...

ประวัติและบทบาทหน้าที่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  สงขลา  มีลักษณะเป็นกลุ่มอาคารแบบสถาปัตยกรรมจีน  ก่ออิฐถือปูน  สร้างขึ้นโดย พระยาสุนทรานุรักษ์ (เนตร  ณ สงขลา)  ผู้ช่วยราชการเมืองสงขลา  เมื่อปี พ.ศ. 2421  ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว   เพื่อใช้เป็นบ้านพัก ต่อมา ทางราชการได้ซื้ออาคารดังกล่าวจากพระอนันตสมบัติ (เอม  ณ สงขลา)  ใช้เป็นศาลาว่าการ มณฑลนครศรีธรรมราช และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2460  ใช้เป็นที่ทำการศาลากลางจังหวัดสงขลา  จนถึงปี พ.ศ. 2496  จึงย้ายที่ทำการศาลากลางจังหวัดสงขลา ไปอยู่ ณ ที่ปัจจุบันที่ถนนราชดำเนิน ตัวอาคารหลังนี้ถูกทิ้งร้างอยู่หลายปี 

          ปี พ.ศ.  2516   กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน  และได้เริ่มบูรณะอาคารหลังนี้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา    เมื่อดำเนินการจัดแสดงนิทรรศการถาวรเรียบร้อย   จึงได้กราบบังคมทูลเชิญ  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเป็นประธานในพิธีเปิด    เมื่อวันที่  25 กันยายน 2525

ภารกิจ/บทบาทหน้าที่

 

1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย สำรวจ รวบรวมและเก็บรักษาโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์
2. จัดทำทะเบียนวัตถุพิพิธภัณฑ์ทุกประเภทในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เพื่อการควบคุมและการรักษาความปลอดภัย และเพื่อเป็นข้อมูลทางด้านวิชาการ
3. นำเสนอนิทรรศการถาวร ชั่วคราว และผลิตเอกสารทางวิชาการเพื่อการเผยแพร่
4. บริการการศึกษาสำหรับผู้เข้าชมด้วยนวัตกรรมและสื่อทุกสื่อ
5. ดำเนินการตรวจพิสูจน์และประเมินคุณค่าของโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และวัตถุทางชาติพันธุ์
6. ควบคุมและประสานการนำเข้าและส่งออก โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ ในและนอกราชอาณาจักร กำกับดูแลการประกอบการค้าโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุที่อยู่ในข่ายการควบคุม ตาม พ.ร.บ. โบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2535)
7. ให้คำปรึกษา แนะนำ ตอบข้อหารือทางวิชาการที่เกี่ยวข้อง
8. ควบคุมการบริหารกิจการทั่วไปในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ สงขลา

(จำนวนผู้เข้าชม 383 ครั้ง)


Messenger