โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
บริเวณสันเขาด้านทิศเหนือ ภูฝ้าย เป็นภูเขาลูกโดด สูงจากพื้นที่ราบโดยรอบ ประมาณ 50-120 เมตร เเละห่างจากเทือกเขาพนมดงรัก ซึ่งเป็นพรมแดนเเละระหว่างไทยกับกัมพูชา มาทางทิศเหนือ ระยะทางเพียง 30 กิโลเมตร เท่านั้น ทั้งนี้โบราณสถานปราสาทภูฝ้าย คงเป็นศาสนสถานประจำชุมชน
ผลจากการขุดเเต่งศึกษาปราสาทภูฝ้าย ในปี 2556 สามารถกำหนดอายุสมัย เเละรูปแบบการใช้งานโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ได้ดังนี้
#ปราสาทประธาน สร้างด้วยอิฐ และศิลาเเลง อยู่ในผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม มีขนาดด้านละ 7.20 เมตร สร้างบนลานหินธรรมชาติของภูฝ้าย ปัจจุบันหลงเหลือเฉพาะส่วนฐานรองรับเรือนธาตุ ซึ่งก่อด้วยศิลาเเลง สูงจากพื้นดิน ประมาณ 1.75 เมตร มีศึกษาเปรียบเทียบกับปราสาทหลังอื่นๆ พบว่า แผนผังเรือนธาตุของปราสาทภูฝ้าย มีลักษณะคล้ายกับปราสาทเนียงเขมา กลุ่มโบราณสถานเกาะเเกร์ ปราสาทมีชัย อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรเเบบแปรรูป พ.ศ.1487- 1511) และปราสาทเบง อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์ (ศิลปะเขมรแบบบันทายสรี พ.ศ.1511-1544) จากรายงานฉบับดังกล่าว จึงกำหนดให้ ปราสาทภูฝ้าย น่าจะมีอายุอยู่ในช่วง กลางพุทธศตวรรษที่ 15 - กลางพุทธศตวรรษที่ 16
อีกไฮไลต์ สำคัญ ของปราสาทภูฝ้าย คือ ภาพสลักทับหลัง #พระวิษณุอนันศายินปัทมนาภะ (นารายณ์บรรทมสินธุ์) ปัจจุบันไม่ได้ติดกับตัวปราสาท เเต่เก็บรักษาไว้ ณ วัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
แม้ว่าร่องรอยหลักฐานของภูฝ้าย จะหลงเหลือไม่มากนัก เเต่ด้วยทำเลที่ตั้ง ซึ่งสร้างปราสาทอยู่บนเขาลูกโดด ในฐานะ ศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์ของชุมชน เเละเป็นสถาปนาภูเขานี้เป็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์ในลักษณะเดียวกันนี้ ยังปรากฏให้เห็นในหลายแห่ง อาทิ ปราสาทพนมรุ้ง ปราสาทปลายบัด 1 ปราสาทปลายบัด 2 และปราสาทเขากระโดง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งตั้งอยู่บนภูเขาลูกโดด ด้วยเช่นกัน
เรียบเรียงนำเสนอโดย นายวรรณพงษ์ ปาละกะวงษ์ ณ อยุธยา นักโบราณคดีปฏิบัติการ
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
- ห้างหุ้นส่วนจำกัดศรีกุรุเกษตร. รายงานผลการปฏิบัติงาน โครงการขุดแต่งเเละจัดทำผังรูปแบบเพื่อการบูรณะโบราณสถานปราสาทภูฝ้าย ตำบลภูฝ้าย อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. ม.ป.พ. . 2556.(จำนวนผู้เข้าชม 1385 ครั้ง)