จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุด
จารึกอาณาจักรปุนไชย วัดกู่กุด
จารึกอาณาจักรปุนไชย ทำจากหินทรายเป็นทรงใบเสมา
กว้าง ๖๘ ซม. สูง ๑๐๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณจำนวน ๘ บรรทัด
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดซ์ (George Cœdès) พบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่บริเวณทิศตะวันออกของเจดีย์กู่กุด
ปัจจุบันอยู่ในวัดจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ห่างจากวัดพระธาตุหริภุญชัยไปทางทิศตะวันตกราว ๑ กิโลเมตร พร้อมกับศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑)
ซึ่งเป็นจารึกอักษรมอญโบราณที่ร่วมสมัยกัน กำหนดอายุประมาณ
พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เนื่องจากรูปแบบตัวอักษรมีความคล้ายคลึงกับจารึก มรเจดีย์
ของพระเจ้าจันสิตถาแห่งอาณาจักรพุกาม ทรงกระทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๘ และ ๑๖๓๐
ลักษณะของจารึกอยู่ในสภาพชำรุด ตัวอักษรค่อนข้างลบเลือน ตัวอักษรมีขนาดใหญ่
ลายมือไม่ได้ประดิษฐ์ให้มีความงดงามากนัก ต่างจากจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ วัดกู่กุด
ที่มีรูปแบบตัวอักษรที่สวยงามกว่า
การศึกษาเกี่ยวกับจารึกอักษรมอญโบราณในลำพูนที่ผ่านมา ได้มีการอ่านแปลโดยโดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) และ ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) เผยแพร่ลงในวารสาร ของสมาคมฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ
(Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient: BEFEO) ปีที่ ๓๐ ค.ศ.๑๙๓๐
ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
ได้ทรงแปลลงวารสารโบราณคดี ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕
กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์อีกครั้งในหนังสือศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ และ ๒๕๓๓ ตามลำดับ
เนื้อหาแปลโดยความกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งปุนไชยนคร
ได้สร้างพระมหาเจดีย์ไว้ ท่านบัณฑิตได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยสมิงละจักกะนรสิงห์
ได้บูรณะพระมหาเจดีย์ ได้สร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ และพนัง ๑๒๕ พนัง ๒๑ พนังนี้อาจหมายถึงสถานที่สำหรับพระสงฆ์สรงน้ำบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง
อ้างอิง
คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, บรรณาธิการ, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ อักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/76/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94/1.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/76/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94/2.jpg)
จารึกอาณาจักรปุนไชย ทำจากหินทรายเป็นทรงใบเสมา
กว้าง ๖๘ ซม. สูง ๑๐๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
จารึกด้วยอักษรมอญโบราณ ภาษามอญโบราณจำนวน ๘ บรรทัด
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ และ ศาสตราจารย์ยอร์ช เซเดซ์ (George Cœdès) พบเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ ที่บริเวณทิศตะวันออกของเจดีย์กู่กุด
ปัจจุบันอยู่ในวัดจามเทวี ต.ในเมือง อ.เมือง จ.ลำพูน ห่างจากวัดพระธาตุหริภุญชัยไปทางทิศตะวันตกราว ๑ กิโลเมตร พร้อมกับศิลาจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ (ลพ.๑)
ซึ่งเป็นจารึกอักษรมอญโบราณที่ร่วมสมัยกัน กำหนดอายุประมาณ
พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เนื่องจากรูปแบบตัวอักษรมีความคล้ายคลึงกับจารึก มรเจดีย์
ของพระเจ้าจันสิตถาแห่งอาณาจักรพุกาม ทรงกระทำขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๑๖๒๘ และ ๑๖๓๐
ลักษณะของจารึกอยู่ในสภาพชำรุด ตัวอักษรค่อนข้างลบเลือน ตัวอักษรมีขนาดใหญ่
ลายมือไม่ได้ประดิษฐ์ให้มีความงดงามากนัก ต่างจากจารึกพระเจ้าสววาธิสิทธิ ๑ วัดกู่กุด
ที่มีรูปแบบตัวอักษรที่สวยงามกว่า
การศึกษาเกี่ยวกับจารึกอักษรมอญโบราณในลำพูนที่ผ่านมา ได้มีการอ่านแปลโดยโดยศาสตราจารย์โรเบิร์ต ฮัลลิเดย์ (Robert Halliday) และ ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ อ๊อตโต บล็ากเด็น (Charles Otto Blagden) เผยแพร่ลงในวารสาร ของสมาคมฝรั่งเศสแห่งปลายบูรพาทิศ
(Bulletin de l’École Française d’Éxtrême-Orient: BEFEO) ปีที่ ๓๐ ค.ศ.๑๙๓๐
ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๗๓ ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล
ได้ทรงแปลลงวารสารโบราณคดี ปีที่ ๔ ฉบับที่ ๒ พ.ศ. ๒๕๑๕
กรมศิลปากรได้จัดพิมพ์อีกครั้งในหนังสือศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
เมื่อ พ.ศ.๒๕๒๒ และ ๒๕๓๓ ตามลำดับ
เนื้อหาแปลโดยความกล่าวถึงกษัตริย์พระองค์หนึ่งแห่งปุนไชยนคร
ได้สร้างพระมหาเจดีย์ไว้ ท่านบัณฑิตได้เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ พร้อมด้วยสมิงละจักกะนรสิงห์
ได้บูรณะพระมหาเจดีย์ ได้สร้างพระพุทธรูป ๓ องค์ และพนัง ๑๒๕ พนัง ๒๑ พนังนี้อาจหมายถึงสถานที่สำหรับพระสงฆ์สรงน้ำบริเวณริมฝั่งแม่น้ำแห่งใดแห่งหนึ่ง
อ้างอิง
คงเดช ประพัฒน์ทอง, วิเคราะห์ศิลาจารึกในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย. กรุงเทพฯ: กรมศิลปากร, ๒๕๒๒.
พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ, บรรณาธิการ, จารึกในประเทศไทย เล่ม ๒ อักษรปัลลวะ อักษรหลังปัลลวะ อักษรมอญโบราณ พุทธศตวรรษที่ ๑๒-๒๑. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: หอสมุดแห่งชาติ กรมศิลปากร, ๒๕๕๙.
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/76/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94/1.jpg)
![](https://finearts.go.th/uploads/tinymce/source/76/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%9B%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%8A%E0%B8%A2%20%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%81%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%81%E0%B8%B8%E0%B8%94/2.jpg)
(จำนวนผู้เข้าชม 469 ครั้ง)