แซว่ ในพระพุทธรูปล้านนา
แซว่ ในพระพุทธรูปล้านนา
พระพุทธรูปล้านนาหลายองค์ที่มีขนาดใหญ่
การสร้างพระพุทธรูปจึงไม่สามารถหล่อขึ้นมาทั้งองค์ได้
ช่างโบราณจึงได้มีวิธีการหล่อแบบแยกชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกันโดยมีสลัก
ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือเรียกว่า แซว่ (สะกดตามพจนานุกรมภาษาล้านนา สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐) หมายถึงพระพุทธรูปที่ประกอบด้วยสลักยึดเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน บางองค์ถึงกับมีชื่อเรียกเฉพาะว่าพระเจ้าแสนแซว่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ต้องมีการหล่อหลายชิ้นมาประกอบกัน อย่างเช่นพระพักตร์พระเจ้าแสนแซว่ วัดยางกวง เมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และพระพักตร์พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พบที่วัดดอนแก้ว จังหวัดลำพูน พระเจ้าแสนแสว้ (แซว่)
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนายุคแรก พุทธศตวรรษที่ ๑๙
ตามทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ระบุว่าย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม แย้มพระโอษฐ์ พระวรกายอวบ ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แตกต่างจากพระพุทธรูปล้านนาในระยะแรกมักนั่งขัดสมาธิเพชร ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอร์ลิเยร์ ได้ให้เหตุผลว่า เดิมเคยเข้าใจกันว่าพระพุทธรูปในระยะแรกนั้น ต้องประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แต่จากหลักฐานที่พบพระพุทธรูปในระยะแรกนี้ ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิเพชรเสมอไป การนั่งขัดสมาธิราบนั้น ปรากฏร่วมกันอยูแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะรูปแบบของพระพุทธรูปนั้น มีความใกล้เคียงศิลปะปาละ
ที่ส่งอิทธิพลทางรูปแบบศิลปะพุกามของพม่าและเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธรูปสมัยหริภุญไชย เรื่อยมาจนถึงสมัยล้านนายุคแรก
ถึงแม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เป็นพระพุทธรูปที่มีวิธีการสร้างโดยการหล่อแยกส่วนหลายชิ้นนำมาประกอบกันตามแบบของพระพุทธรูป ในศิลปะล้านนา พบรอยต่อในลักษณะของการเข้าสลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณต่างๆของพระพุทธรูป ได้แก่ส่วนพระเศียรถึงต้นพระศอ พระพาหาด้านขวา พระพาหาด้านซ้าย พระวรกายส่วนล่างตั้งแต่บั้นพระองค์ลงไปจนถึงสาวนพระชงฆ์ที่ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียง ในส่วนที่เชื่อมต่อกันนั้นมีการนำโลหะมาปิดรอยบริเวรดังกล่าวและลงรักปิดทองเพื่อความสวยงาม
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พระพุทะรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
พระพุทธรูปล้านนาหลายองค์ที่มีขนาดใหญ่
การสร้างพระพุทธรูปจึงไม่สามารถหล่อขึ้นมาทั้งองค์ได้
ช่างโบราณจึงได้มีวิธีการหล่อแบบแยกชิ้นส่วน แล้วนำมาประกอบกันโดยมีสลัก
ในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือเรียกว่า แซว่ (สะกดตามพจนานุกรมภาษาล้านนา สถาบันภาษาศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๕๐) หมายถึงพระพุทธรูปที่ประกอบด้วยสลักยึดเป็นจำนวนมากนับไม่ถ้วน บางองค์ถึงกับมีชื่อเรียกเฉพาะว่าพระเจ้าแสนแซว่ เนื่องจากมีขนาดใหญ่ ต้องมีการหล่อหลายชิ้นมาประกอบกัน อย่างเช่นพระพักตร์พระเจ้าแสนแซว่ วัดยางกวง เมืองเชียงใหม่ ปัจจุบันจัดแสดงอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ และพระพักตร์พระพุทธรูปศิลปะล้านนา พบที่วัดดอนแก้ว จังหวัดลำพูน พระเจ้าแสนแสว้ (แซว่)
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนายุคแรก พุทธศตวรรษที่ ๑๙
ตามทะเบียนโบราณวัตถุศิลปวัตถุพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ระบุว่าย้ายมาจากวัดพระธาตุหริภุญชัยเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขมวดพระเกศาใหญ่ พระพักตร์กลม แย้มพระโอษฐ์ พระวรกายอวบ ชายสังฆาฏิสั้นเหนือพระถัน ประทับนั่งขัดสมาธิราบ แตกต่างจากพระพุทธรูปล้านนาในระยะแรกมักนั่งขัดสมาธิเพชร ศาสตราจารย์ชอง บวสเซอร์ลิเยร์ ได้ให้เหตุผลว่า เดิมเคยเข้าใจกันว่าพระพุทธรูปในระยะแรกนั้น ต้องประทับนั่งขัดสมาธิเพชร แต่จากหลักฐานที่พบพระพุทธรูปในระยะแรกนี้ ไม่จำเป็นต้องนั่งขัดสมาธิเพชรเสมอไป การนั่งขัดสมาธิราบนั้น ปรากฏร่วมกันอยูแล้วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะรูปแบบของพระพุทธรูปนั้น มีความใกล้เคียงศิลปะปาละ
ที่ส่งอิทธิพลทางรูปแบบศิลปะพุกามของพม่าและเป็นต้นแบบให้กับพระพุทธรูปสมัยหริภุญไชย เรื่อยมาจนถึงสมัยล้านนายุคแรก
ถึงแม้พระพุทธรูปองค์นี้จะมีขนาดไม่ใหญ่มาก แต่ก็เป็นพระพุทธรูปที่มีวิธีการสร้างโดยการหล่อแยกส่วนหลายชิ้นนำมาประกอบกันตามแบบของพระพุทธรูป ในศิลปะล้านนา พบรอยต่อในลักษณะของการเข้าสลักเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู บริเวณต่างๆของพระพุทธรูป ได้แก่ส่วนพระเศียรถึงต้นพระศอ พระพาหาด้านขวา พระพาหาด้านซ้าย พระวรกายส่วนล่างตั้งแต่บั้นพระองค์ลงไปจนถึงสาวนพระชงฆ์ที่ประทับนั่งขัดสมาธิราบบนฐานเขียง ในส่วนที่เชื่อมต่อกันนั้นมีการนำโลหะมาปิดรอยบริเวรดังกล่าวและลงรักปิดทองเพื่อความสวยงาม
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะล้านนา. กรุงเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๖.
อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. พระพุทะรูปตามคติชาวล้านนา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพืแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
(จำนวนผู้เข้าชม 194 ครั้ง)