ขั้นตอนการขอลาออกจากราชการ
1. ข้าราชการผู้ใดประสงค์จะลาออกจากราชการ ยื่นหนังสือขอลาออกต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่ง โดยยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน
ยกเว้น (1) กรณีมีเหตุผลความจำเป็น เช่น บรรจุเข้ารับราชการ เป็นต้น สามารถยื่นล่วงหน้าได้น้อยกว่า 30 วัน
(2) กรณีลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ตำแหน่งทางการเมือง ตำแหน่งผู้พิพากษาหรือตุลาการ ตำแหน่งกรรมการในคณะกรรมการใดที่กฎหมายกำหนดว่าต้องไม่เป็นข้าราชการ หรือ ตำแหน่งที่ ก.พ. กำหนด หรือเพื่อรับสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกรัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น หรือผู้บริหารท้องถิ่น ให้ข้าราชการผู้ประสงค์ขอลาออกยื่นหนังสือขอลาออกจากราชการต่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งอย่างช้าภายในวันที่ขอลาออก
2. เมื่อผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปชั้นหนึ่งของผู้ลาออกจากราชการได้รับหนังสือขอลาออกแล้ว ให้ดำเนินการดังนี้
2.1) บันทึกวันที่ยื่นหนังสือขอลาออกนั้นไว้เป็นหลักฐาน
2.2) ตรวจสอบว่าหนังสือขอลาออกดังกล่าวยื่นล่วงหน้าก่อนวันขอลาออกไม่น้อยกว่า 30 วัน หรือไม่
2.3) พิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปโดยเร็ว
2.4) ให้ผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปแต่ละระดับเสนอความเห็นตามลำดับจน และส่งให้กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อเสนออธิบดีเพื่อพิจารณาอนุญาตการลาออกโดยเร็ว
*ในกรณีผู้ขอลาออกจากราชการยื่นหนังสือลาออกจากราชการล่วงหน้าก่อนวันขอลาน้อยกว่า 30 วัน โดยมีเหตุผลและความจำเป็น ให้ดำเนินการตามข้อ 2.1– 2.4 โดยเร็วและก่อนวันขอลาออก (ทั้งนี้ ควรส่งหนังสือขอลาออกถึงกลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลก่อนวันขอลาออก ไม่น้อยกว่า 5 วันทำการ)
3. กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลเสนอเรื่องการพิจารณาอนุญาตการลาออกต่ออธิบดีกรมศิลปากร
4. กลุ่มบริหารทรัพยากรบุคคลแจ้งคำสั่ง ให้หน่วยงานข้าราชการผู้ขอลาออกทราบ เพื่อแจ้งข้าราชการผู้ประสงค์ขอลาออกจากราชการทราบก่อนหยุดราชการ
*กรณีการขอระงับการลาออก ให้ผู้ขอลาออกยื่นหนังสือแสดงความจำนงขอระงับการลาออกต่อผู้บังคับบัญชาก่อนวันที่การลาออกจะมีผล
(จำนวนผู้เข้าชม 5672 ครั้ง)