เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
keyboard navigation
block animations
color contrast
เฉดสีเทา
สีปกติ
สีกลับกัน
text size
เพิ่มขนาดตัวอักษร
ลดขนาดตัวอักษร
readable
text
highlighting content
underline
links
underline
headers
images
titles
zoom in
big white
cursor
big black
cursor
zoom
screen
accessibility statement
report an accessibility problem
ล้างค่า
เว็บท่ากรมศิลปากร
Thai
English
สำนักศิลปากรที่ ๑๐ นครราชสีมา
หน้าหลัก
เกี่ยวกับหน่วยงาน
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
ประวัติและบทบาทหน้าที่
โครงสร้างและบุคลากร
หน่วยงานในสังกัด
ข่าวและกิจกรรม
ข่าวกิจกรรม
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ข่าวรับสมัครงาน
คลังภาพกิจกรรม
ข่าวประชาสัมพันธ์
ปฏิทินกิจกรรม
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
คลังภาพทรงคุณค่า
หนังสืออิเล็กทรอนิกส์
วีดีทัศน์
นิทรรศการ
ประชาชนควรรู้
กฎหมายและระเบียบ
เรื่องน่ารู้
บริการ
เอกสารดาวน์โหลด
แบบสอบถาม
สอบถามบ่อย
ติดต่อเรา
หน้าแรก
คลังวิชาการ
ความรู้ทั่วไป
พระมาลัย ทำไมจึงถือพัด หรือตาลปัตร
พระมาลัย คือ พระอรหันต์ชาวลังกา ที่มีฤทธิ์ลงไปโปรดสัตว์ยังนรก ถามถึงบุรพกรรมต่าง ๆ ของสัตว์นรก นำมาบอกแก่ญาติพี่น้องให้ทำบุญแผ่ส่วนกุศลไปให้ และได้ขึ้นไปบูชาพระเจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ได้สนทนากับพระอินทร์ ซึ่งบอกให้ทราบถึงอานิสงส์ ที่ผู้บำเพ็ญบุญจะได้ด้วยประการต่าง ๆ บนสวรรค์ พระมาลัยยังได้พบและสนทนากับพระศรีอริยเมตไตรย ถึงความสมบูรณ์พูนสุขในสมัยของพระองค์ และวิธีเกิดในพุทธกาลของพระองค์ด้วย เมื่อกลับมาสู่โลกมนุษย์แล้ว จึงได้นำความมาเทศนาต่อชาวบ้าน
พระมาลัยเป็นวรรณกรรมมุ่งสั่งสอนในทางโลก ให้คนเว้นจากบาปกรรม นำให้พ้นนรก และให้บำเพ็ญกุศลเพื่อเกิดในสวรรค์ ได้พบกับพระอินทร์ ได้บูชาพระเจดีย์จุฬามณี และได้เกิดทันศาสนาของพระศรีอาริย์ ทางศิลปกรรมถ่ายทอดออกมาเป็นภาพประกอบสมุดพระมาลัยกลอนสวด สมุดภาพไตรภูมิ ภาพพระบฏ จิตรกรรมฝาผนัง และประติมากรรมรูปเคารพ ปรากฏอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของไทย
หลักฐานทางศิลปกรรม พบว่ารูปพระมาลัยมักจะถือพัดใบตาล (ตาลปัตร) ไว้ในมือเป็นเครื่องหมายประจำพระองค์เสมอ หรือบางครั้งก็ทำเป็นพัดยศ ตามแบบพระสงฆ์ผู้มีสมณศักดิ์ ถวายแก่พระมาลัยเป็นพิเศษ ทั้งนี้เนื่องจากพัดเป็นเครื่องหมายในการแสดงธรรม ใช้สวดธรรม และประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระมาลัยเป็นพระอรหันต์ผู้โปรดสัตว์ในยมโลก เทวโลก และมนุษยโลก จึงถือพัดเครื่องหมายการแสดงธรรมเป็นสัญลักษณ์ ตั้งแต่สมัยอยุธยา เป็นธรรมเนียมนิยมสืบมาจนถึงปัจจุบัน
------------------------------------------------------------
เรียบเรียงโดย นางสาวเด่นดาว ศิลปานนท์ ภัณฑารักษ์เชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ) สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรมศิลปากร
(จำนวนผู้เข้าชม 3582 ครั้ง)
สงวนลิขสิทธิ์ © 2563 กรมศิลปากร. กระทรวงวัฒนธรรม -
นโยบายเว็บไซต์
|
มาตรฐาน