เกียรติมุข หรือ หน้ากาล
เกียรติมุข หรือ หน้ากาล
ปูนปั้น
ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๐
พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าอาวาสวัดราชธานี
อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย มอบให้
“เกียรติมุข” หรือ “หน้ากาล” เป็นลวดลายปูนปั้นที่ใช้ประดับซุ้มจระนำของโบราณสถานโดยมักจะประดับอยู่ที่ยอดซุ้ม สะท้อนถึงลวดลายที่นิยมสร้างสรรค์ในศิลปะสุโขทัย รวมทั้งสะท้อนถึงคติ ความเชื่อที่ปรากฏในงานศิลปกรรมสมัยสุโขทัย มีลักษณะเป็นรูปหน้ายักษ์ปนสิงห์หรือใบหน้าอสูรที่มีลักษณะดุร้าย คิ้วขมวด นัยน์ตากลมโตถลน จมูกใหญ่ ปากกว้างเห็นฟันบนและมีเขี้ยว ไม่มีริมฝีปากล่าง ไม่มีลำตัว มีแขนออกมาจากด้านข้างของศรีษะสวมเครื่องประดับศีรษะลักษณะเป็น
กระบังหน้า
ตามคติในศาสนาฮินดู "เกียรติมุข" หรือ "หน้ากาล" หมายถึง “เวลา” ผู้ซึ่งกลืนกินสรรพสิ่งทั้งมวลจึงเป็นผู้ครอบครองเหนือทุกสิ่งทุกอย่าง “กาล” หรือ “หน้ากาล” มีความหมายเดียวกับ “เวลา” ซึ่งเป็นชื่อของพระยม ผู้พิพากษาคนตายในอาถรรพเวทของศาสนาฮินดู ต่อมาจึงมีความเชื่อว่าการสร้างหน้ากาลไว้เหนือประตูทางเข้าศาสนสถานจะเป็นเสมือนสิ่งคุ้มครองปกปักรักษามิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาสู่ศาสนสถานนั้นๆ
ที่มาของข้อมูล :
หนังสือนำชมพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ข้อมูลนำชมโบราณวัตถุ ศิลปะวัตถุ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ รามคำแหง
ผ่าน QR code
จัดทำโดย นางสาวสาธิตา วรรณพิรุณ
คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
ชั้นปีที่ ๔ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ล้านนา ตาก
โครงการสหกิจศึกษา ปีการศึกษา ๒๕๖๓
(จำนวนผู้เข้าชม 3916 ครั้ง)