ชื่อวัตถุ รองเท้า
ทะเบียน ๒๗/๒/๒๕๓๖
อายุสมัย ศิลปะแบบจีน
วัสดุ(ชนิด) หนัง ผ้า และลูกปัดสี
ประวัติที่มา นางอ๋องฮวนฮอง วงษ์สุภาพ อายุประมาณ ๖๕ ปี บ้านเลขที่ ๒๕ ถ.วิชิต ต.กระทู้ อ.กระทู้ จ.ภูเก็ต มอบให้พิพิธภะณฑ์ถลาง เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๓๖ เป็นของที่ใช้ในงานแต่งงาน
สถานที่เก็บรักษา พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลาง
“รองเท้า”
รองเท้ามีลักษณะเป็นร้องเท้าแตะ ส้นเตี้ย ส่วนหัวของรองเท้าปักด้วยลูกปัดสีขาว ส้ม แดง เหลือง และน้ำตาล ร้องเท้ารูปแบบนี้เรียกภาษามลายูว่า Kasutmanikคำว่า manikแปลว่า ลูกปัด
รองเท้าปักลูกปัด เป็นรองเท้าที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงชาวบาบ๋าคำว่า บาบ๋า เป็นคำที่ชาวภูเก็ตใช้เรียกลูกหลานที่เกิดจากพ่อชาวจีนและแม่ชาวพื้นเมืองว่าโดยเรียกทั้งผู้ชายและผู้หญิง ต่างจากในแถบประเทศอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งมีกลุ่มลูกผสมชาวจีนและชาวพื้นเมืองอยู่เป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับในเกาะภูเก็ต แต่ในประเทศเหล่านี้ใช้คำว่า บาบ๋า เรียก ลูกชาย และใช้คำว่า ย่าหยา เรียก ลูกสาว
สำหรับรองเท้าปักลูกปัดเป็นที่นิยมทั้งในสิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งหญิงชาวภูเก็ตคงรับความนิยมรองเท้ารูปแบบนี้มาจากแถบมะละกาและปีนัง ทั้งนี้ในอดีตหญิงสาวที่เตรียมตัวจะออกเรือนต้องเก่งงานเย็บปักถักร้อย “รองเท้าปักลูกปัด” เป็นส่วนหนึ่งในเครื่องแต่งกายในวันแต่งงาน ซึ่งหญิงสาวต้องทำร้องเท้าปักลูกปัดเพื่อใช้สวมในงานมงคลสมรสด้วยตนเอง
ร้องเท้าปักลูกปัดคู่นี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ถลางได้รับมาจากนางอ๋องฮวนฮอง วงษ์สุภาพอายุประมาณ ๖๕ ปี ซึ่งเป็นของที่ใช้ในงานแต่งงานรองเท้าปักลูกปัด (Kasutmanik) จึงเป็นตัวแทนที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวบาบ๋าภูเก็ตในเรื่องของการแต่งกายได้เป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
- ฤดี ภูมิภูถาวร. “ร้องเท้าเข้าชุดสะดุดสายตา,” ภูเก็ตภูมิ ๓, ๑ (เมษายน - มิถุนายน ๒๕๕๒):, ๖๔ – ๖๗.
-ฤดี ภูมิภูถาวร. วิวาห์บาบ๋า. ภูเก็ต : บริษัท เวิลด์ออฟเซ็ทพริ้นติ้ง จำกัด, ๒๕๕๓.
(จำนวนผู้เข้าชม 1395 ครั้ง)