ค้นหา

รายการที่พบทั้งหมด 41,012 รายการ

วันอังคารที่ ๓๐ มกราคม ๒๕๖๗ นางสาวฑาริกา กรรมจันทร์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป ลงพื้นที่เพื่อหาแนวทางในการบริหารจัดการพื้นที่โบราณสถานปราสาทบ้านบุใหญ่ โบราณสถานเมืองเสมา อำเภอสูงเนิน และโบราณสถานบ้านปรางค์ อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา (หลังการดำเนินงานบูรณะแล้วเสร็จ)









วันเสาร์ที่ 13 มกราคม 2567 หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ จัดกิจกรรมวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี พ.ศ.2567 ร่วมกับ วิทยาลัยช่างศิลปสุพรรณบุรี โดยมีร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี ร่วมมอบของรางวัลให้กับน้องๆที่มาเข้าร่วมงาน  ขอขอบคุณอาหารและเครื่องดื่มภายในงานจากผู้ใหญาใจดีทุกท่าน  วงดนตรี : โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัย สุพรรณบุรี  นักร้อง+พิธีกร : วิทยาลัยนาฏศิลปสุพรรณบุรี  เครื่องเสียง : โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก สุพรรณบุรี  ขอขอบคุณทุนจากผู้ใหญ่ใจดีทุกท่าน ของเล่นทุกชิ้นที่ได้มอบให้กับน้องๆทุกคน ขอขอบพระคุณค่ะ 


"นาวาภิกขาจาร นุ่งไทยใส่บาตร" วันเสาร์ที่ 6 มกราคม 2566 เวลา 07.00 น. ร้อยเอกบุณยฤทธิ์ ฉายสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักศิลปากรที่ 2 สุพรรณบุรี พร้อมด้วย หัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี ร่วมทำบุญตักบาตรทางน้ำ "นาวาภิกขาจาร" ณ ศูนย์อนุรักษ์พันธ์กล้วยสุพรรณบุรี อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี


บรรณานุกรม รายชื่อหนังสือสถาบันพระปกเกล้าใหม่ ห้องค้นคว้า เดือน มกราคม 2567   หมวด 300  สังคมศาสตร์     กระทรวงการต่างประเทศ.  รายงานประจำปี 2564 กระทรวงการต่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: กระทรวงการ             ต่างประเทศ, 2564.  ( 353.1309593 ก452ร ) ชมพูนุช ตั้งถาวร.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                       พุทธศักราช 2560 : การออกแบบรัฐธรรมนูญ : กระบวนการยกร่างและแก้ไขเพิ่มเติม.                     กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 328.373 ช172ป ฉ.01-ฉ.02 ) ธนาชัย สุนทรอนันตชัย.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย            พุทธศักราช 2560 : สิทธิและหน้าที่พลเมือง.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 323                   ธ243ป ฉ.01-ฉ.02 ) บรรเจิด สิงคะเนติ.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                     พุทธศักราช 2560 : หลักนิติธรรม.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 340.1 บ153ป                     ฉ.01-ฉ.02 ) ปริญญา เทวานฤมิตรกุล.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร                   ไทยพุทธศักราช 2560 : การได้มาซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร.  กรุงเทพ: สถาบันพระ                        ปกเกล้า, 2565.  ( 328.33 ป458ป ฉ.01-ฉ.02 ) ไพสิฐ พาณิชย์กุล.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                    พุทธศักราช 2560 : สิทธิชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 323                พ998ป ฉ.01-ฉ.02 ) ภูมิ มูลศิลป์.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระ                  ปกเกล้า, 2565.  ( 342.593 ภ664ป ฉ.01-ฉ.02 ) เรืองรวี พิชัยกุล.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                    พุทธศักราช 2560 : ความเสมอภาคระหว่างประเทศ.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  (              346.013 ร859ป ฉ.01-ฉ.02 ) สถาบันพระปกเกล้า.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                   พุทธศักราช : รัฐธรรมนูญศึกษา : กลไกของรัฐธรรมนูญและรัฐธรรมนูญเปรียบเทียบสรุป                 การบรรยายและสัมมนาสาธารณธในประเด็นรัฐธรรมนูญศึกษา.  กรุงเทพฯ: สำนักนวัตกรรม                 เพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 342.593 พ343ป ฉ.014-ฉ.02 ) -----. พิศพรรคการเมือง : หลากมุมมองหลายประเทศ.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.           ( 324.2593 พ343พ ฉ.01-ฉ.02 ) -----. รางวัลพระปกเกล้า’65.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565. ( 352.1409593 พ343ร ฉ.01-ฉ.02 ) สุนทรียา เหมือนพะวงศ์.  ประเด็นสำคัญที่พึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย             พุทธศักราช 2560 : การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการนโยบาย.  กรุงเทพฯ : สถาบัน            พระปกเกล้า, 2565.  ( 320.6 ส814ป ฉ.01-ฉ.02 ) สุปรียา แก้วละเอียด.  ประเด็นที่สำคัญพึงมีและควรแก้ไขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย                พุทธศักราช 2560 : การคลังสาธารณะ.  กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า, 2565.  ( 336 ส824ป                ฉ.01-ฉ.02 )      ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑          


