ทัพพีไม้เขียนสี
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
ทัพพีไม้เขียนสี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว
วัสดุ ไม้
ประวัติ พบที่แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ลักษณะ รูปทรงคล้ายช้อนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ตกแต่งลายเขียนสีแดง บริเวณด้ามจับเขียนลายทาง และบริเวณที่ตักสิ่งของเขียนลายเส้นคดโค้ง
--------------------------------------------------
คำว่า ประตูผา มาจากลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ที่เป็นแนวเขาลูกโดดสองลูกต่อกัน ระหว่างกลางมีช่องแคบเล็ก ๆ ทำให้ดูเหมือนกำแพงสูงที่มีช่องประตูตรงกลาง จึงเป็นที่มาของชื่อประตูผา
.
แหล่งโบราณคดีประตูผา ได้พบหลักฐานการทำกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนเขตพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในบริเวณนี้ โดยพบภาพเขียนสีซึ่งยาวที่สุดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และร่องรอยการประกอบพิธีกรรมการฝังศพบริเวณพื้นดินใต้ภายเขียนสี
.
แม้ที่แหล่งนี้จะมีการถูกขุดรบกวนจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ แต่ก็ยังคงพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่สภาพสมบูรณ์และน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ทัพพีไม้เขียนสี พบจำนวน 2 อัน ในหลุมขุดค้นที่ 2 ชิ้นหนึ่งมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แตกหักบริเวณที่ตักของ อีกชิ้นเหลือเพียงส่วนที่ตักของ
.
ทัพพีไม้เขียนสีทำด้วยไม้ชิ้นเดียวที่มีการถากและขูดเอาเนื้อไม้ออกจนได้รูปร่างที่ต้องการ สันนิษฐานว่าคงทำขึ้นเพื่อเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย เนื่องจากมีการเขียนลายสีแดงตกแต่งทั้งชิ้นเพิ่มความสวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของคนในอดีต ที่ไม่เพียงรู้จักการผสมสีจากหินสีหรือดินเทศเพื่อใช้เขียนภาพบนผนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำมาเขียนภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ด้วย และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกันเป็นผู้วาดก็เป็นได้
.
ปัจจุบันทัพพีไม้เขียนสีนี้จัดแสดงอยู่ในตู้แหล่งโบราณคดีประตูผา ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
--------------------------------------------------
อ้างอิง
- ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (2542). การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 206, 299.
- กรมศิลปากร. (2544). เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. หน้า 8, 29-37.
- อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ.(2549) รูปเขียนดึกดำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 43.
- ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2564). ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. ภาพเขียนสีค่ายประตูผา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/103.
ที่มารูปภาพ
ภาพลายเส้นทัพพีไม้
- กรมศิลปากร. เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2544.
ภาพลักษณะช่องเขาที่มาชื่อประตูผา
- สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นศึกษาและคัดลอกภาพเขียนสี แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.
ทัพพีไม้เขียนสี
สมัยก่อนประวัติศาสตร์ ประมาณ 3,000 ปีมาแล้ว
วัสดุ ไม้
ประวัติ พบที่แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
ลักษณะ รูปทรงคล้ายช้อนแต่มีขนาดใหญ่กว่า ตกแต่งลายเขียนสีแดง บริเวณด้ามจับเขียนลายทาง และบริเวณที่ตักสิ่งของเขียนลายเส้นคดโค้ง
--------------------------------------------------
คำว่า ประตูผา มาจากลักษณะภูมิประเทศในบริเวณนี้ที่เป็นแนวเขาลูกโดดสองลูกต่อกัน ระหว่างกลางมีช่องแคบเล็ก ๆ ทำให้ดูเหมือนกำแพงสูงที่มีช่องประตูตรงกลาง จึงเป็นที่มาของชื่อประตูผา
.
แหล่งโบราณคดีประตูผา ได้พบหลักฐานการทำกิจกรรมของมนุษย์ตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ เปรียบเสมือนเขตพื้นที่อันศักดิ์สิทธิ์ของชุมชนในบริเวณนี้ โดยพบภาพเขียนสีซึ่งยาวที่สุดในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และร่องรอยการประกอบพิธีกรรมการฝังศพบริเวณพื้นดินใต้ภายเขียนสี
.
แม้ที่แหล่งนี้จะมีการถูกขุดรบกวนจากการลักลอบขุดหาโบราณวัตถุ แต่ก็ยังคงพบหลักฐานทางโบราณคดีจำนวนมากที่สภาพสมบูรณ์และน่าสนใจ หนึ่งในนั้นคือ ทัพพีไม้เขียนสี พบจำนวน 2 อัน ในหลุมขุดค้นที่ 2 ชิ้นหนึ่งมีสภาพเกือบสมบูรณ์ แตกหักบริเวณที่ตักของ อีกชิ้นเหลือเพียงส่วนที่ตักของ
.
ทัพพีไม้เขียนสีทำด้วยไม้ชิ้นเดียวที่มีการถากและขูดเอาเนื้อไม้ออกจนได้รูปร่างที่ต้องการ สันนิษฐานว่าคงทำขึ้นเพื่อเป็นของอุทิศให้แก่ผู้ตาย เนื่องจากมีการเขียนลายสีแดงตกแต่งทั้งชิ้นเพิ่มความสวยงาม สะท้อนให้เห็นถึงงานฝีมือและความคิดสร้างสรรค์ของคนในอดีต ที่ไม่เพียงรู้จักการผสมสีจากหินสีหรือดินเทศเพื่อใช้เขียนภาพบนผนังเพียงอย่างเดียว แต่ยังนำมาเขียนภาพลงบนสิ่งของเครื่องใช้ด้วย และอาจเป็นไปได้ว่าเป็นคนกลุ่มเดียวกันเป็นผู้วาดก็เป็นได้
.
ปัจจุบันทัพพีไม้เขียนสีนี้จัดแสดงอยู่ในตู้แหล่งโบราณคดีประตูผา ห้องยุคก่อนประวัติศาสตร์ในภาคเหนือ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
--------------------------------------------------
อ้างอิง
- ชินณวุฒิ วิลยาลัย. (2542). การศึกษาแหล่งภาพเขียนสีค่ายประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ภาควิชาโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร. หน้า 206, 299.
- กรมศิลปากร. (2544). เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร. หน้า 8, 29-37.
- อพิสิทธิ์ ธีระจารุวรรณ.(2549) รูปเขียนดึกดำบรรพ์ “สุวรรณภูมิ” 3,000 ปีมาแล้ว ต้นแบบงานช่างเขียนปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : มติชน. หน้า 43.
- ศูนย์มานุษวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2564). ฐานข้อมูลแหล่งโบราณคดีที่สำคัญในประเทศไทย. ภาพเขียนสีค่ายประตูผา. เข้าถึงเมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2566 จาก https://db.sac.or.th/archaeology/archaeology/103.
ที่มารูปภาพ
ภาพลายเส้นทัพพีไม้
- กรมศิลปากร. เปิดประตูผา ค้นหาแหล่งวัฒนธรรม 3,000 ปี ที่ลำปาง. กรุงเทพฯ : กรมศิลปากร, 2544.
ภาพลักษณะช่องเขาที่มาชื่อประตูผา
- สำนักงานโบราณคดีและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ 6 เชียงใหม่. รายงานเบื้องต้นการขุดค้นศึกษาและคัดลอกภาพเขียนสี แหล่งโบราณคดีประตูผา อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง.
(จำนวนผู้เข้าชม 446 ครั้ง)