ผ้าตั้งธรรม 1
ผ้าตั้งธรรม
ผ้าเนื่องในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของภาคเหนือชนิดหนึ่ง
ลักษณะเป็นผืนผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางปักด้วยรูปเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุ
กรอบด้านข้างปักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาด้วยวัสดุต่างๆ
เช่น ดิ้น เลื่อม แล่ง ที่ทำจากโลหะมีความแวววาว
มีจำนวน ๓-๔ ผืน
นำมาผูกติดกับกากะเยีย ซึ่งเป็นไม้ที่ผูกติดกันสำหรับวางคัมภีร์
เรียกในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือว่า “ค้างธรรม”
สำหรับวางคัมภีร์สำหรับพระสงฆ์ใช้แสดงพระธรรมเทศนาในวาระสำคัญ
เช่น ประเพณีเทศน์มหาชาติ หรือประเพณีตั้งธรรมหลวง
ผ้าตั้งธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ตรงกลางเป็นภาพเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุทรงเครื่องยืนถือดาบ
ลักษณะเครื่องแต่งกายได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์
มือขวาถือลายเครือกระหนก
ยืนบนสัตว์พาหนะได้แก่ งูเล็ก สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรมะเส็ง
หรือทางภาคเหนือเรียก ปีใส้ และ หนู สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรชวด
หรือทางภาคเหนือเรียกว่า ปีใจ้
คงมีความหมายถึงปีนักษัตรของผู้ถวาย
กรอบด้านนอกปักด้วยไหมสีเป็นลายกระหนก
ตกแต่งด้วยเลื่อมแบบแผ่นกลม
ขอบนอกสุดเป็นลวดลายตกแต่งด้วยแถบแล่งโลหะชายผ้าประดับด้วยชายครุย
อ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ๒๕๕๙. พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๕๓. ประเพณีไทยภาคเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
ผ้าเนื่องในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาของภาคเหนือชนิดหนึ่ง
ลักษณะเป็นผืนผ้าทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตรงกลางปักด้วยรูปเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุ
กรอบด้านข้างปักเป็นลวดลายพันธุ์พฤกษาด้วยวัสดุต่างๆ
เช่น ดิ้น เลื่อม แล่ง ที่ทำจากโลหะมีความแวววาว
มีจำนวน ๓-๔ ผืน
นำมาผูกติดกับกากะเยีย ซึ่งเป็นไม้ที่ผูกติดกันสำหรับวางคัมภีร์
เรียกในภาษาท้องถิ่นภาคเหนือว่า “ค้างธรรม”
สำหรับวางคัมภีร์สำหรับพระสงฆ์ใช้แสดงพระธรรมเทศนาในวาระสำคัญ
เช่น ประเพณีเทศน์มหาชาติ หรือประเพณีตั้งธรรมหลวง
ผ้าตั้งธรรม พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หริภุญไชย
ตรงกลางเป็นภาพเทวดาทำจากแผ่นเงินฉลุทรงเครื่องยืนถือดาบ
ลักษณะเครื่องแต่งกายได้รับอิทธิพลจากศิลปะรัตนโกสินทร์
มือขวาถือลายเครือกระหนก
ยืนบนสัตว์พาหนะได้แก่ งูเล็ก สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรมะเส็ง
หรือทางภาคเหนือเรียก ปีใส้ และ หนู สัญลักษณ์ประจำปีนักษัตรชวด
หรือทางภาคเหนือเรียกว่า ปีใจ้
คงมีความหมายถึงปีนักษัตรของผู้ถวาย
กรอบด้านนอกปักด้วยไหมสีเป็นลายกระหนก
ตกแต่งด้วยเลื่อมแบบแผ่นกลม
ขอบนอกสุดเป็นลวดลายตกแต่งด้วยแถบแล่งโลหะชายผ้าประดับด้วยชายครุย
อ้างอิง
วิบูลย์ ลี้สุวรรณ, ๒๕๕๙. พจนานุกรมผ้าและเครื่องถักทอ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: เมืองโบราณ.
สงวน โชติสุขรัตน์, ๒๕๕๓. ประเพณีไทยภาคเหนือ. พิมพ์ครั้งที่ ๓. กรุงเทพฯ: ศรีปัญญา.
(จำนวนผู้เข้าชม 317 ครั้ง)