๑๔๕ ปี ชาติกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย
๑๔๕ ปี ชาติกาล ครูบาเจ้าศรีวิชัย
๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖
ครูบา ส่วนใหญ่มักเป็นคำเรียกพระสงฆ์ที่มีผู้คนในพื้นที่นั้นๆให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาของชุมชนและผู้คน(ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว, ๒๕๕๙, ๔๓)
ครูบาศรีวิชัย หรือพระศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑ ปีขาล
เป็นบุตรของนายควายกับนางอุสา ที่บ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อคลอดมานั้นเกิดเหตุกาณ์ฝนตกฟ้าคะนอง มีเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายนั้นว่า “เฟือน” เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ มีความหมายว่าสะเทือนเลื่อนลั่น เมื่อครั้งเจริญวัย ขณะนั้นครูบาขัตติยะ หรือครูบาแข้งแคระ เดิมจำพรรษาในวัดที่อยู่ในตัวเมืองลำพูนในปัจจุบัน ได้ธุดงค์ไปพำนักยังวัดบ้านปาง เป็นโอกาสอันดีที่นายเฟือน ได้ศึกษาหลักธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติต่างๆ จนเมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ทางบิดามารดาจึงจัดให้มีการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒
สามเณรเฟือน ได้มีอายุครบกำหนดอุปสมบท
โยมบิดามารดา จึงได้พาไปอุปสมบทยังอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ได้รับฉายาว่า “สิริวชโยภิกฺขุ”
เมื่อครูบาแข้งแคระ ได้มรณภาพลง พระศรีวิชัย ก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัดบ้านปางให้สะดวกต่อการจำพรรษาของพระภิกษุและการประกอบศาสนกิจ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองของคณะสงฆ์ อันเป็นผลมาจากการตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น
แต่เดิมการปกครองคณะสงฆ์ล้านนานั้น จะปกครองในระบบ “หมวดอุโบสถ”
ในขณะที่การปกครองแบบใหม่นั้นขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีระบบการบริหารที่ลดหลั่นกันตามลำดับ โดยต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางทั้งสิ้น หนึ่งในนั้นคือการอนุญาตให้บวช
ซึ่งผู้ที่จะอนุญาตให้บวชได้นั้นต้องมีตราตั้งก่อน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับส่วนกลางเป็นเวลายาวนานหลายปี(สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ, ๒๕๕๙, ๗)
ครูบาเจ้าศรีวิชัยเริ่มการบูรณะศาสนสถานต่างๆ ในวัดบ้านปางและศาสนสถานที่ทรุดโทรมในจังหวัดลำพูน เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี(กู่กุด) และแห่งอื่นๆในภาคเหนือ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีรูปแบบเฉพาะในยุคนั้น
๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑ ครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพ ณ วัดบ้านปาง อันเป็นวัดเดิมที่ท่านจำพรรษา สิริอายุ ๖๐ปี ต่อมาได้เชิญศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจามเทวี ในตัวเมืองลำพูน พระราชทานเพลิงศพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดจามเทวี และได้สร้างกู่อัฐิสำหรับเป็นที่สักการะของประชาชน ณ วัดแห่งนี้ด้วย
อ้างอิง
ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว. การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย พุทธศตวรรษ ๒๕๓๐ - ๒๕๕๐" วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.
สิงฆะ วรรณสัย. สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา.
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสงาน ๑๑ รอบครูบาฯ ๑๑ มิถุนา ๕๓ ไหว้สาปารมี ๑๓๒ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ร่วมกันกับสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองลำพูน ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓. บวรวรรณพริ้นติ้ง: ลำพูน, ๒๕๕๓.
สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ. "วิหารล้านนาในงานบูรณปฏิสังขรณ์ของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๘๑" วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๙
๑๑ มิถุนายน ๒๕๖๖
ครูบา ส่วนใหญ่มักเป็นคำเรียกพระสงฆ์ที่มีผู้คนในพื้นที่นั้นๆให้ความเคารพนับถือเป็นอย่างมาก และเป็นผู้นำทางจิตวิญญาของชุมชนและผู้คน(ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว, ๒๕๕๙, ๔๓)
ครูบาศรีวิชัย หรือพระศรีวิชัย เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๔๒๑ ปีขาล
เป็นบุตรของนายควายกับนางอุสา ที่บ้านปาง ต.แม่ตืน อ.ลี้ จ.ลำพูน เมื่อคลอดมานั้นเกิดเหตุกาณ์ฝนตกฟ้าคะนอง มีเสียงฟ้าร้องฟ้าผ่า จึงได้ตั้งชื่อบุตรชายนั้นว่า “เฟือน” เป็นภาษาท้องถิ่นภาคเหนือ มีความหมายว่าสะเทือนเลื่อนลั่น เมื่อครั้งเจริญวัย ขณะนั้นครูบาขัตติยะ หรือครูบาแข้งแคระ เดิมจำพรรษาในวัดที่อยู่ในตัวเมืองลำพูนในปัจจุบัน ได้ธุดงค์ไปพำนักยังวัดบ้านปาง เป็นโอกาสอันดีที่นายเฟือน ได้ศึกษาหลักธรรมตลอดจนวัตรปฏิบัติต่างๆ จนเมื่ออายุครบ ๑๘ ปี ทางบิดามารดาจึงจัดให้มีการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดบ้านปาง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒
สามเณรเฟือน ได้มีอายุครบกำหนดอุปสมบท
โยมบิดามารดา จึงได้พาไปอุปสมบทยังอุโบสถวัดบ้านโฮ่งหลวง อ.บ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
ได้รับฉายาว่า “สิริวชโยภิกฺขุ”
เมื่อครูบาแข้งแคระ ได้มรณภาพลง พระศรีวิชัย ก็ได้บูรณะซ่อมแซมวัดบ้านปางให้สะดวกต่อการจำพรรษาของพระภิกษุและการประกอบศาสนกิจ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบการบริหารราชการแผ่นดินตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการปกครองของคณะสงฆ์ อันเป็นผลมาจากการตราพระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ขึ้น
แต่เดิมการปกครองคณะสงฆ์ล้านนานั้น จะปกครองในระบบ “หมวดอุโบสถ”
ในขณะที่การปกครองแบบใหม่นั้นขึ้นตรงต่อกรุงเทพฯ มีระบบการบริหารที่ลดหลั่นกันตามลำดับ โดยต้องได้รับการแต่งตั้งจากส่วนกลางทั้งสิ้น หนึ่งในนั้นคือการอนุญาตให้บวช
ซึ่งผู้ที่จะอนุญาตให้บวชได้นั้นต้องมีตราตั้งก่อน ส่งผลให้เกิดความขัดแย้งระหว่างครูบาศรีวิชัยกับส่วนกลางเป็นเวลายาวนานหลายปี(สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ, ๒๕๕๙, ๗)
ครูบาเจ้าศรีวิชัยเริ่มการบูรณะศาสนสถานต่างๆ ในวัดบ้านปางและศาสนสถานที่ทรุดโทรมในจังหวัดลำพูน เช่น วัดพระธาตุหริภุญชัย วัดจามเทวี(กู่กุด) และแห่งอื่นๆในภาคเหนือ ทำให้เกิดเป็นรูปแบบงานศิลปกรรมที่เป็นเอกลักษณ์ที่มีรูปแบบเฉพาะในยุคนั้น
๒๒ มีนาคม ๒๔๘๑ ครูบาศรีวิชัยได้มรณภาพ ณ วัดบ้านปาง อันเป็นวัดเดิมที่ท่านจำพรรษา สิริอายุ ๖๐ปี ต่อมาได้เชิญศพมาตั้งบำเพ็ญกุศลที่วัดจามเทวี ในตัวเมืองลำพูน พระราชทานเพลิงศพเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ ณ วัดจามเทวี และได้สร้างกู่อัฐิสำหรับเป็นที่สักการะของประชาชน ณ วัดแห่งนี้ด้วย
อ้างอิง
ณัฐพงษ์ ดวงแก้ว. การศึกษากระแส “ครูบาคติใหม่” ในภาคเหนือของไทย พุทธศตวรรษ ๒๕๓๐ - ๒๕๕๐" วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ๒๕๕๙.
สิงฆะ วรรณสัย. สารประวัติครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา.
จัดพิมพ์เนื่องในโอกาสงาน ๑๑ รอบครูบาฯ ๑๑ มิถุนา ๕๓ ไหว้สาปารมี ๑๓๒ ปี ครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยสภาวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน ร่วมกันกับสภาวัฒนธรรมอำเภอเมืองลำพูน ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๓. บวรวรรณพริ้นติ้ง: ลำพูน, ๒๕๕๓.
สุวพันธุ์ จันทรวรชาติ. "วิหารล้านนาในงานบูรณปฏิสังขรณ์ของครูบาศรีวิชัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๔๗-๒๔๘๑" วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาประวัติศาสตร์ศิลปะ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร. ๒๕๕๙
(จำนวนผู้เข้าชม 4164 ครั้ง)