...

เก็บบันทึกเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ

พลอย ยิสสัย."เก็บบันทึกเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ".ศิลปากร.19:6;มีนาคม2519(52-65).


เก็บบันทึกเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ

ของ
พลอย นิสสัย

          ก่อนเกษียณอายุราชการ ผู้เขียนได้รับราชการในตําแหน่ง ครูใหญ่โรงเรียนวัดทองทั่ว (เอครพานิช) อําเภอเมือง จันทบุรี และได้อยู่ในท้องถิ่นที่ตั้งเมืองจันทบุรีโบราณ ยุคแรก ซึ่งเข้าใจกันว่าอยู่ที่เชิงเขาสระบาป นานกว่า ๔๐ ปี จึงได้รวบรวมบันทึกจากตํานานที่เล่าสืบต่อกันมา และจาก การสํารวจสถานที่ของคณะกรรมการสภาตําบล ฯ เสนอเป็น หลักฐานเกี่ยวกับประวัติศาสตร์เมืองจันทบุรี - บรรณาธิการ


คํานํา

ข้าพเจ้าได้รับคําขอร้อง จากท่านพระครูสวัสดิ์ จตตาลโย เจ้าอาวาสวัดทองทั่ว ให้เขียน เรื่องเมืองจันทบุรีโบราณยุคแรก ที่วินิจฉัยกันว่า เดิมเคยตั้งอยู่ที่เชิงเขาสระบาป ท้องที่ตําบล คลองนารายณ์ อําเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี ในบริเวณวัดทองทั่ว ข้าพเจ้าคิดมาหลายวันว่า เรื่องนี้จะทํากันอย่างไร ในที่สุดก็ตกลงใจทําแบบรวบรวมเรียบเรียง จากคําบอกเล่าบ้าง จากตํานาน ที่เล่ากันบ้าง จากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ที่เคยผ่านตามาบ้าง ตลอดจนประสบการณ์ของข้าพเจ้าเอง เพราะทําแบบประวัติศาสตร์นั้น มือไม่ถึงเอาทีเดียว แม้ทําแบบเก็บบันทึกเช่นนี้ ก็คงจะมีที่เป็น ทํานองรู้เท่าไม่ถึงการอยู่ จึงหวังว่าคงได้รับความกรุณาจากท่านผู้รู้ทั้งหลาย


* อดีตครูใหญ่โรงเรียนวัดทองทั่ว (เอครพานิช)


ที่ตั้งเมืองจันทบุรี

จากเอกสารหนังสือต่าง ๆ ทางประวัติศาสตร์ บอกว่าตัวเมืองจันทบุรี มีที่ตั้งหลายแห่ง

           ครั้งแรก ราวระหว่าง พ.ศ. ๘๐๐ - ๑๘๐๐ เมืองจันทบุรีโบราณ ทั้งที่ตําบลคลอง นารายณ์ เชิงเขาสระบาป

          ครั้งที่ ๒ ราวระหว่าง พ.ศ. ๑๙๐๐ – ๒๒๐๐ เมืองจันทบุรีโบราณ ตั้งที่บ้านหัววัง ตําบลพุงทะลาย (เดิม) ริมแม่น้ําจันทบุรี เหนือวัดจันทนารามเดี๋ยวนี้

          ครั้งที่ ๓ ราวระหว่าง พ.ศ. ๒๒๐๐ - ๒๓๒๘ เมืองจันทบุรีเก่า ตั้งที่บ้านลุ่ม คือ ที่ ตั้งปัจจุบันนี้

          ครั้งที่ ๔ พ.ศ. ๒๓๗๘ - ราว พ.ศ. ๒๔๓๖ เมืองจันทบุรีใหม่ ทั้งที่ค่ายเนินวง ตําบลบางกะจะ อําเภอเมืองจันทบุรี

          ครั้งที่ ๕ ราว พ.ศ. ๒๔๓๖ - ปัจจุบัน กลับมาตั้งที่เมืองจันทบุรีเก่า ณ บริเวณบ้านลุ่ม ตามเดิม

          ในการเขียนครั้งนี้ มุ่งจะเก็บบันทึกเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ ณ ที่ตั้งตัวเมืองจันทบุรี ครั้งแรกเป็นสําคัญ เหตุนี้จะไม่กล่าวถึงที่ตั้งตัวเมืองจันทบุรีที่อื่น


ที่ตั้งตัวเมืองจันทบุรีโบราณครั้งแรก ตามอักขรานุกรมภูมิศาสตร์จังหวัดจันทบุรี ของ ราชบัณฑิตยสถาน ได้กล่าวถึงที่ตั้ง ตัวเมืองจันทบุรีไว้ดังนี้

          “จันทบุรี” เป็นเมืองโบราณ มีชื่อปรากฏในพงศาวดารแต่แรกสร้างกรุงศรีอยุธยา มีซากเมืองเก่าอยู่ ๒ แห่ง แห่งหนึ่งอยู่ในตําบลพุงทะลาย อําเภอเมืองจันทบุรี ยังมีคูเมืองและ เชิงเทินพอสังเกตได้ อีกแห่งหนึ่งอยู่ในตําบลคลองนารายณ์ ชาวบ้านเรียกว่า เมืองเพนียดบ้าง เมืองกาไวบ้าง มีผู้ขุดศิลาจารึกที่วัดเพนียดซึ่งเป็นวัดโบราณ อยู่ทางทิศใต้กําแพงเมืองราว ๔๐๐ เมตร (ศิลาจารึกอยู่ในพิพิธภัณฑสถาน) ในบริเวณเมือง ยังมีศิลาแผ่นใหญ่ ๆ สลักเป็นลวดลาย อย่างโบราณเหลืออยู่บ้าง และมีเค้าเชิงเทินและถนนใหญ่ ๒ สาย มีผู้สันนิษฐานกันว่า คงเป็น เมืองที่รุ่งเรืองในสมัยโบราณ และน่าจะเป็นเมืองเดียวกับที่มองสิเออร์เอยโมเมอร์เขียนเรื่องราว ไว้ในหนังสือ “แคมโบช” ค.ศ. ๑๙๐๑ ว่ามีบาดหลวงคนหนึ่งได้พบศิลาจารึกอักษรสันสกฤตที่ ตําบลเขาสระบาป มีข้อความว่า จังหวัดจันทบุรีได้ตั้งมาช้านานประมาณ 9,000 ปีแล้ว ในเวลานั้นเรียกว่า ควนคราบุรี (น่าจะเป็นจันทบุรี แต่ที่เขียนไว้เช่นนี้ คงจะเป็นด้วยผู้เขียนแปลผิดอย่างใดอย่างหนึ่ง) ผู้สร้างเมืองชื่อ หาง หรือ แหง คนพื้นเมืองเป็นชอง เมื่อประมาณ ๙๐๐ ปี มาแล้ว ไทยยกกองทัพ ไปตี เจ้าเมืองได้มอบเมืองให้แก่คนไทย ชื่อ วาปสเตน และอาคารยา”


