องค์ประกอบโลหะธาตุ พระพักตร์พุทธรูป
องค์ประกอบโลหะธาตุ พระพักตร์พุทธรูป
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้มีการนำวิธีการทางวิทยาศาตร์หลากหลายวิธีในการวิเคราะห์หาค่าอายุและองค์ประกอบในโบราณวัตถุศิลปวัตถุควบคู่กับการศึกษาด้านรูปแบบทางศิลปะ เพื่อใช้ต่อยอดในการศึกษาและวิจัยในอนาคต หนึ่งในนั้นคือวิธีการ เอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-ray Fluorescence spectrometry; XRF) คือเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง
วิธีเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-Ray Fluorescent spectrometry; XRF) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง (Non – Destructive Technique,NDT) เหมาะสาหรับการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือสารแขวนลอยได้ สามารถวิเคราะห์ธาตุได้ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สามารถวัดในตัวอย่างอนินทรีย์ (Inorganic Object) เช่น โลหะต่างๆ เครื่องปั้นดินเผา สีที่มีองค์ประกอบของโลหะ ดิน หิน และแร่ เป็นต้น
ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นหนึ่งในเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุที่เหมาะกับโบราณวัตถุศิลปวัตถุ เนื่องจากสามารถตรวจสอบโดยไม่ทำให้โบราณวัตถุเสียหาย มีการอ่านค่าและประมวลผลเชิงปริมาณได้รวดเร็ว และสามารถนาไปใช้งานนอกสถานที่ได้ จึงเหมาะกับการนำมาใช้ในงานตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพักตร์พระพุทธรูป ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
พระพักตร์พระพุทธรูป สูง ๒๘ ซม. กว้าง ๒๐ ซม. มีเพียงส่วนพระพักตร์และพระศอ ลักษณะของพระพักตร์ พระขนง พระนาสิก และพระโอษฐ์แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย เนื่องจากในระยะเวลานี้สุโขทัยและล้านนามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะทางด้านศาสนา ดังที่มีหลักฐานว่าพระสุมนเถระจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่ล้านนาในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ จึงอาจจะทำให้ศิลปะสุโขทัยเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะของล้านนาด้วย ปฏิมากรรมชิ้นนี้เหลือแต่เพียงส่วนพระพักตร์ ให้เห็นว่าช่างสมัยล้านนาหล่อองค์พระปฏิมาแบบแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน
ข้อมูลตามทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ระบุว่าวัสดุเป็นนาก เนื่องจากสีเป็นสีของโลหะผสมที่ออกไปทางสีแดง ประวัติกล่าวว่า ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย ปี ๒๕๑๘ พบที่หอนาค (ปัจจุบันเป็นหอระฆัง) จากการสัมภาษณ์พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุลมหาเถร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ให้ข้อมูลว่าระหว่างบูรณะหอกังสดาลนั้น ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙- ๒๔๘๐ ขณะที่ทำการรื้อบริเวณที่แขวนกังสดาลเดิมและมณฑปในบริเวณเดียวกันนั้น ได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปโลหะหลายองค์ เมื่อนำมาทำความสะอาดแล้วจึงพบว่ามีสีคล้ายนาก
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบโลหะของพระพุทธรูปด้วยวิธีเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-Ray Fluorescent spectrometry; XRF) พบว่าพระพักตร์พระพุททธรูปมีส่วนประกอบของทองแดงในปริมาณที่สูงมาก ร้อยละ ๙๘.๙๗ ทำให้พระพักตร์พระพุทธรูปมีค่อนข้างออกเป็นสีแดง ส่วนโลหะอื่นๆที่ปรากฏนั้นคงเป็นโลหะชนิดอื่นๆที่ปะปนอยู่ในโลหะตามธรรมชาติ ที่ช่างสมัยก่อนยังไม่สามารถถลุงโลหะให้มีความบริสุทธิ์ได้
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
วิภารัตน์ ประดิษฐ์อาชีพ, สรรินทร์ จรัลนภา. การใช้เทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการตรวจพิสูจน์ประติมากรรมสำริด ใน “วิจัยวิขักขณ์” การนำเสนอผลงานทางวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เล่ม ๒ ๑ กันยายน ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๐. หน้า ๙๒-๙๖
ศิริชัย หวังเจริญตระกูล. มองโบราณวัตถุผ่านวิทยาศาสตร์ ใน “วิจัย วิขักขณ์” การนำเสนอผลงานทางวิชาการกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๖๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๑. หน้า ๒๒๙-๒๓๓
นายสมชาย พวงเพิกศึก และ นายชูศักดิ์ แช่มเกษม. อุตสาหกรรม. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม ๒ (๒๕๑๘). หน้า ๙๙-๑๑๓