           นายพนมบุตร จันทรโชติ อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า กรมศิลปากร โดยสำนักหอสมุดแห่งชาติ ได้ดำเนินโครงการความร่วมมือระหว่างวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมารามกับกรมศิลปากร เพื่อเผยแพร่ผลงานการอนุรักษ์จัดเก็บคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม โดยมีอาสาสมัครและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง รวม 25 คน ทำการสำรวจ อนุรักษ์ ลงทะเบียน จัดเก็บคัมภีร์ใบลานตามหลักวิชาการ ระหว่างวันที่ 30 มกราคม – 30 เมษายน 2567 ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรมในการส่งเสริม และสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมขับเคลื่อนงานด้านวัฒนธรรม            วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม เป็นวัดสำคัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์และมีคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกบรรจุกล่องอยู่ในหอพระไตรปิฎก ซึ่งคัมภีร์ใบลานวัดราชประดิษฐฯ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ประดิษฐานอยู่ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมเดิมภายในพระบรมมหาราชวัง ภายหลังในสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชดำริให้อัญเชิญคัมภีร์ใบลานพระไตรปิฎกดังกล่าวไปประดิษฐาน ณ หอพระไตรปิฎกวัดราชประดิษฐฯ โดยบรรจุไว้ในกล่องพระธรรม  ทำด้วยไม้มีขนาดพอเหมาะกับคัมภีร์ชุดหนึ่งๆ หรือหมวดหนึ่งๆ ตามพระไตรปิฎก ด้านสันกล่องได้จารึกหมวดหมู่ชื่อเรื่องด้วยอักษรขอม ภาษาบาลี และภาษาบาลี-ไทย ลักษณะคล้ายประดับเกล็ดหอยฝังเนื้อไม้ วางเรียงไว้ตามชั้นต่างๆ ในตู้พระธรรมซึ่งสร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 อยู่ในฐานะเอกสารโบราณที่ควรอนุรักษ์จัดเก็บอย่างเป็นระบบเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเผยแพร่ต่อสาธารณชน            ทั้งนี้ นักภาษาโบราณ สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร ได้นำอาสาสมัครเข้าสำรวจตรวจสอบปริมาณกล่องคัมภีร์อย่างละเอียด พบกล่องคัมภีร์ใบลานจำนวนทั้งสิ้น 87 กล่อง สภาพกล่องชำรุดเสียหาย ภายในกล่องพบคัมภีร์อยู่ในสภาพชำรุดมาก แยกเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ คัมภีร์ใบลานที่จับผลึก ติดแน่น แข็งเป็นท่อน คัมภีร์ใบลานชำรุด พลัดผูก หัก งอ ผิดรูป และคัมภีร์ใบลาน ถูกแมลงสัตว์กัดกิน เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย ป่นเป็นผง เมื่อประเมินปริมาณงานที่ต้องดำเนินการแล้ว มีคัมภีร์ใบลานที่ชำรุดไม่สามารถจัดหมวดหมู่ ชื่อเรื่อง ลงทะเบียนได้ประมาณ 80% ของคัมภีร์ที่มีอยู่ทั้งหมด ส่วนอีก 20% สามารถดำเนินการต่อในขั้นตอนตามหลักวิชาการได้ เช่น ทำความสะอาด เปลี่ยนสายสนอง อ่านวิเคราะห์ชื่อเรื่อง ออกเลขทะเบียน สำหรับแนวทางในการดำเนินงาน สำรวจ อนุรักษ์ จัดเก็บ คัมภีร์ใบลานชำรุดมากทั้ง 3 ลักษณะนั้น จะมีการทำความสะอาด เขียนป้ายบอกลักษณะชำรุด ห่อ มัด และจัดเก็บอย่างเป็นระเบียบ เพื่อประโยชน์ต่อการศึกษาลักษณะทางกายภาพของคัมภีร์ ส่วนคัมภีร์ใบลานที่สามารถอ่านศึกษาเนื้อหาได้ จะได้ดำเนินการตามหลักวิชาการในการอนุรักษ์ ทำทะเบียน และจัดเก็บต่อไป              อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวเป็นการบูรณาการความร่วมมือและสร้างการรับรู้ระหว่างคณะสงฆ์ กรมศิลปากร และภาคส่วนประชาชน เพื่ออนุรักษ์สืบสานคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นมรดกภูมิปัญญาของบรรพชนให้มีอายุยืนยาว อีกทั้งยังเกิดเครือข่ายอาสาสมัครอนุรักษ์เอกสารโบราณ ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลและส่งต่อมรดกภูมิปัญญาให้สืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นสืบไป