บันทึกประกอบ

          มีผู้รู้สันนิษฐานว่า เดิมจันทบุรีคงจะเป็นแคว้นหนึ่ง โดยมีเมืองจันทบุรี เป็นเมืองหลวง ตอนแรกคงมีกษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครเป็นอิสระบ้างตามโอกาส ขึ้นอยู่กับอาณา จักรฟูนัน หรือฟูหนบ้าง ต่อมาขึ้นกับขอมสมัยจินละ ภายหลังขอมเสื่อมอํานาจลง คงขึ้นกับ ไทยแคว้นใดแคว้นหนึ่ง ส่วนที่ว่าไทยยกกองทัพไปตี เจ้าเมืองได้มอบเมืองให้แก่คนไทยนั้น น่าจะได้แก่ไทยในแคว้นละโว้ จนต่อมาได้รวมกับกรุงศรีอยุธยาภายหลัง สําหรับคนพื้นเมือง นั้น คงจะมีหลายเผ่า พวกชองคงมากกว่าพวกอื่นเพราะเป็นชนพื้นเมือง นอกนี้คงมีพวกลัวะ หรือ ละว้า กล่อม หรือ ขอม สําหรับไทยคงลงมาอยู่นานแล้ว เมื่อมีจํานวนมากและดีเมืองจันทบุรี ได้ คนไทยได้ปกครองเมือง ชนพื้นเมืองเดิมก็ถูกกลืนร่อยหรอลงหรือไม่ก็ร่นถอยหนี เดี๋ยวนี้ยังมี ชนเชื้อสายชองเหลืออยู่ที่อําเภอมะขาม และอําเภอโป่งน้ําร้อน


หลักฐานปัจจุบัน

          บันทึกคณะกรรมการสํารวจโบราณสถานเพนียด ตามมติสภาตําบลคลองนารายณ์ เมื่อ วันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๙ มีความว่า

          คณะกรรมการที่สภาตําบล ฯ ลงมติแต่งตั้ง รวม ๔ คน คือ นายแปลง สังขนาด นายหนู สุขศิลป์ นายเนย บุญการ นายเอี่ยม พลปิยะ และนายพลอย นิสสัย นัดไปพร้อมกัน ที่วัดทองทั่ว เมื่อพร้อมกันแล้วได้ประชุมเลือกประธานกรรมการของคณะ ซึ่งได้แก่นายแปลง สังขนาค และเลือกนายพลอย นิสสัย เป็นเลขานุการ แล้วเดินทางจากวัดทองทั่วไปสํารวจ โบราณสถานเพนียด ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านเพนียด หมู่ที่ ๔ ตําบลคลองนารายณ์ อําเภอเมืองจันทบุรี ห่างจากวัดทองทั่วไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ประมาณ ๔๐๐ เมตร

          เมื่อไปถึงแล้วกรรมการทุกคนได้สํารวจทันที ปรากฏว่าตัวเพนียดนี้เป็นกําแพงก่อด้วย ศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พื้นภายในกําแพงเป็นดิน กําแพงกว้างด้านละ ๑๗ เมตร ยาวด้านละ ๕๗ เมตร เท่ากันทุกด้าน แต่กําแพงด้านตะวันออกถูกทําลายไปหมดแล้ว เหลือแต่ดินสูงเป็น เค้าอยู่ อีก ๓ ด้านก็ถูกทําลายไปมาก เหลือสูงเพียง ๑ เมตร ถึง ๓ เมตรเท่านั้น ด้านนอกของ กําแพงพอกด้วยดินหนา ประมาณ ๓ ถึง ๘ เมตร เข้าใจว่าเดิมคงเป็นเพนียดที่มั่นคงแข็งแรงมากอาจใช้เป็นที่มั่นคล้องช้างหรือขังช้างได้เป็นอย่างดี ตามความเข้าใจว่า เพนียดคงจะใช้อย่างนั้น ในสมัยโบราณ

          ตัวโบราณสถานเพนียดนี้ เดิมมี ๒ แห่ง ตามที่ได้สืบถามผู้ที่รู้เห็นมาก่อน เมื่อสํารวจ แห่งที่กล่าวเสร็จแล้วจึงไปสํารวจดูอีกแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ห่างกันประมาณ ๓๐ เมตร แต่แห่งหลัง นี้ถูกทําลายโดยมีผู้ซื้อขนเอาศิลาแลงไปหมดสิ้น เหลือให้เห็นเป็นมูลดินสูงเป็นแนวอยู่ ถ้าไม่ได้ รับคําบอกเล่าจากราษฎรแถบนั้น ก็ไม่ทราบว่าที่นั่นคือเพนียดโบราณ เท่าที่พิจารณาดูแล้วมี เค้าว่าเล็กกว่าแห่งที่เหลืออยู่เล็กน้อย

          เมื่อได้ตรวจพิจารณาโดยรอบคอบ กับสอบถามราษฎรแถบนั้นประกอบ ตลอดจน บุคคลอื่นที่มีความรู้ในเรื่องโบราณสถานเพนียด ทั้งยังได้ค้นคว้าจากหนังสือประวัติศาสตร์เกี่ยว กับเรื่องนี้ประกอบด้วยแล้วได้ความแน่ชัดว่าบริเวณที่ตั้งโบราณสถานเพนียดน เข้าใจว่าเดิมเป็น ที่ตั้งเมืองจันทบุรียุคแรก อาจจะเป็นเวลาตั้ง ๑,000 ปีล่วงมาแล้วก็ได้ เพราะบริเวณนี้มีเค้าถนน โบราณหลายสาย มีสิ่งก่อสร้างปรักหักพังอยู่ทั่วไป เช่น อิฐโบราณ ศิลาแลงโบราณ เศษถ้วยชาม โบราณ เป็นต้น โบราณวัตถุที่ค้นพบเป็นหินแกะสลักเป็นรูปและลวดลายต่าง ๆ มีเหลืออยู่ที่ วัดทองทั่วก็หลายชิ้น นําไปไว้ที่อื่นและที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ณ กรุงเทพมหานครก็มี เฉพาะ โบราณสถานในบริเวณเมืองจันทบุรีโบราณ ที่มีเหลือเป็นรูปเป็นร่างอยู่ก็มีแต่เพนียดแห่งเดียว เท่านั้น นอกนั้นจะหาอะไรดูให้รู้แน่ชัดอีกเป็นไม่มี นอกจากสันนิษฐานหรือต้องสืบถามราษฎร แถบนั้น ทั้งที่เค้าบริเวณเมืองกว้างขวางใหญ่โต แม้เพนียดที่เหลืออยู่ก็กําลังถูกทําลายลงเสมอ โดยมีผู้ลักลอบซื้อถอนขนเอาศิลาแลงไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นจนหมดไปเพนียดหนึ่งแล้ว ถึงทาง การจะได้เคยสั่งผู้ปกครองท้องที่ให้คอยดูแลรักษาก็ไม่ได้ผลนัก ความจริงเพนียดที่เหลือนี้ขึ้น ทะเบียนเป็นโบราณสถานของกรมศิลปากรไว้แล้ว หากถูกทําลายหมดไปอีกก็น่าเสียดายที่บุคคล รุ่นหลังจะไม่ได้เห็น เพื่อประกอบในการศึกษาค้นคว้าให้ทราบเรื่องราวของเมืองจันทบุรียุคอดีต ให้กระจ่างชัดในภายภาคหน้า เพราะเวลานี้ยังมืดมนอยู่มาก ด้วยเหตุนี้คณะกรรมการจึงลงความ เห็นว่า

