บัญชักธรรม
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
บัญชักธรรม
วัสดุ ไม้ ลงรักปิดทอง
ประวัติ พุทธสถานเชียงใหม่ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2514
ลักษณะ ไม้ลงรักปิดทอง รูปทรงเรียวยาว ส่วนปลายทั้งสองทำทรงหยักโค้งปลายแหลมมน ที่ปลายด้านหนึ่งเนื้อไม้บิ่นชำรุดและมีการเจาะรูสำหรับร้อยเชือก พื้นที่ตรงกลางจารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ความว่า
“หนังสือมัดนี้ เตมิยะ 2 ผูก ชนก 2 ผูก สุวณฺณสาม 3 ผูก แลนายเอย ฯ 2 สทฺธาแล น้อยสุวัน สทฺธานึ่ง ฯ อ้ายออม สทฺธานึ่ง ฯ ได้ส้างไว้ยฺกับสาสนา ขอหื้อผู้ข้าได้เกิดร่วมสาสนาแล”
“หนังสือมัดนี้ เตมิยะ 2 ผูก ชนก 2 ผูก สุวรรณสาม 3 ผูก แลนายเอย ฯ 2 ศรัทธาแล น้อยสุวัน ศรัทธาหนึ่ง ฯ อ้ายออม ศรัทธาหนึ่งฯ ได้สร้างไว้กับศาสนา ขอหื้อผู้ข้าได้เกิดร่วมศาสนาแล”*
------------------------------------------
บัญชักธรรม หรือ ไม้บัญชัก คือ ไม้ที่ใช้เขียนชื่อคัมภีร์ธรรม โดยระบุว่าในมัดนั้นมีคัมภีร์ใดบ้าง มีจำนวนกี่ผูก โดยจะนำไปผูกติดไว้กับคัมภีร์ด้านนอกเพื่อความสะดวกในการค้นหา เปรียบเหมือนเป็นป้ายชื่อ
ลักษณะบัญชักธรรม ทำจากไม้ มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองหรือลงรักทาชาด รูปทรงเรียวยาวปลายแหลมมน ส่วนปลายทั้งสองข้างมักสลักลวดลายหรือเป็นแบบเรียบ ๆ ส่วนปลายด้านหนึ่งจะเจาะรูไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อผูกติดกับคัมภีร์ พื้นที่ตรงกลางเว้นที่ว่างไว้จารึกข้อความ
ข้อความบนบัญชักธรรม นอกจากจะระบุชื่อคัมภีร์แล้ว ยังมีระบุปีที่สร้าง นามผู้ศรัทธา เจตนา และคำปรารถนาในการสร้างอีกด้วย เป็นการสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา คล้ายกับการจารึกที่ฐานพระพุทธรูป
---------------------------------------------
อ้างอิง
* นางเดือนศิริ ศรีชัยวิทย์ (ปริวรรต)
- มณี พยอมยงค์, ศิริรัตน์ อาศนะ. เครื่องสักการะในล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์, 2549. หน้า 66.
- ทรงพันธ์ วรรณมาศ. พจนานุกรมภาพศิลปวัฒนธรรมล้านนาและหัวเมืองฝ่ายเหนือ. ฝ่ายเอกสารการพิมพ์ สำนักงานอธิการ สหวิทยาลัยล้านนาเชียงใหม่, ไม่ระบุปีที่พิมพ์. หน้า 70.
ภาพถ่าย
- ภาพวิธีใช้งานบัญชักธรรม ถ่ายจาก หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
บัญชักธรรม
วัสดุ ไม้ ลงรักปิดทอง
ประวัติ พุทธสถานเชียงใหม่ มอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายน 2514
ลักษณะ ไม้ลงรักปิดทอง รูปทรงเรียวยาว ส่วนปลายทั้งสองทำทรงหยักโค้งปลายแหลมมน ที่ปลายด้านหนึ่งเนื้อไม้บิ่นชำรุดและมีการเจาะรูสำหรับร้อยเชือก พื้นที่ตรงกลางจารึกด้วยอักษรธรรมล้านนา ความว่า
“หนังสือมัดนี้ เตมิยะ 2 ผูก ชนก 2 ผูก สุวณฺณสาม 3 ผูก แลนายเอย ฯ 2 สทฺธาแล น้อยสุวัน สทฺธานึ่ง ฯ อ้ายออม สทฺธานึ่ง ฯ ได้ส้างไว้ยฺกับสาสนา ขอหื้อผู้ข้าได้เกิดร่วมสาสนาแล”
“หนังสือมัดนี้ เตมิยะ 2 ผูก ชนก 2 ผูก สุวรรณสาม 3 ผูก แลนายเอย ฯ 2 ศรัทธาแล น้อยสุวัน ศรัทธาหนึ่ง ฯ อ้ายออม ศรัทธาหนึ่งฯ ได้สร้างไว้กับศาสนา ขอหื้อผู้ข้าได้เกิดร่วมศาสนาแล”*
------------------------------------------
บัญชักธรรม หรือ ไม้บัญชัก คือ ไม้ที่ใช้เขียนชื่อคัมภีร์ธรรม โดยระบุว่าในมัดนั้นมีคัมภีร์ใดบ้าง มีจำนวนกี่ผูก โดยจะนำไปผูกติดไว้กับคัมภีร์ด้านนอกเพื่อความสะดวกในการค้นหา เปรียบเหมือนเป็นป้ายชื่อ
ลักษณะบัญชักธรรม ทำจากไม้ มีทั้งแบบที่ลงรักปิดทองหรือลงรักทาชาด รูปทรงเรียวยาวปลายแหลมมน ส่วนปลายทั้งสองข้างมักสลักลวดลายหรือเป็นแบบเรียบ ๆ ส่วนปลายด้านหนึ่งจะเจาะรูไว้สำหรับร้อยเชือกเพื่อผูกติดกับคัมภีร์ พื้นที่ตรงกลางเว้นที่ว่างไว้จารึกข้อความ
ข้อความบนบัญชักธรรม นอกจากจะระบุชื่อคัมภีร์แล้ว ยังมีระบุปีที่สร้าง นามผู้ศรัทธา เจตนา และคำปรารถนาในการสร้างอีกด้วย เป็นการสร้างเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา คล้ายกับการจารึกที่ฐานพระพุทธรูป
---------------------------------------------
อ้างอิง
* นางเดือนศิริ ศรีชัยวิทย์ (ปริวรรต)
- มณี พยอมยงค์, ศิริรัตน์ อาศนะ. เครื่องสักการะในล้านนาไทย. เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์, 2549. หน้า 66.
- ทรงพันธ์ วรรณมาศ. พจนานุกรมภาพศิลปวัฒนธรรมล้านนาและหัวเมืองฝ่ายเหนือ. ฝ่ายเอกสารการพิมพ์ สำนักงานอธิการ สหวิทยาลัยล้านนาเชียงใหม่, ไม่ระบุปีที่พิมพ์. หน้า 70.
ภาพถ่าย
- ภาพวิธีใช้งานบัญชักธรรม ถ่ายจาก หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่
(จำนวนผู้เข้าชม 250 ครั้ง)