ประเพณีไหว้ตายายผีหลาง
ประเพณีไหว้ตายายผีหลาง
ประเพณีไหว้ตายายผีหลางเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนอำเภอถลางที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที และความสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการพบปะระหว่างเครือญาติ
ประเพณีไหว้ตายายผีหลางเป็นประเพณีเก่าแก่ของคนอำเภอถลางที่สืบทอดกันมาเป็นเวลานาน เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญูกตเวที และความสำนึกในบุญคุณของบรรพบุรุษ รวมทั้งยังเป็นการพบปะระหว่างเครือญาติ
แต่เดิมนั้นจัดกันที่บริเวณบ้านเจ้าเมืองถลาง หรือบ้านลูกหลานเจ้าเมืองถลาง เช่น บ้านลิพอน บ้านดอน บ้านสาคู
บ้านเหรียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์เริ่มจะลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า ของวันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ ในช่วงเดือน ๔ หรือเดือน ๖ ข้างขึ้น ตามปฏิทินจันทรคติ
บ้านเหรียง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ใน อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต
พิธีกรรมจะเริ่มขึ้นหลังจากดวงอาทิตย์เริ่มจะลับขอบฟ้า จนถึงรุ่งเช้า ของวันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ ในช่วงเดือน ๔ หรือเดือน ๖ ข้างขึ้น ตามปฏิทินจันทรคติ
ในปัจจุบัน ลูกหลานชาวถลาง ได้ประกอบพิธีนี้ขึ้นในชื่อ “งานบวงสรวงปู่ย่า ตายาย และบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง”
ณ. สวนพระพุทธศาสนา วัดม่วงโกมารภัจจ์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ และรำลึกถึงท้าวเทพกระษัตรี (คุณหญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) รวมถึงบรรพชนผู้กล้า ที่ร่วมกันสู้ในศึกสงครามเก้าทัพจนชนะพม่า ในวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ ซึ่งชาวถลาง ถือกันว่าวันนี้เป็น "วันถลางชนะศึก"
ณ. สวนพระพุทธศาสนา วัดม่วงโกมารภัจจ์ ตำบลเทพกระษัตรี อำเภอถลาง ในวันที่ ๑๒ มีนาคม ของทุกปี เพื่อรำลึกถึงบรรพบุรุษ และรำลึกถึงท้าวเทพกระษัตรี (คุณหญิงจัน) ท้าวศรีสุนทร (คุณมุก) รวมถึงบรรพชนผู้กล้า ที่ร่วมกันสู้ในศึกสงครามเก้าทัพจนชนะพม่า ในวันที่ ๑๓ มีนาคม พ.ศ.๒๓๒๘ ซึ่งชาวถลาง ถือกันว่าวันนี้เป็น "วันถลางชนะศึก"
การเตรียมงาน จะเริ่มขึ้นตั้งวันที่ ๑๐ มีนาคม ก่อนหน้ามีการบวงสรวง ๒ วัน
วันที่ ๑๐ มีนาคม “วันกวนขนมกาละแม” วัตถุดิบที่ใช้ มีแป้งข้าวเหนียว หัวกะทิ น้ำตาล และแบะแซ กวนส่วนผสมทั้งหมดในกระทะทองเหลือง โดยใช้ไฟปานกลาง-อ่อน เป็นเวลาประมาณ ๔ ชั่วโมง การกวนกาละแม นอกจากมีความยุ่งยากในการเตรียมวัตถุดิบในปริมาณมากแล้ว ยังต้องอาศัยแรงผู้ชายหลายคนสลับกันกวน แบบไม่มีหยุดพัก การกวนกาละแมจึงเป็นการทำขนมที่ทำได้ยาก จะมีขึ้นเฉพาะในงานมงคลต่าง ๆ เช่น งานทำบุญใหญ่ของชุมชน งานแต่งงาน เป็นต้น เสร็จแล้วก็จะแบ่งใส่ถาดเก็บไว้สำหรับใช้ในพิธีบวงสรวง ที่เหลือก็แจกจ่ายให้กับคนที่มาช่วยกวนกาละแม
วันที่ ๑๑ มีนาคม “วันห่อขนม” วันนี้ชาวบ้านจะมาช่วยกันทำขนมห่อต่าง ๆ ที่จะใช้ในพิธีบวงสรวง และแต่งจาดในพิธีแห่ ประกอบด้วยขนมท่อนใต้ ขนมเทียน ขนมต้ม(ข้าวต้มลูกโยน) ขนมเหนียวกล้วย(ข้าวต้มมัด) ขนมห่อ(ขนมใส่ไส้) เพื่อให้การห่อขนมเสร็จเร็วขึ้น ส่วนประกอบบางอย่าง เช่น ไส้ขนม ชาวบ้านจะเตรียมไว้หลังจากกวนกาละแมเสร็จ เมื่อนึ่งขนมสุกแล้ว ก็จะแบ่งเก็บไว้สำหรับใช้ในพิธีบวงสรวง และบางส่วนก็จะนำมาร่วมกันแต่งจาดในพิธีแห่
วันที่ ๑๒ มีนาคม “วันงานบวงสรวงปู่ย่า ตายาย และบรรพชนผู้กล้าเมืองถลาง” ช่วงเช้า เวลา ๐๘.๓๐ น.จะมีพิธีทำบุญตักบาตร และถวายภัตตาหารเพล แด่พระภิกษุสงฆ์
ตอนเย็น เวลา ๑๗.๓๐ น. จะมีขบวนแห่จาดจากศาลเจ้าบ้านเคียน(หง่อเฮี้ยนไต่เต่) มายัง สวนพระพุทธศาสนา วัดม่วงโกมารภัจจ์ ในเวลา ๑๘.๓๐ น. ประธานในพิธี จุดธูปเทียน เริ่มพิธีบวงสรวง
(จำนวนผู้เข้าชม 1091 ครั้ง)