          ๑. โบราณสถานเพนียดที่เหลืออยู่ ควรรักษาสภาพเดิมไว้ อย่าให้ถูกทําลายลงอีก โดยขอให้ทางการคอยกําชับผู้ปกครองท้องที่เพิ่มความเอาใจใส่ดูแลยิ่งขึ้น ตลอดจนขอความ ร่วมมือจากบรรดาราษฎรด้วย การที่จะซ่อมแซมให้มีสภาพเหมือนสมัยโบราณ จะต้องใช้คนที่มี ความรู้ในเรื่องนี้ และต้องใช้กําลังมาก ยังไม่เหมาะที่จะทําในเวลานี้

          ๒. ควรทําให้เตียน เข้าไปดูไปศึกษาสะดวก เพราะเวลานี้มีต้นไม้ใหญ่น้อยขึ้นปกคลุม รกรุงรังอยู่ทั่วไป ลําบากแก่การเข้าดูเข้าชมเป็นอันมาก เนื่องจากไม่ปลอดภัยจากสัตว์ร้าย เช่น งูพิษ เป็นต้น คณะกรรมการได้รับความลําบากจากการเข้าไปค้นสํารวจมาแล้ว

          ๓. ควรทําทางเข้าชมแยกจากถนนซอยสายวัดทองทั่ว ให้เดินเข้าไปดูได้สะดวกกว่านี้ เพราะจากถนนซอยสายวัดทองทั่ว เป็นระยะทางประมาณ ๑๕๐ เมตรเท่านั้น

          ๔. ควรมีป้ายบอกชื่อโบราณสถานแห่งนี้ พร้อมป้ายห้ามทําลาย ได้แนบแผนที่สังเขปประกอบบันทึกนี้มาด้วยแล้ว

                                                                       แปลง สังขนาด           ประธานกรรมการ

                                                                      หนู  สุขศิลป์                กรรมการ

                                                                      เนย บุญการี                กรรมการ                                                                      

                                                                     เยี่ยม พลปิยะ               กรรมการ 

                                                                     พลอย นิสสัย              กรรมการและเลขานุการ


 บันทึกประกอบการสํารวจ ฯ เพิ่มเติม   

          บันทึกของตณะกรรมการคณะกรรมการตามที่คัดมาข้างบน นี้ รวมทั้งแผนที่สังเขปด้วยนั้น ความจริงเป็นประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ได้เตรียมไว้นานแล้ว เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นกรรมการตําบลคลองนารายณ์ มีจังหวะที่จะเสนอเรื่องนี้ จึงฉวยโอกาสเสนอ จนสภาตําบล ฯ มีมติให้ทํา ในการเข้าไปสํารวจก็ดูแต่เฉพาะที่ตัวเพนียดเท่านั้น ไม่ได้สํารวจทั่วไป ทั้งหมด เพราะมีเวลาสํารวจน้อยไม่ถึงครึ่งวัน การทําจึงเป็นเรื่องของข้าพเจ้าโดยตลอด (บันทึก คณะกรรมการสํารวจโบราณสถานที่เพนียดพร้อมด้วยแผนที่สังเขปนี้ คุณเอนก บุญภักดี ได้ขอ สําเนาทั้งชุดไปทําบันทึกการศึกษาเรื่องเมืองจันทบุรี ข้าพเจ้าขอขอบคุณคุณเอนก บุญภักดี เป็นอย่างมาก ที่ทําให้ข้าพเจ้ามีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แต่ว่าในแผนที่สังเขปลงแผนผังตัวเพนียด เก่ากลับทิศ อันนี้เป็นความผิดของข้าพเจ้าเอง ที่ให้แผนผังแผ่นที่ผิดไป ข้าพเจ้าต้องขออภัยต่อ คุณเอนก บุญภักดี และผู้อ่านแผนผังนั้น ที่อาจเข้าใจผิดไปได้ แต่ไม่ว่าสําคัญนัก) เมื่อเสนอ สภาตําบล ฯ ไปแล้ว สภาตําบลก็ไม่ให้ได้ทําอะไร ต่อมาทางวัดทองทั่วได้ขอแรงประชาชน ให้ตัดฟันถากถางพืชพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรกปกคลุมให้เตียน ใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวัด ได้โฆษณาชักจูง คนมาเที่ยวงาน ซึ่งจะจัดเป็นประจําปี ในต้นปี ๒๕๐๐ เสร็จงานวัดแล้วก็ไม่มีใครเอาใจใส่อีก พืชพันธุ์ไม้ขึ้นรกตามเคย จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ จ่าเอกฉันท์ วรรณเจริญ อดีตทหารเรือ มาประชา สัมพันธ์ทําความสะอาดกันอีกครั้ง แล้วมีการทําบุญตักบาตรที่ตัวเพนียด หวังจะให้เป็นงานประจําปีที่นั่นตลอดไป แต่ขาดความสามัคคี ทําอยู่ได้ ๒ ปีก็หยุด ปล่อยรกตามเดิมอีก คงเหลือ แต่ศาลฤาษีที่สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ต่อมาอย่างเดียว

          ความจริงคนที่เดินทางมาดูมีอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเคยนําเข้าชมตั้งแต่ข้าราชการระดับปลัด กระทรวงและอธิบดีลงมา แต่ว่าคนทั่วไปสนใจใน ต้นสมอพิเภก ที่ขึ้นอยู่ริมกําแพงเพนียด ด้านใต้มากกว่าสิ่งอื่น ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องพฤกษศาสตร์ จึงได้เปิดพจนานุกรม ฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔ ๙ ๓ ดู พบหน้า ๘๗๑ ว่า“สมอ (สะหมอ) น. ชื่อต้นไม้พวกหนึ่งใช้ ทํายา มีหลายชนิด เช่น สมอไทย, สมอพิเภก, สมอง, ลูกผ้าย” ก็ได้เพียงเท่านี้เอง แต่ว่าสมอ พิเภกต้นนี้คงมีอายุมาก เพราะมีขนาดใหญ่ จุดสนใจได้แก่ใบ ไม่ทราบว่าสมอพิเภกต้นที่อื่นจะ เป็นอย่างนี้หรือเปล่า? แต่ต้นนี้เมื่อใบร่วงหล่นลงมาบริเวณโคนต้น เมื่อใบแก่เหลืองหรือแห้งแล้ว จะมีลวดลายสีขาว ๆ พองขึ้นเป็นทางคดเคี้ยวไปมา บางทีเส้นขาวที่พองนี้ไปตรงกับอักขระ ภาษาต่าง ๆ ได้ อาจดูเป็นอักขระไทย ขอม หรือ อังกฤษ ก็มี และที่เป็นตัวเลขมีคนเอาไปเสี่ยง โชคทางการพนันก็มาก ว่ากันว่ามีผู้ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เพราะตัวเลขที่เกิดจากลวดลาย ใบสมอพิเภกนี้แล้วหลายราย

