จุกดินเผารูปคชลักษมี
จุกดินเผารูปคชลักษมี
แบบศิลปะ : ทวารวดี
ชนิด : ดินเผา
ขนาด : กว้าง 8 เซนติเมตร สูง 8 เซนติเมตร
อายุสมัย : ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12 - 14 (หรือราว 1,200 - 1,400 ปีมาแล้ว)
ลักษณะ : จุกภาชนะดินเผา ด้านล่างทำเป็นลายกลีบบัว ด้านบนตรงกลางทำเป็นรูปเทวีประทับนั่ง พระหัตถ์ทั้งสองข้างถือก้านดอกบัวตูมระดับพระอุระ ด้านข้างสันนิษฐานว่าเป็นรูปช้างชูงวงถือหม้อน้ำเพื่อรดน้ำอภิเษกให้กับเทวีที่อยู่ตรงกลางภาพลักษณะนี้เรียกกันว่า “คชลักษมี” หรือ “อภิเษกศรี” ซึ่งหมายถึงการรดน้ำอภิเษกแก่พระนางลักษมีศักติของพระวิษณุ อันเป็นการแสดงถึงความมี โชคลาภ และความอุดมสมบูรณ์ตลอดจนเป็นแหล่ง กำเนิดของชีวิตทั้งปวง เป็นความเชื่อของศาสนาฮินดู
ประวัติ : พบบริเวณเมืองอู่ทอง
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
แสดงภาพวัตถุหมุน คลิกที่นี่ http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong/360/model/10/
ที่มา: http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/uthong
(จำนวนผู้เข้าชม 208 ครั้ง)