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ปัจจุบัน กรมศิลปากร ได้มีการนำวิธีการทางวิทยาศาตร์หลากหลายวิธีในการวิเคราะห์หาค่าอายุและองค์ประกอบในโบราณวัตถุศิลปวัตถุควบคู่กับการศึกษาด้านรูปแบบทางศิลปะ เพื่อใช้ต่อยอดในการศึกษาและวิจัยในอนาคต หนึ่งในนั้นคือวิธีการ เอกซเรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-ray Fluorescence spectrometry; XRF) คือเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง
วิธีเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-Ray Fluorescent spectrometry; XRF) เป็นเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีของวัสดุ แบบไม่ทำลายตัวอย่าง (Non – Destructive Technique,NDT) เหมาะสาหรับการวิเคราะห์หาชนิดและปริมาณของธาตุในสารตัวอย่าง ทั้งที่เป็นของแข็ง ของเหลว หรือสารแขวนลอยได้ สามารถวิเคราะห์ธาตุได้ทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ สามารถวัดในตัวอย่างอนินทรีย์ (Inorganic Object) เช่น โลหะต่างๆ เครื่องปั้นดินเผา สีที่มีองค์ประกอบของโลหะ ดิน หิน และแร่ เป็นต้น
ดังนั้นวิธีนี้จึงเป็นหนึ่งในเทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบของธาตุที่เหมาะกับโบราณวัตถุศิลปวัตถุ เนื่องจากสามารถตรวจสอบโดยไม่ทำให้โบราณวัตถุเสียหาย มีการอ่านค่าและประมวลผลเชิงปริมาณได้รวดเร็ว และสามารถนาไปใช้งานนอกสถานที่ได้ จึงเหมาะกับการนำมาใช้ในงานตรวจพิสูจน์โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ
พระพักตร์พระพุทธรูป ศิลปะล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๑
พระพักตร์พระพุทธรูป สูง ๒๘ ซม. กว้าง ๒๐ ซม. มีเพียงส่วนพระพักตร์และพระศอ ลักษณะของพระพักตร์ พระขนง พระนาสิก และพระโอษฐ์แสดงถึงอิทธิพลของศิลปะสุโขทัย เนื่องจากในระยะเวลานี้สุโขทัยและล้านนามีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะทางด้านศาสนา ดังที่มีหลักฐานว่าพระสุมนเถระจากกรุงสุโขทัยขึ้นไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ที่ล้านนาในปี พ.ศ. ๑๙๑๒ จึงอาจจะทำให้ศิลปะสุโขทัยเข้ามามีอิทธิพลต่อการสร้างงานศิลปะของล้านนาด้วย ปฏิมากรรมชิ้นนี้เหลือแต่เพียงส่วนพระพักตร์ ให้เห็นว่าช่างสมัยล้านนาหล่อองค์พระปฏิมาแบบแยกส่วนแล้วนำมาประกอบกัน
ข้อมูลตามทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย ระบุว่าวัสดุเป็นนาก เนื่องจากสีเป็นสีของโลหะผสมที่ออกไปทางสีแดง ประวัติกล่าวว่า ย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัย ปี ๒๕๑๘ พบที่หอนาค (ปัจจุบันเป็นหอระฆัง) จากการสัมภาษณ์พระเทพมหาเจติยาจารย์ (ไพบูลย์ ภูริวิปุลมหาเถร) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลำพูน ให้ข้อมูลว่าระหว่างบูรณะหอกังสดาลนั้น ประมาณ พ.ศ. ๒๔๗๙- ๒๔๘๐ ขณะที่ทำการรื้อบริเวณที่แขวนกังสดาลเดิมและมณฑปในบริเวณเดียวกันนั้น ได้พบชิ้นส่วนพระพุทธรูปโลหะหลายองค์ เมื่อนำมาทำความสะอาดแล้วจึงพบว่ามีสีคล้ายนาก
ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบโลหะของพระพุทธรูปด้วยวิธีเอกซ์เรย์ฟลูออเรสเซนส์สเปคโทรเมตรี (X-Ray Fluorescent spectrometry; XRF) พบว่าพระพักตร์พระพุททธรูปมีส่วนประกอบของทองแดงในปริมาณที่สูงมาก ร้อยละ ๙๘.๙๗ ทำให้พระพักตร์พระพุทธรูปมีค่อนข้างออกเป็นสีแดง ส่วนโลหะอื่นๆที่ปรากฏนั้นคงเป็นโลหะชนิดอื่นๆที่ปะปนอยู่ในโลหะตามธรรมชาติ ที่ช่างสมัยก่อนยังไม่สามารถถลุงโลหะให้มีความบริสุทธิ์ได้
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
วิภารัตน์ ประดิษฐ์อาชีพ, สรรินทร์ จรัลนภา. การใช้เทคนิคและวิธีการทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยในการตรวจพิสูจน์ประติมากรรมสำริด ใน “วิจัยวิขักขณ์” การนำเสนอผลงานทางวิชาการของกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๐ เล่ม ๒ ๑ กันยายน ๒๕๖๐. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๐. หน้า ๙๒-๙๖
ศิริชัย หวังเจริญตระกูล. มองโบราณวัตถุผ่านวิทยาศาสตร์ ใน “วิจัย วิขักขณ์” การนำเสนอผลงานทางวิชาการกรมศิลปากร ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๑ ๒๔-๒๕ กันยายน ๒๕๖๑. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๖๑. หน้า ๒๒๙-๒๓๓
นายสมชาย พวงเพิกศึก และ นายชูศักดิ์ แช่มเกษม. อุตสาหกรรม. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่ม ๒ (๒๕๑๘). หน้า ๙๙-๑๑๓
(จำนวนผู้เข้าชม 144 ครั้ง)