          คําอธิบายในแผนที่สังเขป ข้าพเจ้าเขียนตามคําชาวบ้าน เช่น วัดชี หรือ โบสถ์ พราหมณ์ เค้าถนนโบราณ ที่ชาวบ้านเรียกกันอยู่ทั่วไป เพราะเข้าใจว่าเดิมคงเป็นอย่างนั้น จึงเรียก กันอย่างนั้น และที่เรียกว่าเมืองเพนียด ก็เอาชื่อตัวเพนียดโบราณที่ยังเหลืออยู่มาเรียกขานกัน บางที่เรียกว่า เพนียดก็มี ส่วนที่เรียกว่า เมืองกาไว นั้น ขอให้อ่านตํานานต่อไป

          ตํานานเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ ตํานานหรือนิยายที่จะเล่าต่อไปนี้ เขาว่ามีเขียนเป็นเรื่องลงไว้ในสมุดข่อยโบราณ พระครูโสภณสมณวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดทองทั่ว เคยบอกว่า สมเด็จ ฯ กรมพระยาดํารงราชา นุภาพ เคยเสด็จมาทรงสํารวจที่ตั้งเมืองจันทบุรีโบราณแห่งนี้ ได้นําเอาหนังสือดังว่าไปพร้อม ศิลาลวดลายโบราณ และแผ่นศิลาจารึกไปด้วยหลายชิ้น สําหรับสมุดข่อยที่ว่า เขาว่าเวลานี้ยังคง มีเหลืออยู่ตามบ้าน แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน เวลาจะสืบถามหาเพื่อนํามาอ่านดูก็ยังไม่มี จึงขอเขียน ไปตามประสบการณ์ที่ได้รับมา ผิดพลาดหรือเพียนกับของผู้ใดขออภัยด้วยเถิด

          จําเนียรกาลนานมาแล้ว ยังมีกษัตริย์ผู้ครองนครโบราณพระองค์หนึ่ง เข้าใจว่านครนั้น คือ เมืองจันทบุรีโบราณที่เชิงเขาสระบาป ทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์มาจากใคร เมื่อไรไม่ทราบ แต่ว่าพระองค์มีเอกอัครมเหสี และมีราชโอรสด้วยกันสอง พระองค์ องค์ที่เป็นพระเชษฐาทรงนามว่า เจ้าบริพงษ์ องค์พระอรุชาทรงนามว่าเจ้าวงษ์สุริยามาศ ต่อมาพระเอกอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ ทั้งราชโอรสทั้งสองไว้กับพระราชบิดา แต่ว่าพระเจ้า พรหมทัตได้ทรงอภิเษกมเหสีองค์ใหม่ขึ้นอีก ทรงนามว่า พระนางกาไว ซึ่งทรงพระโฉมศิริพิลาส เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนักและมีพระโอรสด้วยกันอีก ๑ พระองค์ ทรงนามว่า พระไวยทัต

          - พระนางกาไวเป็นผู้มีใจอิจฉาในราชโอรสที่ประสูติจากเอกอัครมเหสีเดิม และมักใหญ่ ใฝ่สูงหวังจะให้พระไวยทัดราชโอรสครองนคร ตนจะได้อํานาจต่อไปหากว่าพระเจ้าพรหมทัต เสด็จสวรรคตแล้ว จึงทรงวางแผนกําจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริยามาศ ซึ่งตามกฎมนเทียรบาล ย่อมมีสิทธิในราชสมบัติมากกว่า เพื่อไม่ให้เป็นที่กีดขวางแผนการของตน ความคิดนี้คงจะทรงคิด มาตั้งแต่แรกที่ได้ทรงเสกสมรส ครั้นเมื่อตนมีพระราชโอรสก็ทรงดําเนินงานเพื่อให้พระเจ้า พรหมทัตซึ่งทรงโปรดปรานตนเป็นทุนเดิมอยู่ให้ลุ่มหลงตนยิ่งขึ้น ถึงกับมีการลอบทําเสน่ห์ยา แฝดให้ราชสวามีเสวย เพื่อให้หลงรักตนแต่เพียงองค์เดียว และเมื่อได้โอกาสคราวใดก็พยายาม เพ็ดทูลให้พระเจ้าพรหมทัตกําจัดเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศเสีย โดยหาเรื่องยุยงว่าเจ้าลูก เลี้ยงทั้งสองไม่ดีด้วยประการใดประการหนึ่งอยู่เสมอ พระเจ้าพรหมทัตแม้จะทรงพระเสน่หา ในพระนางกาไวเพียงไร ก็ยังทรงมีพระสติอยู่ ไม่ทําอะไรรุนแรงแก่พระราชโอรส แต่ในที่สุดเพื่อ ทรงตัดความรําคาญ จึงทรงเรียกพระราชโอรสทั้งสองมาชี้แจงแสดงเหตุผล ให้พาไพร่พลไปสร้าง เมืองอยู่เองใหม่ ทั้ง ๆ ที่ทรงอาลัยในราชโอรสอยู่ ฝ่ายเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศ แม้จะ ทรงทราบเบื้องหลังอยู่ แต่ด้วยความเกรงพระทัยในราชบิดาก็เสด็จพาไพร่พลไปหาทําเลสร้างเมือง อยู่ใหม่ทางเหนือ คือในเขตท้องที่อําเภอโป่งน้ําร้อน จังหวัดจันทบุรีเดี๋ยวนี้ ซึ่งอยู่ใกล้แดนขอม (เขมร) เรียกกันว่า เมืองสามสิบ (ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน)

          เมื่อพระนางกาไวดําเนินงานตามแผนบรรลุไปขั้นหนึ่งแล้ว ก็พยายามรวบอํานาจต่าง ๆ เข้าไว้ในมือของตน ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคตแล้ว พระนางก็สถาปนาพระไวยทัต ราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สมพระประสงค์ของตน โดยไม่มีอุปสรรคอันใด และได้ที่ก็ตั้งตนเป็น ผู้สําเร็จราชการ อันนับว่าได้เป็นใหญ่เป็นโตมีอํานาจสมใจ โดยอ้างว่าราชบุตรไวยทัดยังทรง พระเยาว์อยู่ เมื่อมีอํานาจใหญ่ยิ่งแล้ว พระนางก็ทรงทํานุบํารุงไพร่พลให้เข้มแข็ง เตรียมไว้รับศึก ซึ่งทรงพระดําริว่าจะเกิดจากเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศแห่งเมืองสามสิบต่อไป เมืองจันทบุรี โบราณที่เรียกกันติดปากมาว่า นครหรือเมืองกาไว ก็ด้วยประการฉะนี้

          ฝ่ายเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศ สองพี่น้องทางเมืองสามสิบ รู้เรื่องว่าพระราช บิดาสวรรคตและพระนางกาไวขึ้นครองเมือง ก็ไม่พอพระทัย รีบกรีฑาทัพมาเพื่อจะชิงเมืองคืน เพราะถือตนว่ามีสิทธิในราชสมบัติยิ่งกว่าใคร กองทัพที่ยกมาคงมีกําลังน้อย ทั้งขาดการเตรียม พร้อม เมื่อยกมาอย่างรีบด่วนไพร่พลคงเหน็ดเหนื่อยอิดโรย และเมื่อยกมาถึงแล้วก็ส่งกองทัพเข้า ตีเมืองทันที ทางฝ่ายในเมืองเตรียมพร้อมอยู่แล้ว จึงต่อสู้ได้ชัยชนะกองทัพเจ้าบริพงษ์และ เจ้าวงษ์สุริยามาศทุกครั้ง ผลที่สุดทั้งกองทัพคน กองทัพช้าง และกองทัพม้า ของสองราชโอรส ก็ต้องแตกถอย หนีกลับเมืองสามสิบอย่างระส่ําระสาย

