กำไลสำริด
กำไลสำริด
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบหลุมฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยฝังศพในท่านอนเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบสิ่งของที่บรรจุอยู่ข้างลำตัว เช่นเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัดหินสี ตุ้มหู และภาชนะดินเผา ชุมชนโบราณบ้านวังไฮกำหนดอายุในยุคโลหะ ซึ่งใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ และใช้สำริดเป็นเครื่องประดับ ประมาณ ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว
กำไลสำริด พบจากการขุดค้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๓๐ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่) และโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) ในหลุมทดสอบที่ ๒ พบเพียงส่วนกระดูกปลายแขนด้านขวาอยู่ในสภาผุกร่อน และกำไลสำริดทรงกระบอก ๔ ข้อต่อกัน วางอยู่ใต้ภาชนะดินเผา ๒ ใบ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาทาสีแดง ก้นกลม ลายหยาบ
กำไลสำริด เป็นกำไลปลอกแขน มี ๔ ข้อต่อกัน สนิมจับจนเขียว แต่ละข้อตรงกลางคอดเล็กน้อย ขอบทั้งสองข้างตกแต่งด้วยลายเส้นเล็กๆ โดยรอบ ๒ เส้น ขอบมุมหนาเป็นสัน ผิวตรงกลางเรียบไม่มีลวดลาย อยู่ในสภาพสวมอยู่ที่กระดูกต้นแขนซ้าย แต่ไม่สามารถระบุเพศผู้สวมใส่ได้ เนื่องจากพบเพียงชิ้นส่วนแขนเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นกลุ่มชนชั้นสูงทางสังคมในชุมชนบ้านวังไฮแห่งนี้
การพบเครื่องประดับในแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทหลุมฝังศพนี้ มักพบสิ่งของอุทิศชนิดต่างๆ ที่ฝังลงไปพร้อมกับผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่มีทั้งที่เป็นลูกปัดหินสี แก้ว หรือเป็นโลหะ เช่น สำริด รวมถึงอาวุธและเครื่องใช้ในชนิดต่างๆ ที่ทำจากสำริดและเหล็ก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ อาจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ แสดงสถานะทางสังคมแตกต่างไปตามจำนวนและชนิดของสิ่งที่อุทิศลงไปในหลุมฝังศพนั้น นอกจากการฝังเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ยังพบการฝังเครื่องประดับพร้อมภาชนะดินเผาในลักษณะเดียวกันที่แหล่งโบราณคดี บ้านสันป่าค่า บ้านยางทองใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำกวงที่ร่วมสมัยกัน เป็นชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์สมัยหริภุญไชยในที่สุด
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศิลปากร, กรม. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์. ๒๕๓๒.
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ต.เวียงยอง อ.เมือง จ.ลำพูน
แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ เป็นแหล่งโบราณคดีที่พบหลุมฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ โดยฝังศพในท่านอนเหยียดยาว หันศีรษะไปทางทิศตะวันออก-ทิศตะวันออกเฉียงใต้ พบสิ่งของที่บรรจุอยู่ข้างลำตัว เช่นเครื่องมือเหล็ก กำไลสำริด ลูกปัดหินสี ตุ้มหู และภาชนะดินเผา ชุมชนโบราณบ้านวังไฮกำหนดอายุในยุคโลหะ ซึ่งใช้เหล็กเป็นเครื่องมือ และใช้สำริดเป็นเครื่องประดับ ประมาณ ๒,๘๐๐ - ๓,๐๐๐ ปี มาแล้ว
กำไลสำริด พบจากการขุดค้น ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ๒๕๓๐ โดยหน่วยศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ (ปัจจุบันคือสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่) และโครงการโบราณคดีประเทศไทย (ภาคเหนือ) ในหลุมทดสอบที่ ๒ พบเพียงส่วนกระดูกปลายแขนด้านขวาอยู่ในสภาผุกร่อน และกำไลสำริดทรงกระบอก ๔ ข้อต่อกัน วางอยู่ใต้ภาชนะดินเผา ๒ ใบ ซึ่งเป็นภาชนะดินเผาทาสีแดง ก้นกลม ลายหยาบ
กำไลสำริด เป็นกำไลปลอกแขน มี ๔ ข้อต่อกัน สนิมจับจนเขียว แต่ละข้อตรงกลางคอดเล็กน้อย ขอบทั้งสองข้างตกแต่งด้วยลายเส้นเล็กๆ โดยรอบ ๒ เส้น ขอบมุมหนาเป็นสัน ผิวตรงกลางเรียบไม่มีลวดลาย อยู่ในสภาพสวมอยู่ที่กระดูกต้นแขนซ้าย แต่ไม่สามารถระบุเพศผู้สวมใส่ได้ เนื่องจากพบเพียงชิ้นส่วนแขนเท่านั้น สันนิษฐานว่าอาจเป็นกลุ่มชนชั้นสูงทางสังคมในชุมชนบ้านวังไฮแห่งนี้
การพบเครื่องประดับในแหล่งโบราณคดีที่เป็นแหล่งโบราณคดีประเภทหลุมฝังศพนี้ มักพบสิ่งของอุทิศชนิดต่างๆ ที่ฝังลงไปพร้อมกับผู้ตาย ไม่ว่าจะเป็นเครื่องประดับชนิดต่างๆ ที่มีทั้งที่เป็นลูกปัดหินสี แก้ว หรือเป็นโลหะ เช่น สำริด รวมถึงอาวุธและเครื่องใช้ในชนิดต่างๆ ที่ทำจากสำริดและเหล็ก ซึ่งสิ่งของเหล่านี้ อาจะเป็นสิ่งของที่ผู้ตายเคยใช้เมื่อขณะยังมีชีวิตอยู่ แสดงสถานะทางสังคมแตกต่างไปตามจำนวนและชนิดของสิ่งที่อุทิศลงไปในหลุมฝังศพนั้น นอกจากการฝังเครื่องประดับร่วมกับโครงกระดูกที่พบในแหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ยังพบการฝังเครื่องประดับพร้อมภาชนะดินเผาในลักษณะเดียวกันที่แหล่งโบราณคดี บ้านสันป่าค่า บ้านยางทองใต้ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโบราณคดีที่ตั้งอยู่ในลุ่มแม่น้ำกวงที่ร่วมสมัยกัน เป็นชุมชนโบราณที่มีพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ก่อนที่จะเข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์สมัยหริภุญไชยในที่สุด
อ้างอิง
ณัฏฐภัทร จันทวิช (บรรณาธิการ). โบราณวัตถุและศิลปวัตถุในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย . กรุงเทพฯ :ส.พิจิตรการพิมพ์, ๒๕๔๘.
ศิลปากร, กรม. แหล่งโบราณคดีบ้านวังไฮ ลำพูน. กรุงเทพฯ: ป.สัมพันธ์พาณิชย์. ๒๕๓๒.
(จำนวนผู้เข้าชม 1408 ครั้ง)