สำนักศิลปากรที่ 10 นครราชสีมา ได้ดำเนินการขุดแต่งปราสาทบ้านบุใหญ่ ตำบลสูงเนิน อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา จากการขุดแต่งเผยให้เห็นว่าภายใต้กองหินทรายที่ปรักหักพังเป็นปราสาทก่อด้วยหินทราย มีมุขยื่นไปทางทิศตะวันออก จากการขุดแต่งพบชิ้นส่วนสถาปัตยกรรมในวัฒนธรรมเขมร เช่น ทับหลัง เสาประดับกรอบประตู บันแถลง นาคปัก เป็นต้น ล้วนมีรูปแบบศิลปะบาปวน กำหนดอายุประมาณพุทธศตวรรษที่ 16 (ขณะนี้ดำเนินการแล้วเสร็จเรียบร้อย)


แนะนำ 4 วรรณกรรมแสนอบอุ่น อ่านแล้วดีต่อใจสุดๆ ร้านไม่สะดวกซื้อของคุณทกโกอิจิโตะ คุณหมอ หัวใจเทวดาขอให้แมวโอบกอดคุณหากวันใดคุณหลงทาง จงฟังเสียงที่อยู่ในหัวใจมาอ่านได้ที่หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ ห้องหนังสือทั่วไป 2 ยังมีหนังสือนวนิยายอีกเพียบเลยจ้า#บรรณารักษ์ชวนอ่าน


นับถอยหลังอีก 10 วัน จะมีงาน แอ่วกุมกามยามแลง ให้ได้ไปเที่ยวชมโบราณสถานยามค่ำคืน วันนี้เราจึงมีหนังสือเกี่ยวกับเวียงกุมกามมาแนะนำ  4 เล่มด้วยกัน ให้ข้อมูลทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ โบราณคดี โบราณวัตถุ และในรูปแบบนวนิยายอิงประวัติศาสตร์เวียงกุมกาม การศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนโบราณในล้านนา โบราณคดีสามทศวรรษที่เวียงกุมกามโบราณวัตถุชิ้นสำคัญ เวียงกุมกามเวียงกุมกามผู้ที่สนใจสามารถมาอ่านได้ที่ห้องหนังสือท้องถิ่นภาคเหนือ หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่#เวียงกุมกาม#บรรณารักษ์ชวนอ่าน


Messenger