          เมื่อแพ้ทัพกลับไปถึงเมืองสามสิบแล้ว ก็เกลี้ยกล่อมผู้คน ช้างม้าศึก ฝึกอาวุธ และ ทะนุบํารุงให้เข้มแข็ง และได้บอกขอกําลังไปยังกษัตริย์ขอมซึ่งประทับอยู่ที่เมืองนครธม อันเป็นเมืองหลวงมาช่วยแก้แค้น โดยมีสัญญาว่าถ้าได้เมืองคืนแล้วจะแบ่งเมืองให้ ซึ่งกษัตริย์ขอม ก็ได้ส่งกําลังมาช่วย กองทัพยกมาใหม่ครั้งนี้ เดินทัพมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเหมือน คราวที่แล้ว เมื่อมาถึงเมืองก็สร้างค่ายคูประตูหอรบ และตั้งพลับพลาประทับ เตรียมไว้ต่อสู้ทัพ ในเมือง

          ฝ่ายข้างในเมืองคงจะประมาท เพราะเคยรบชนะมาครั้งหนึ่งแล้ว ฉะนั้นแม้ฝ่ายเจ้า บริพงษ์และเข้าวงษ์สุริยามาศ จะส่งทูตมาเจรจาขอตกลงโดยดีเหมือนที่ยกมาครั้งแรก ก็หาได้ ตกลงด้วยอย่างใดไม่ ราชโอรสทั้งสองจึงยกกองทัพเข้าโจมตี ฝ่ายทางในเมืองออกต่อสู้เห็นเหลือ กําลัง เพราะพ่ายแพ้จนข้าศึกเข้าเมืองได้แล้ว พระนางกาไวจึงให้ขนพระราชทรัพย์ขึ้นหลังช้าง ที่เพนียด เปิดประตูเมืองจะหนี ที่ขนไปไม่ทันก็ขนทิ้งลงส้วม (เร็จ) เป็นอันมาก ครั้นจวนตัว จะหนีไม่ทันจริง ๆ ก็ให้เอาเครื่องทองออกหว่านท้ายขบวนของตน เพื่อล่อข้าศึกให้พะวงเก็บ อัญมณีเหล่านั้น ตนจะได้ลงเรือหนีไปโดยสะดวก


บันทึกประกอบตํานาน

          ตามตํานานเรื่องนี้ มีข้อที่ควรพิจารณาหลายแห่ง ตลอดจน ชื่อหนอง สระ และหมู่บ้าน ในบริเวณนี้ ที่ชาวบ้านเรียกขานกันอยู่ ก็มีชื่อเกี่ยวกับตํานาน เช่น

          ๑. ตํานานเรื่องนี้มีผู้สันนิษฐานว่า เกิดในสมัยจินละของขอม โดยวินิจฉัยจากโบราณ วัตถุสถานและศิลาจารึก ซึ่งเป็นแบบวัฒนธรรมขอม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับขอมด้วย

          ๒. ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ในสมัยก่อนฤดูแล้งกันดารา ฉะนั้นกองทัพ เมื่อยกไปตั้ง ณ ที่ใด ก็ต้องคํานึงถึงเรื่องนี้ หากไกลน้ําก็ต้องขุดบ่อขุดสระ สําหรับได้น้ําให้ไพร่ พลและสัตว์ที่นํามาอาศัย เหตุนี้สระน้ําจึงมีเหลืออยู่เดียวนี้ในท้องที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น สระบัว สระตักบาตร สระทัพมั่น สระกระบาก สระตะเฆ่ และสระพี่ชาย ซึ่งสระพี่ชายนี้เรียกเพี้ยนเป็น หนองขี้ควาย ซึ่งอยู่ทางใต้เมืองจันทบุรีโบราณก็ว่าเป็นสระที่ขุดโดยทัพพี่ชาย คือ เจ้าบริพงษ์

          ๓. หมู่บ้านพลับพลา ที่ตําบลพลับพลา เหนือเมืองจันทบุรีโบราณ ราว ๒ - ๓ กิโลเมตร ก็ว่าได้ชื่อจากที่ตั้งพลับพลาประทับ ของเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศมาก่อน

          ๔. ตรอกประโคน ที่อยู่เหนือวัดทองทั่ว ราว ๑ กิโลเมตร ที่ตรงนี้เขาว่าทัพทั้งสอง ฝ่ายมาชนช้างกัน ต่อมาจึงเรียกว่า ตรอกช้างโดน ภายหลังเพี้ยนเป็นตรอกประโคน

          ๕. ทางตะวันตกของวัดทองทั่ว ราว ๔๐๐ เมตร มีมูลดินเป็นเค้าถนนโบราณหรือ เป็นเชิงเป็นอยู่ เขาว่าทัพมาแตกกันที่ตรงนี้ แต่ก่อนเรียกว่า เกาะทัพแตก แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็น เกาะตะแบกไปแล้ว

          ๖. ที่พระนางกาไวหว่านทอง เรียกว่า ทองทั่ว หรือ โคกทองทั่ว เมื่อสร้างวัดลง ที่ตรงนั้นก็เลยตั้งชื่อว่า วัดทองทั่ว มาจนบัดนี้ เล่ากันมาแต่ก่อนว่า เคยมีผู้พบทองคําที่บริเวณ วัดทองทั่วมาแล้ว

          ๗. ส้วมที่พระนางกาไวขนเครื่องอัญมณีทิ้งลงไป อยู่ทางตะวันตกของตัวเพนียด โบราณ ในสวนต้นระกําของนายสิทธิ์ นางผิน ชินรส เดี๋ยวนี้ ว่ายังมีไม้แก่นปักอยู่ เรียกกันว่า เร็จนางกาไว แต่ก่อนมีผู้มาขุดเพื่อค้นหาทองคํา จะได้ไปบ้างหรือไม่ ไม่ทราบ แต่เล่ากันว่า พอขุดลงไปในดินใกล้ถึงทองก็มีเสียงลั่นดังครืด บันดาลให้ทองคําหนีลึกลงไปอีก


เมืองจันทบุรีโบราณตรงนี้ ย้ายไปสร้างที่ไหน เมื่อไร ?

