...

ข่าวประชาสัมพันธ์
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
ที่พบในอุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี ทำจากหินทราย เป็นรูปเคารพในศาสนาพุทธนิกายมหายาน ลักษณะเป็นรูปสตรีประทับยืนตรง ซึ่งพระกรหักหายทั้ง ๒ ข้าง จากลักษณะพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม มีพระเนตรปิด พระขนงค่อนข้างตรง พระนาสิกเป็นส้น พระโอษฐ์อมยิ้ม ผ้านุ่งด้านหน้าทิ้งชายลงมาปล่อยให้ยาว ชายผ้าคล้ายหางปลาทบไปมามีเข็มขัดสลักลายดอกไม้คาด เป็นลักษณะของประติมากรรมในศิลปะเขมรแบบบายน ในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๘ ปัจจุบัน นางปรัชญาปารมิตาองค์จริงได้จัดแสดงอยู่ใน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า
(วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 98
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ศิลปะลพบุรี (ศิลปะแบบเขมรโบราณในประเทศไทย) อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ หรือประมาณ ๘๐๐ ปีมาแล้ว พบที่ปราสาทเมืองสิงห์ อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรองค์นี้มีพระพักตร์ค่อนข้างเหลี่ยม พระเนตรปิดสนิท พระโอษฐ์อมยิ้ม บนมวยผมมีพระพุทธรูปปางสมาธิ หมายถึงพระอมิตาภะประดิษฐานอยู่ พระวรกายท่อนบนมีพระพุทธรูปปางสมาธิองค์เล็ก ๆ ประดับอยู่โดยรอบ แลดูคล้ายเสื้อเกราะ พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเป็นรูปเคารพของพุทธศาสนานิกายมหายาน ทรงเป็นผู้คุ้มครองโลกและสรรพสัตว์ในยุคปัจจุบัน และทรงเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตากรุณา พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี ถือเป็นประติมากรรมแบบพิเศษที่แสดงถึงความยิ่งใหญ่ของพระองค์ ตามคติความเชื่อของชาวพุทธมหายานที่กล่าวว่า ทุกเส้นพระโลมาหรือรูขุมขนของพระองค์คือจักรวาลหนึ่งจักรวาล พระพุทธรูปองค์เล็กๆ ที่ประดับอยู่โดยรอบ หมายถึงการเปล่งประกายแห่งการรู้แจ้ง และสั่งสอนพระธรรมเพื่อการหลุดพ้น ในประเทศไทยมีการค้นพบประติมากรรมพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมี เพียง ๕ องค์ นอกเหนือจากปราสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรีแล้ว ยังพบที่เมืองโบราณสระโกสินารายณ์ จังหวัดราชบุรี ๑ องค์ ปราสาทกำแพงแลง จังหวัดเพชรบุรี ๑ องค์ และถ้ำคูหาสวรรค์ จังหวัดลพบุรี อีก ๒ องค์ การค้นพบรูปพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรเปล่งรัศมีในดินแดนประเทศไทย เป็นหลักฐานสำคัญที่แสดงถึงการแผ่ขยายอิทธิพลของพุทธศาสนานิกายมหายาน จากอาณาจักรกัมพูชาโบราณเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยได้เป็นอย่างดี
(วันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 294
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์ความรู้ : หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ กาญจนบุรี หลุมโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ บริเวณนอกกําแพงเมืองด้านทิศใต้ติดกับแม่น้ําแควน้อย ได้มีการขุดพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์จํานวน 4 โครง แต่ที่เห็นอยู่ในหลุมขุดค้นมีเพียง 2 โครง อีก 2 โครงไม่สามารถกําหนดอายุและเพศได้ เนื่องจากถูกรบกวนจากสัตว์ใน ดิน จึงได้นําขึ้นจากหลุมขุดค้นและนําไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติบ้านเก่า อําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี โครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นเพศหญิง อายุประมาณ 30-35 ปี และโครงกระดูกที่หันศีรษะไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นเพศหญิง