รอยพระพุทธบาทสี่รอย
รอยพระพุทธบาทสี่รอย
ศิลา ศิลปะสุโขทัย พุทธศตววษที่ ๒๐
ได้จากวัดเขาพระบาทน้อย
เมืองเก่าสุโขทัย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย
พระพุทธบาทสี่รอย สลักจากแผ่นหินชนวนขนาดกว้าง ๔๖ เซนติเมตร ยาว ๒๐๕ เซนติเมตร
ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมโดยทำเส้นขอบพระบาทซ้อนกันส่วนรอยที่สี่หรือรอยในสุดจะทำเต็มฝ่าพระบาทและมีรอยเส้นทำเป็นลายฝ่าพระบาทแต่ลบเลือนจนแทบมองไม่เห็น พระพุทธบาทสี่รอยนี้ หมายถึง พระพุทธกกุสันธะ พระพุทธโกนาคม พระพุทธกัสสป และพระสมณโคดม
คตินิยมในการสร้างรอยพระพุทธบาทและการนับถือรอยพระพุทธบาทในสมัยสุโขทัยเป็นคติที่สืบทอดมาจากลังกาในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ ๑ (ลิไท) ปรากฏหลักฐานในศิลาจารึกหลักที่ ๘ หรือจารึกเขาสมนกูฏว่าพระมหาธรรมราชาลิไท โปรดฯให้ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทไว้บนเขาแห่งหนึ่งของเมืองสุโขทัยและตั้งชื่อเขาแห่งนี้ว่า “เขาสมนกูฏ” ตามชื่อภูเขาที่มีรอยพระพุทธบาทในลังกา สำหรับภูเขาที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทในเมืองสุโขทัย คือ เขาพระบาทใหญ่ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองเก่าสุโขทัย
ที่มาของข้อมูล :
แผ่นพับนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
(จำนวนผู้เข้าชม 1155 ครั้ง)