          หลังจากเจ้าบริพงษ์ เจ้าวงษ์สุริยามาศ ยึดเมืองได้แล้ว บางท่านว่าเลิกร้างจากการเป็น เมือง เพราะเจ้าทั้งสองยกกลับไปครองเมืองสามสิบของตน แต่บางท่านว่ายังคงตั้งเป็นเมืองต่อไป จะอย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังเมืองนี้ต้องย้ายไปตั้งที่อื่นแน่ คงจะเป็นที่บ้านหัววัง ราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ต่อมาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้ เพราะที่ตรงนี้ต่อมาไม่เหมาะที่จะตั้งเป็นเมืองต่อไป หลายประการ


เอกสารอ้างอิง ๑. บันทึกการศึกษา เรื่อง เมืองจันทบุรี ของ เอนก บุญภักดี ๒. พงศาวดารชาติไทย ของ พระบริหารเทพธานี ๓. ศึกษาและเที่ยวในเมืองไทย โดย ประพัฒน์ ตรีณรงค์ : ๔. แผนที่ภูมิศาสตร์ ของ นายทองใบ แตงน้อย

  

บันทึกของคณะกรรมการตามที่คัดมาข้างบน นี้ รวมทั้งแผนที่สังเขปด้วยนั้น ความจริงเป็นประสบการณ์ของข้าพเจ้าที่ได้เตรียมไว้นานแล้ว เมื่อข้าพเจ้าได้เป็นกรรมการตําบลคลองนารายณ์ มีจังหวะที่จะเสนอเรื่องนี้ จึงฉวยโอกาสเสนอ จนสภาตําบล ฯ มีมติให้ทํา ในการเข้าไปสํารวจก็ดูแต่เฉพาะที่ตัวเพนียดเท่านั้น ไม่ได้สํารวจทั่วไป ทั้งหมด เพราะมีเวลาสํารวจน้อยไม่ถึงครึ่งวัน การทําจึงเป็นเรื่องของข้าพเจ้าโดยตลอด (บันทึก คณะกรรมการสํารวจโบราณสถานที่เพนียดพร้อมด้วยแผนที่สังเขปนี้ คุณเอนก บุญภักดี ได้ขอ สําเนาทั้งชุดไปทําบันทึกการศึกษาเรื่องเมืองจันทบุรี ข้าพเจ้าขอขอบคุณคุณเอนก บุญภักดี เป็นอย่างมาก ที่ทําให้ข้าพเจ้ามีโอกาสเผยแพร่ผลงาน แต่ว่าในแผนที่สังเขปลงแผนผังตัวเพนียด เก่ากลับทิศ อันนี้เป็นความผิดของข้าพเจ้าเอง ที่ให้แผนผังแผ่นที่ผิดไป ข้าพเจ้าต้องขออภัยต่อ คุณเอนก บุญภักดี และผู้อ่านแผนผังนั้น ที่อาจเข้าใจผิดไปได้ แต่ไม่ว่าสําคัญนัก) เมื่อเสนอ สภาตําบล ฯ ไปแล้ว สภาตําบลก็ไม่ให้ได้ทําอะไร ต่อมาทางวัดทองทั่วได้ขอแรงประชาชน ให้ตัดฟันถากถางพืชพันธุ์ไม้ที่ขึ้นรกปกคลุมให้เตียน ใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวัด ได้โฆษณาชักจูง คนมาเที่ยวงาน ซึ่งจะจัดเป็นประจําปี ในต้นปี ๒๕๐๐ เสร็จงานวัดแล้วก็ไม่มีใครเอาใจใส่อีก พืชพันธุ์ไม้ขึ้นรกตามเคย จนถึง พ.ศ. ๒๕๐๘ จ่าเอกฉันท์ วรรณเจริญ อดีตทหารเรือ มาประชา สัมพันธ์ทําความสะอาดกันอีกครั้ง แล้วมีการทําบุญตักบาตรที่ตัวเพนียด หวังจะให้เป็นงานประจําปีที่นั่นตลอดไป แต่ขาดความสามัคคี ทําอยู่ได้ ๒ ปีก็หยุด ปล่อยรกตามเดิมอีก คงเหลือ แต่ศาลฤาษีที่สร้างไว้เป็นอนุสรณ์ต่อมาอย่างเดียว

 

          ความจริงคนที่เดินทางมาดูมีอยู่เสมอ ข้าพเจ้าเคยนําเข้าชมตั้งแต่ข้าราชการระดับปลัด กระทรวงและอธิบดีลงมา แต่ว่าคนทั่วไปสนใจใน ต้นสมอพิเภก ที่ขึ้นอยู่ริมกําแพงเพนียด ด้านใต้มากกว่าสิ่งอื่น ข้าพเจ้าไม่มีความรู้ในเรื่องพฤกษศาสตร์ จึงได้เปิดพจนานุกรม ฉบับราช บัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๔ ๙ ๓ ดู พบหน้า ๘๗๑ ว่า “สมอ (สะหมอ) น. ชื่อต้นไม้พวกหนึ่งใช้ ทํายา มีหลายชนิด เช่น สมอไทยสมอพิเภกสมองลูกผ้าย” ก็ได้เพียงเท่านี้เอง แต่ว่าสมอ พิเภกต้นนี้คงมีอายุมาก เพราะมีขนาดใหญ่ จุดสนใจได้แก่ใบ ไม่ทราบว่าสมอพิเภกต้นที่อื่นจะ เป็นอย่างนี้หรือเปล่าแต่ต้นนี้เมื่อใบร่วงหล่นลงมาบริเวณโคนต้น เมื่อใบแก่เหลืองหรือแห้งแล้ว จะมีลวดลายสีขาว ๆ พองขึ้นเป็นทางคดเคี้ยวไปมา บางทีเส้นขาวที่พองนี้ไปตรงกับอักขระ ภาษาต่าง ๆ ได้ อาจดูเป็นอักขระไทย ขอม หรือ อังกฤษ ก็มี และที่เป็นตัวเลขมีคนเอาไปเสี่ยง โชคทางการพนันก็มาก ว่ากันว่ามีผู้ถูกสลากกินแบ่งรัฐบาล เพราะตัวเลขที่เกิดจากลวดลาย ใบสมอพิเภกนี้แล้วหลายราย

คําอธิบายในแผนที่สังเขป ข้าพเจ้าเขียนตามคําชาวบ้าน เช่น วัดชี หรือ โบสถ์ พราหมณ์ เค้าถนนโบราณ ที่ชาวบ้านเรียกกันอยู่ทั่วไป เพราะเข้าใจว่าเดิมคงเป็นอย่างนั้น จึงเรียก กันอย่างนั้น และที่เรียกว่าเมืองเพนียด ก็เอาชื่อตัวเพนียดโบราณที่ยังเหลืออยู่มาเรียกขานกัน บางที่เรียกว่า เพนียดก็มี ส่วนที่เรียกว่า เมืองกาไว นั้น ขอให้อ่านตํานานต่อไป

ตํานานเรื่องเมืองจันทบุรีโบราณ ตํานานหรือนิยายที่จะเล่าต่อไปนี้ เขาว่ามีเขียนเป็นเรื่องลงไว้ในสมุดข่อยโบราณ พระครูโสภณสมณวัตร อดีตเจ้าอาวาสวัดทองทั่ว เคยบอกว่า สมเด็จ ฯ กรมพระยาดํารงราชา นุภาพ เคยเสด็จมาทรงสํารวจที่ตั้งเมืองจันทบุรีโบราณแห่งนี้ ได้นําเอาหนังสือดังว่าไปพร้อม ศิลาลวดลายโบราณ และแผ่นศิลาจารึกไปด้วยหลายชิ้น สําหรับสมุดข่อยที่ว่า เขาว่าเวลานี้ยังคง มีเหลืออยู่ตามบ้าน แต่ไม่ทราบว่าที่ไหน เวลาจะสืบถามหาเพื่อนํามาอ่านดูก็ยังไม่มี จึงขอเขียน ไปตามประสบการณ์ที่ได้รับมา ผิดพลาดหรือเพียนกับของผู้ใดขออภัยด้วยเถิด

