำหนดให้วันที่ 16 กันยายนของทุกปี เป็นวันโอโซโลก นับตั้งแต่ปี 2530 เป็นต้นมา นานาประเทศได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน ขึ้นในปี พ.ศ. 2528 เรียกว่า “อนุสัญญาเวียนนา และพิธีสารว่าด้วยการเลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน” และจัดให้ลงนามใน “พิธีสารมอนทรีออล” ขึ้นในวันที่ 16 กันยายน ปี พ.ศ. 2530
สำหรับประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532
วัตถุประสงค์ของการกำหนดวันโอโซนโลก
1. เพื่อกระตุ้นให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญา ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอน ซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนในชั้นบรรยากาศ
(จำนวนผู้เข้าชม 2653 ครั้ง)