...

พระวิษณุมัธยมโยคะสถานกมูรติ เขาพระนารายณ์ (เขาเวียง) ต.เหล อ.กะปง จ.พังงา




          พระวิษณุและกลุ่มเทวรูปบริวาร จากเขาพระนารายณ์ ได้ถูกบันทึกไว้ในจดหมายเหตุเสด็จประพาสหัวเมืองปักษ์ใต้ ร.ศ. ๑๒๘ ของพระบรมโอรสาธิราช (พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖) ถึงเรื่องการเคลื่อนย้ายจากยอดเขาเวียง มาอยู่บริเวณที่พระนารายณ์ (โคนต้นตะแบก) ว่า "...เทวรูปนี้เดิมอยู่บนเขาเวียง บนนั้นยังมีฐานก่อด้วยอิฐปรากฎอยู่ ครั้นพม่ามาตีเมืองไทย ได้ลงมาที่เขาเวียง ยกเทวรูปลงมาได้ถึงที่เนินนี้ ตั้งใจจะไปทางแม่น้ำ เผอิญเกิดฝนตกห่าใหญ่ พม่าจึงต้องทิ้งเทวรูปไว้ หนีเอาตัวรอด ... " 

 

          ต่อมาในปีพ.ศ. ๒๕๐๙ จากการสร้างทางหลวงสาย ๔๐๑ สุราษฎร์ธานี-ตะกั่วป่า ทำให้มีคนร้ายเข้ามาทุบสกัดพระพักตร์ฤาษีมารกัณเฑยะ และพระนางภูเทวีไป โดยนำส่วนพระองค์ของนางภูเทวีไปทิ้งในหนองน้ำ (ชาวบ้านได้มาพบส่วนพระองค์ของนางภูเทวีช่วงหน้าแล้งของปีพ.ศ. ๒๕๑๐ จึงได้นำไปไว้ที่วัดนารายณิการาม) จากเหตุการณ์นี้ทำให้หน่วยศิลปากรที่ ๘ นครศรีธรรมราช ได้นำเทวรูปพระวิษณุ ฤาษีมารกัณเฑยะ และจารึกเมืองตะกั่วป่า (จารึกหลักที่ ๒๖) ไปเก็บรักษาที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ นครศรีธรรมราช

 

          ในปีพ.ศ. ๒๕๑๖ กรมศิลปากรได้รับการติดต่อจากร้านขายของเก่าในประเทศอังกฤษ ว่าต้องการส่งมอบคืนพระพักตร์นางภูเทวีซึ่งทราบว่าเป็นของที่ถูกโจรกรรมมา

         

          สำหรับระบบบริวารของพระวิษณุตามคัมภีร์ไวขณสมาคม รศ.ดร.เชษฐ์ ติงสัญชลี จากภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ได้ให้ข้อมูลไว้ ดังนี้






ที่มาข้อมูล

เชษฐ์ ติงสัญชลี.  พระวิษณุจากตะกั่วป่า.  สไลด์ประกอบการบรรยายวิชาการ เรื่อง พระวิษณุบนคาบสมุทรภาคใต้ของประเทศไทย ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง ๒๙ สิงหาคม ๒๕๖๓.

บุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ.  ทุ่งตึก เมืองท่าการค้าโบราณ.  กรุงเทพฯ : สมาพันธ์๒๕๕๒.

(จำนวนผู้เข้าชม 2100 ครั้ง)


Messenger