กู่บ้านหัวสระ ตำบลหัวทะเล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ 4 กิโลเมตร และ 10 กิโลเมตร
ร่องรอยของ #กู่บ้านกุดยาง ปรากฏให้เห็นเฉพาะส่วนฐานของสิ่งก่อสร้าง จากหลักฐานพบว่า กู่บ้านหัวสระ มีปราสาทประธานหลังเดียว หันด้านหน้าไปทางตะวันออก ก่อสร้างด้วยศิลาแลงและหินทราย ส่วนฐานชั้นล่างสุดถูกฝังจมอยู่ใต้ดินทั้งหมด ไม่เห็นรูปทรงที่ชัดเจนและไม่สามารถตรวจสอบขนาดความกว้าง – ความยาวได้ บนผิวดินพบร่องรอยของหินทรายสีแดงที่วางเรียงเป็นกรอบส่วนฐานของชั้นเรือนธาตุของปราสาท แผนผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเพิ่มมุม ขนาดกว้าง – ยาว ด้านละประมาณ 4.30 เมตร ทางด้านตะวันออกที่ตำแหน่งประตูทางเข้า พบร่องรอยของหินกรอบประตูและเสาประดับกรอบประตู ทั้ง 2 ข้าง นอกจากนี้ที่ทางด้านตะวันออก ยังพบหลักฐานหินทรายสีแดงวางเรียงเป็นกรอบฐานของห้องมุข ขนาดกว้าง 2.50 เมตร ยื่นออกมากจากฐานของปราสาท ระยะ 1.50 เมตร เหนือจากส่วนฐานขึ้นไปซึ่งตามรูปแบบแล้วจะเป็นส่วนเรือนธาตุและชั้นยอดของปราสาท พังทลายลงหมดแล้ว
ด้านทิศตะวันออกของกู่บ้านหัวสระ ระยะทางประมาณ 140 เมตร ปรากฏ #บารายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้าง 150 เมตร ยาว 220 เมตร ปัจจุบันได้รับการขุดลอกและปรับปรุงแล้ว มีการใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำ
จากรูปแบบทางสถาปัตยกรรมที่พบและวัสดุที่นำมาใช้สร้างปราสาท จึงสันนิษฐานว่ากู่บ้านหัวสระมีอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 16-18
นอกจาก กู่บ้านกุดยาง แล้ว ในเขตพื้นที่ อำเภอบำเหน็จณรงค์ ยังพบร่องรอยหลักฐานการมีอยู่ของปราสาทในวัฒนธรรมเขมรอีกหลายแห่ง อาทิ โบราณสถานปรางค์บ้านตาล โบราณสถานสบน้ำมัน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศเหนือของกู่บ้านหัวสระ ห่างไปประมาณ ๔ กิโลเมตร และ ๑๐ กิโลเมตร
ข้อมูลโดย นายนภสินธุ์ บุญล้อม นักโบราณคดีชำนาญการ(จำนวนผู้เข้าชม 4502 ครั้ง)