โบราณสถานฐานพระสยม (ฐานพระสยมภูวนาถ)

โบราณสถานฐานพระสยม  (ฐานพระสยมภูวนาถ)

         ตั้งอยู่ริมถนนท่าชี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นศาสนสถานที่สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมและประดิษฐานเทวรูปหรือสัญลักษณ์แทนองค์เทพเจ้าเนื่องในศาสนาพราหมณ์ - ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย นับถือพระศิวะหรือพระอิศวรเป็นเทพเจ้าสูงสุด จากหลักฐานโบราณคดีสันนิษฐานว่าฐานพระสยมมีอายุในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗ และสมัยอยุธยา โดยปรากฏชื่อครั้งแรกในตำนานพราหมณ์เมืองนครศรีธรรมราช ว่า “สยมภูวนาถ” คำว่า “พระสยม” หรือ “พระสยมภูวนาถ” เป็นพระนามหนึ่งของพระอิศวร หมายถึง “ผู้ที่เกิดขึ้นเอง” ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าสูงสุดสามองค์ตามความเชื่อในศาสนา

พราหมณ์-ฮินดู

         ฐานพระสยมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน สภาพปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานและผนังบางส่วน แผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ตัวอาคารแบ่งออกเป็น ๒ ส่วน ส่วนแรก เป็นห้องคูหาที่มีผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ภายในประดิษฐานศิวลึงค์บนฐานโยนี ส่วนที่สองพบร่องรอยพื้นอิฐต่อกับฐานอาคารยาวต่อเนื่องไปทางด้านหน้า มีฐานเสา ๖ เสา สันนิษฐานว่าเป็นอาคารโถง หลังคาเครื่องไม้มุงกระเบื้อง และมีแท่นฐานก่ออิฐสันนิษฐานว่าใช้สำหรับประดิษฐานรูปโคนนทิ พาหนะของพระอิศวร (ปัจจุบันใช้เป็นที่ตั้งของฐานโยนีอีกฐานหนึ่ง)

         กรมศิลปากรดำเนินการขุดค้นทางโบราณคดีและบูรณะฐานพระสยม เมื่อพ.ศ. ๒๕๔๕ - ๒๕๔๘  

ซึ่งผลการศึกษาและหลักฐานที่พบแสดงให้เห็นถึงการแพร่เข้ามาของศาสนาพราหมณ์-ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย 

ในเขตเมืองนครศรีธรรมราช อย่างน้อยในช่วงประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๖ - ๑๗  จึงอาจเป็นไปได้ว่าฐานพระสยม คือ หอพระอิศวรดั้งเดิมของชุมชนพราหมณ์ ก่อนที่จะมีการสร้างหอพระอิศวรขึ้นอีกแห่งที่ริมถนนราชดำเนิน

ในสมัยอยุธยา  

         โบราณสถานฐานพระสยมได้รับการประกาศขึ้นทะเบียนในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๙๕ ตอนที่ ๑๒๖ หน้า ๓๙๘๒ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน ๒๕๒๑ เนื้อที่โบราณสถานประมาณ ๒ งาน ๑๔.๓๒ ตารางวา

 

 

Than Phra Sayom (The Base of Shiva Statue)

         Than Phra Sayom is located on Tha Chi Road, Nai Mueang Sub-district, Mueang Nakhon 

Si Thammarat District, Nakhon Si Thammarat Province. It is a Shivaism sanctuary which was built for rituals and enshrining the statue of Shiva, the one of The Hindu Trinity. According to archeological evidence, it was assumed that Than Phra Sayom dates back to the 11th - 12th century or Ayutthaya period.  The word “Phra Sayom” or “Phra Sayombhuwanat” in Thai is one of Shiva’s name “Savayambhu” means “Spontaneously Born” and appeared for the first time in the Brahmin Legend of Nakhon Si Thammarat. 

         Than Phra Sayom is a brick building. At present, only the base and some walls remain. It is in a rectangular plan and faces east. The building was divided into two parts. The first part is a square room where lingam is set into a rectangular base or yoni. The second part, there are traces of brick platform connected steadily to the front of building base with 6 pillar bases. It was assumed to be a hall which the roof structure made of wood and covered with roof tiles. There is a brick base which was assumed to be used for enshrining the statue of Nandi. At present, it is used as the base of yoni. 

In 2002 - 2005, the Fine Arts Department carried out archaeological excavations and restoration of Than Phra Sayom. The results of study and evidences showed the spread of Shaivism in Nakhon Si Thammarat at least the 11th - 12th century. It was assumed that this structure was built originally as Ho Phra Isuan (Shiva Shrine) of Brahmin community before Ho Phra Isuan on Ratchadamnoen Road which was built on in Ayutthaya period. 

         The Fine Arts Department announced the registration of Than Phra Sayom as a national monument in the Royal Gazette, Volume 53 Page 1530 dated 27th September 1936, and announced a national area of 857.28 square - metres in the Royal Gazette, Volume 95, Part 126, page 3982, dated 14th November 1978. 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 19 ครั้ง)

Messenger