มีอายุ ประมาณ 20-30 ปี ทั้งสองโครงจะฝังรวมกับภาชนะดินเผา ภาชนะสําริด เครื่องมือเหล็ก และสําริด กําไลเปลือกหอยและสําริด ลูกปัดหิน และลูกปัดแก้ว แหล่งโบราณคดีที่เป็นหลุมฝังศพในลักษณะนี้พบหลายแห่งตามริมฝั่งแม่น้ํา แควน้อย ในเขตอําเภอไทรโยค จนถึงอําเภอเมืองฯ จังหวัดกาญจนบุรี อันแสดงให้เห็น ถึงกลุ่มคนในวัฒนธรรมดั้งเดิมที่อาศัยอยู่ตามริมฝั่งแม่น้ํา ก่อนที่จะมีการสร้างปราสาท เมืองสิงห์ในพุทธศตวรรษที่ 18 จากหลักฐานที่พบสันนิษฐานว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยอยู่ มาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว และเคยมีการติดต่อกับชุมชนอื่นเช่นที่บ้านดอนตาเพชร อําเภอพนมทวน จังหวัดกาญจนบุรี เพราะหลักฐานต่าง ๆ ที่พบคล้ายคลึงกัน และมีอายุ ในช่วงปลายยุคโลหะเช่นเดียวกัน
(วันศุกร์ที่ 23 สิงหาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 120
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
มีลักษณะเป็นฐานอาคารคล้ายห้องแถวเรียงกันอยู่ ๔ คูหา พื้นอาคารถูกบดอัดจนแน่นด้วยทรายและกรวดแม่น้ำ ก่อนที่จะปูทับด้วยศิลาแลง จากการขุดแต่งพื้นที่โดยรอบ พบโบราณวัตถุจำพวก ตะปู ขอยึด และเศษกระเบื้องดินเผามุงหลังคาเป็นจำนวนมาก มีผู้ตั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับโบราณสถานแห่งนี้ ไว้หลากหลายแนวทาง บางท่านว่า เป็นกุฏิสงฆ์ บางท่านว่า เป็นที่สำหรับเจริญวิปัสสนาสมาธิของพระเถระผู้ใหญ่ บางท่านว่า เป็นอาคารประดิษฐานรูปเคารพของท้าวจตุโลกบาล ทั้ง ๔ แต่ที่ฟังแล้วสมเหตุสมผลก็คือ เป็นท้องพระคลัง หรือโกดัง สำหรับเก็บรักษาข้าวของมีค่า ได้แก่ เครื่องใช้ที่ทำด้วยทองคำ ผ้าแพรพรรณชั้นดีสำหรับนุ่งห่มรูปเคารพต่างๆ เงินตรา และเครื่องสมุนไพร ซึ่งมีหลักฐานระบุว่า “พระเจ้าชัยวรมัน ที่ ๗” ได้พระราชทานมาให้แก่เมืองสิงห์ หรือ “ศรีชยสิงหบุรี” เป็นประจำทุกปี
(วันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 191
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
กำแพงและประตูกำแพงด้านทิศตะวันออก เป็นกำแพงก่อด้วยแลงขึ้นมาเป็นผนังด้านนอกและทำเป็นลดชั้นที่ส่วนล่างเล็กน้อย ด้านในใช้ดินถมค่อยๆลาดลงมา เช่นกำแพงอื่นๆ ส่วนของประตูเจาะแนวกำแพง เป็นช่องแล้วใช้แลงก่อปิดทั้ง 2 ฟากข้าง ประตูได้รับการบูรณะแล้ว ลักษณะประตูด้านนอกกำแพงทำเป็นลด 2 ชั้น ด้านในก่อเป็นขั้นบันได มีร่องรอยการพังทลายของแนวกำแพงปรากฏให้เห็นเป็นการไหลตัวของดิน การก่อสร้างใช้แลงขนาดต่างๆ กัน และดินเป็นวัสดุในการก่อสร้าง การก่อเรียงแลงไม่เป็นระบบที่แน่น
(วันอังคารที่ 21 พฤษภาคม 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 262
ภาพประกอบ ข่าวประชาสัมพันธ์
องค์ความรู้ : โบราณสถานหมายเลข 3 ตั้งอยู่นอกกำแพงแก้วด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของโบราณสถานหมายเลข ๑ อาคารหลังนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ราบโล่ง ลักษณะเป็นแนวของฐานโบราณสถานขนาดเล็ก ภายในเป็นห้องก่อด้วยอิฐและศิลาแลง ฐานชั้นล่างเป็นฐานเขียงรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสก่อด้วยศิลาแลง ถัดขึ้นมาเป็นฐานปัทม์ ๑ ชั้น ชั้นบนก่อด้วยอิฐซึ่งลักษณะการก่อสร้างเช่นนี้อาจจะเป็นการก่อสร้างทับซ้อนกันก็ได้ ที่มุมด้านนอกอาคารทุกมุมมีแผ่นหินปักไว้คล้ายกับเป็นใบเสมา และจากการขุดแต่งโบราณสถานหมายเลข ๓ นี้ ได้พบพระพิมพ์โลหะที่เป็นพระพิมพ์เนื้อชินตะกั่วจำนวนมาก อาคารหลังนี้มีผู้เสนอแนวความคิดว่าน่าจะสร้างมาก่อนการสร้างปราสาท
(วันศุกร์ที่ 05 เมษายน 2567)
จำนวนผู้เข้าชม 288

Messenger