...

เมืองโบราณยะรัง EP.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?" นำเสนอเกี่ยวกับชื่อ “ลังกาสุกะ”
องค์ความรู้ตอนที่ 2 ที่นำเสนอในวันนี้มีชื่อว่า
"Ep.2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?"
นำเสนอเกี่ยวกับชื่อ “ลังกาสุกะ” ที่ปรากฏในเอกสารโบราณต่างๆ และสันนิษฐานว่ามีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง
ลังกาสุกะ เป็นชื่อเมืองที่ปรากฏอยู่ในเอกสารโบราณ กล่าวกันว่าเป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่ช่วงพุทธศตวรรษที่ 11 – 21 ผลจากการศึกษาเอกสารโบราณ นักวิชาการได้สรุปในเบื้องต้นว่าที่ตั้งของเมืองลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณคาบสมุทรมลายูโดยมีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณ 3 จังหวัดชายแดนใต้และบริเวณเคดาห์ ประเทศมาเลเซีย ซึ่งปัจจุบัน
นักวิชาการส่วนใหญ่เชื่อว่าลังกาสุกะนั้นตั้งอยู่บริเวณพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองโบราณยะรัง
แต่ทั้งนี้การศึกษาเรื่องเอกสารโบราณยังมีข้อถกเถียงอีกมากมายหลายประการ การนำเสนอองค์ความรู้ในครั้งนี้เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งในการศึกษาเมืองลังกาสุกะที่ผ่านมา การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูลทางด้านวิชาการถือเป็นการศึกษาประวัติศาสตร์เชิงสร้างสรรค์ แต่ทั้งนี้ การศึกษาเอกสารโบราณ ยังมีปัญหาอีกมากในการนำมาใช้งาน ทั้งการอ่านหรือแปลความ หรืออคติของผู้เขียนเอง ดังนั้น การศึกษาเอกสารโบราณเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอต่อการตีความทางด้านโบราณคดี
---------------------------
Ep1 เมืองโบราณยะรัง : เมืองโบราณสำคัญในพื้นที่ 3  จังหวัดชายแดนใต้
https://www.facebook.com/fad11songkhla/posts/628320109334790
Ep2 เมืองโบราณยะรัง = ลังกาสุกะ?
Ep3 เมืองโบราณยะรัง : การดำเนินงานทางด้านโบราณคดี
Ep4 เมืองโบราณยะรัง : โบราณสถานและโบราณวัตถุชิ้นพิเศษ
EP5 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาตำแหน่งที่ตั้งโบราณสถานด้วยเทคโนโลยีไลดาร์ (Li-DAR)
Ep6 เมืองโบราณยะรัง : การศึกษาชายฝั่งทะเลโบราณอ่าวปัตตานี
---------------------------
อ้างอิง
กระทรวงวัฒนธรรม กรมศิลปากร. พัฒนาการทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ ๓ จังหวัดชายแดนใต้. สงขลา : สำนักศิลปากรที่ ๑๑ สงขลา, ๒๕๖๕.
อมรา ศรีสุชาติ.ศรีวิชัยในสุวรรณทวีป. กรุงเทพฯ:กรมศิลปากร,๒๕๕๗.
---------------------------
ข้อมูลการศึกษาลังกาสุกะเพิ่มเติม
 Gustaaf Schlegel, “Geographical Notes  Lang-ga-siu or Lang-ga-su and Sih-lan shan Ceylon, in T’uong Pao vol.9 No.3 (1898), 191-200
 Ed. Huber, “Reviewed Work: En Oud-Javaansch geschiedkundig gedicht uit het bloeitijdperk van Madjapahit by H. Kern”in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient Vol.4, No. 1/2 (janvier-juin 1904), 474-475
 Paul Pelliot, Deux itinéraires de Chine en Inde à la fin du VIIIe siècle in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1904 vol 4, 131-413
 G.E. Gerini, “The Nagarakretakama list of the countries on the Indo-Chinese mainland” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1905), 485-511
 Charles Otto Blagden, “Siam and the Malay peninsula” in Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland, (1906), 107-119
 G.P. Rouffaer, Was Malaka Emporium Voor 1400 A. D., Genaamd Malajoer? En Waar Lag Woerawari, Ma-Hasin, Langka, Batoesawar? in Bijdragen tot de taal-, land- en volkenkunde, deel Ixxvii (1921), 359-569 
 W. Linehan, “Langkasuka The Island of Asoka” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 21, No. 1 (144) (April 1948), pp. 119-123.
 G. Ferrand, “Le Melaka, Le Melayur” in Journal Asiatique (paris), 1918, 391-484. 
 George Coedes, “Le royaume de Crivijaya” in Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient ,1918 vol XVIII,no.6, 1-36. and Les états hindouisés d'Indochine et d'Indonésie (Paris : De Boccard, 1964)
 Roland Braddell, “Notes on Ancient Times in Malaya - Langkasuka and Kedah” in Journal of the Malayan Branch of the Royal Asiatic Society, Vol. 23, No. 1 (151) (February, 1950), 1-36.
 Paul Wheatley, “Langkasuka” in The Golden Khersonese (Kuala Lumpur : University of Malaya Press, 1961), 252 - 267.

(จำนวนผู้เข้าชม 2663 ครั้ง)


Messenger