 

 

 

          จําเนียรกาลนานมาแล้ว ยังมีกษัตริย์ผู้ครองนครโบราณพระองค์หนึ่ง เข้าใจว่านครนั้น คือ เมืองจันทบุรีโบราณที่เชิงเขาสระบาป ทรงพระนามว่า พระเจ้าพรหมทัต พระองค์ทรงสืบราชบัลลังก์มาจากใคร เมื่อไรไม่ทราบ แต่ว่าพระองค์มีเอกอัครมเหสี และมีราชโอรสด้วยกันสอง พระองค์ องค์ที่เป็นพระเชษฐาทรงนามว่า เจ้าบริพงษ์ องค์พระอรุชาทรงนามว่าเจ้าวงษ์สุริยามาศ ต่อมาพระเอกอัครมเหสีสิ้นพระชนม์ ทั้งราชโอรสทั้งสองไว้กับพระราชบิดา แต่ว่าพระเจ้า พรหมทัตได้ทรงอภิเษกมเหสีองค์ใหม่ขึ้นอีก ทรงนามว่า พระนางกาไว ซึ่งทรงพระโฉมศิริพิลาส เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้าพรหมทัตยิ่งนักและมีพระโอรสด้วยกันอีก ๑ พระองค์ ทรงนามว่า พระไวยทัต

 

 

- พระนางกาไวเป็นผู้มีใจอิจฉาในราชโอรสที่ประสูติจากเอกอัครมเหสีเดิม และมักใหญ่ ใฝ่สูงหวังจะให้พระไวยทัดราชโอรสครองนคร ตนจะได้อํานาจต่อไปหากว่าพระเจ้าพรหมทัต เสด็จสวรรคตแล้ว จึงทรงวางแผนกําจัดเจ้าบริพงษ์ และเจ้าวงษ์สุริยามาศ ซึ่งตามกฎมนเทียรบาล ย่อมมีสิทธิในราชสมบัติมากกว่า เพื่อไม่ให้เป็นที่กีดขวางแผนการของตน ความคิดนี้คงจะทรงคิด มาตั้งแต่แรกที่ได้ทรงเสกสมรส ครั้นเมื่อตนมีพระราชโอรสก็ทรงดําเนินงานเพื่อให้พระเจ้า พรหมทัตซึ่งทรงโปรดปรานตนเป็นทุนเดิมอยู่ให้ลุ่มหลงตนยิ่งขึ้น ถึงกับมีการลอบทําเสน่ห์ยา แฝดให้ราชสวามีเสวย เพื่อให้หลงรักตนแต่เพียงองค์เดียว และเมื่อได้โอกาสคราวใดก็พยายาม เพ็ดทูลให้พระเจ้าพรหมทัตกําจัดเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศเสีย โดยหาเรื่องยุยงว่าเจ้าลูก เลี้ยงทั้งสองไม่ดีด้วยประการใดประการหนึ่งอยู่เสมอ พระเจ้าพรหมทัตแม้จะทรงพระเสน่หา ในพระนางกาไวเพียงไร ก็ยังทรงมีพระสติอยู่ ไม่ทําอะไรรุนแรงแก่พระราชโอรส แต่ในที่สุดเพื่อ ทรงตัดความรําคาญ จึงทรงเรียกพระราชโอรสทั้งสองมาชี้แจงแสดงเหตุผล ให้พาไพร่พลไปสร้าง เมืองอยู่เองใหม่ ทั้ง ๆ ที่ทรงอาลัยในราชโอรสอยู่ ฝ่ายเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศ แม้จะ ทรงทราบเบื้องหลังอยู่ แต่ด้วยความเกรงพระทัยในราชบิดาก็เสด็จพาไพร่พลไปหาทําเลสร้างเมือง อยู่ใหม่ทางเหนือ คือในเขตท้องที่อําเภอโป่งน้ําร้อน จังหวัดจันทบุรีเดี๋ยวนี้ ซึ่งอยู่ใกล้แดนขอม (เขมร) เรียกกันว่า เมืองสามสิบ (ไม่ทราบว่าอยู่ตรงไหน)

เมื่อพระนางกาไวดําเนินงานตามแผนบรรลุไปขั้นหนึ่งแล้ว ก็พยายามรวบอํานาจต่าง ๆ เข้าไว้ในมือของตน ครั้นเมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสด็จสวรรคตแล้ว พระนางก็สถาปนาพระไวยทัต ราชโอรสขึ้นเป็นกษัตริย์ได้สมพระประสงค์ของตน โดยไม่มีอุปสรรคอันใด และได้ที่ก็ตั้งตนเป็น ผู้สําเร็จราชการ อันนับว่าได้เป็นใหญ่เป็นโตมีอํานาจสมใจ โดยอ้างว่าราชบุตรไวยทัดยังทรง พระเยาว์อยู่ เมื่อมีอํานาจใหญ่ยิ่งแล้ว พระนางก็ทรงทํานุบํารุงไพร่พลให้เข้มแข็ง เตรียมไว้รับศึก ซึ่งทรงพระดําริว่าจะเกิดจากเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศแห่งเมืองสามสิบต่อไป เมืองจันทบุรี โบราณที่เรียกกันติดปากมาว่า นครหรือเมืองกาไว ก็ด้วยประการฉะนี้

 

 

 

          ฝ่ายเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศ สองพี่น้องทางเมืองสามสิบ รู้เรื่องว่าพระราช บิดาสวรรคตและพระนางกาไวขึ้นครองเมือง ก็ไม่พอพระทัย รีบกรีฑาทัพมาเพื่อจะชิงเมืองคืน เพราะถือตนว่ามีสิทธิในราชสมบัติยิ่งกว่าใคร กองทัพที่ยกมาคงมีกําลังน้อย ทั้งขาดการเตรียม พร้อม เมื่อยกมาอย่างรีบด่วนไพร่พลคงเหน็ดเหนื่อยอิดโรย และเมื่อยกมาถึงแล้วก็ส่งกองทัพเข้า ตีเมืองทันที ทางฝ่ายในเมืองเตรียมพร้อมอยู่แล้ว จึงต่อสู้ได้ชัยชนะกองทัพเจ้าบริพงษ์และ เจ้าวงษ์สุริยามาศทุกครั้ง ผลที่สุดทั้งกองทัพคน กองทัพช้าง และกองทัพม้า ของสองราชโอรส ก็ต้องแตกถอย หนีกลับเมืองสามสิบอย่างระส่ําระสาย

 

 

เมื่อแพ้ทัพกลับไปถึงเมืองสามสิบแล้ว ก็เกลี้ยกล่อมผู้คน ช้างม้าศึก ฝึกอาวุธ และ ทะนุบํารุงให้เข้มแข็ง และได้บอกขอกําลังไปยังกษัตริย์ขอมซึ่งประทับอยู่ที่เมืองนครธม อันเป็นเมืองหลวงมาช่วยแก้แค้น โดยมีสัญญาว่าถ้าได้เมืองคืนแล้วจะแบ่งเมืองให้ ซึ่งกษัตริย์ขอม ก็ได้ส่งกําลังมาช่วย กองทัพยกมาใหม่ครั้งนี้ เดินทัพมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทเหมือน คราวที่แล้ว เมื่อมาถึงเมืองก็สร้างค่ายคูประตูหอรบ และตั้งพลับพลาประทับ เตรียมไว้ต่อสู้ทัพ ในเมือง

ฝ่ายข้างในเมืองคงจะประมาท เพราะเคยรบชนะมาครั้งหนึ่งแล้ว ฉะนั้นแม้ฝ่ายเจ้า บริพงษ์และเข้าวงษ์สุริยามาศ จะส่งทูตมาเจรจาขอตกลงโดยดีเหมือนที่ยกมาครั้งแรก ก็หาได้ ตกลงด้วยอย่างใดไม่ ราชโอรสทั้งสองจึงยกกองทัพเข้าโจมตี ฝ่ายทางในเมืองออกต่อสู้เห็นเหลือ กําลัง เพราะพ่ายแพ้จนข้าศึกเข้าเมืองได้แล้ว พระนางกาไวจึงให้ขนพระราชทรัพย์ขึ้นหลังช้าง ที่เพนียด เปิดประตูเมืองจะหนี ที่ขนไปไม่ทันก็ขนทิ้งลงส้วม (เร็จ) เป็นอันมาก ครั้นจวนตัว จะหนีไม่ทันจริง ๆ ก็ให้เอาเครื่องทองออกหว่านท้ายขบวนของตน เพื่อล่อข้าศึกให้พะวงเก็บ อัญมณีเหล่านั้น ตนจะได้ลงเรือหนีไปโดยสะดวก


บันทึกประกอบตํานาน

ตามตํานานเรื่องนี้ มีข้อที่ควรพิจารณาหลายแห่ง ตลอดจน ชื่อหนอง สระ และหมู่บ้าน ในบริเวณนี้ ที่ชาวบ้านเรียกขานกันอยู่ ก็มีชื่อเกี่ยวกับตํานาน เช่น

๑. ตํานานเรื่องนี้มีผู้สันนิษฐานว่า เกิดในสมัยจินละของขอม โดยวินิจฉัยจากโบราณ วัตถุสถานและศิลาจารึก ซึ่งเป็นแบบวัฒนธรรมขอม และเรื่องราวที่เกี่ยวกับขอมด้วย

๒. ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ในสมัยก่อนฤดูแล้งกันดารา ฉะนั้นกองทัพ เมื่อยกไปตั้ง ณ ที่ใด ก็ต้องคํานึงถึงเรื่องนี้ หากไกลน้ําก็ต้องขุดบ่อขุดสระ สําหรับได้น้ําให้ไพร่ พลและสัตว์ที่นํามาอาศัย เหตุนี้สระน้ําจึงมีเหลืออยู่เดียวนี้ในท้องที่ต่าง ๆ มากมาย เช่น สระบัว สระตักบาตร สระทัพมั่น สระกระบาก สระตะเฆ่ และสระพี่ชาย ซึ่งสระพี่ชายนี้เรียกเพี้ยนเป็น หนองขี้ควาย ซึ่งอยู่ทางใต้เมืองจันทบุรีโบราณก็ว่าเป็นสระที่ขุดโดยทัพพี่ชาย คือ เจ้าบริพงษ์ 

          ๓. หมู่บ้านพลับพลา ที่ตําบลพลับพลา เหนือเมืองจันทบุรีโบราณ ราว ๒ - ๓ กิโลเมตร ก็ว่าได้ชื่อจากที่ตั้งพลับพลาประทับ ของเจ้าบริพงษ์และเจ้าวงษ์สุริยามาศมาก่อน

๔. ตรอกประโคน ที่อยู่เหนือวัดทองทั่ว ราว ๑ กิโลเมตร ที่ตรงนี้เขาว่าทัพทั้งสอง ฝ่ายมาชนช้างกัน ต่อมาจึงเรียกว่า ตรอกช้างโดน ภายหลังเพี้ยนเป็นตรอกประโคน

๕. ทางตะวันตกของวัดทองทั่ว ราว ๔๐๐ เมตร มีมูลดินเป็นเค้าถนนโบราณหรือ เป็นเชิงเป็นอยู่ เขาว่าทัพมาแตกกันที่ตรงนี้ แต่ก่อนเรียกว่า เกาะทัพแตก แต่เดี๋ยวนี้กลายเป็น เกาะตะแบกไปแล้ว

๖. ที่พระนางกาไวหว่านทอง เรียกว่า ทองทั่ว หรือ โคกทองทั่ว เมื่อสร้างวัดลง ที่ตรงนั้นก็เลยตั้งชื่อว่า วัดทองทั่ว มาจนบัดนี้ เล่ากันมาแต่ก่อนว่า เคยมีผู้พบทองคําที่บริเวณ วัดทองทั่วมาแล้ว

๗. ส้วมที่พระนางกาไวขนเครื่องอัญมณีทิ้งลงไป อยู่ทางตะวันตกของตัวเพนียด โบราณ ในสวนต้นระกําของนายสิทธิ์ นางผิน ชินรส เดี๋ยวนี้ ว่ายังมีไม้แก่นปักอยู่ เรียกกันว่า เร็จนางกาไว แต่ก่อนมีผู้มาขุดเพื่อค้นหาทองคํา จะได้ไปบ้างหรือไม่ ไม่ทราบ แต่เล่ากันว่า พอขุดลงไปในดินใกล้ถึงทองก็มีเสียงลั่นดังครืด บันดาลให้ทองคําหนีลึกลงไปอีก


 

 

 

เมืองจันทบุรีโบราณตรงนี้ ย้ายไปสร้างที่ไหน เมื่อไร ?

 

 

 

หลังจากเจ้าบริพงษ์ เจ้าวงษ์สุริยามาศ ยึดเมืองได้แล้ว บางท่านว่าเลิกร้างจากการเป็น เมือง เพราะเจ้าทั้งสองยกกลับไปครองเมืองสามสิบของตน แต่บางท่านว่ายังคงตั้งเป็นเมืองต่อไป จะอย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลังเมืองนี้ต้องย้ายไปตั้งที่อื่นแน่ คงจะเป็นที่บ้านหัววัง ราว พ.ศ. ๑๘๐๐ ต่อมาตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นก็ได้ เพราะที่ตรงนี้ต่อมาไม่เหมาะที่จะตั้งเป็นเมืองต่อไป หลายประการ

 


เอกสารอ้างอิง ๑. บันทึกการศึกษา เรื่อง เมืองจันทบุรี ของ เอนก บุญภักดี ๒. พงศาวดารชาติไทย ของ พระบริหารเทพธานี ๓. ศึกษาและเที่ยวในเมืองไทย โดย ประพัฒน์ ตรีณรงค์ : ๔. แผนที่ภูมิศาสตร์ ของ นายทองใบ แตงน้อย

 

(จำนวนผู้เข้าชม 5857 ครั้ง)


Messenger