เสื้อครุย
"เสื้อครุย" เป็นเสื้อที่ใช้สวมหรือคลุมแบบเต็มยศในงานพระราชพิธีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เพื่อประกอบเกียรติยศ แสดงบรรดาศักดิ์และตำแหน่งของผู้สวมใส่ ธรรมเนียมการใช้เสื้อครุยมีมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา สันนิษฐานว่าได้แรงบันดาลใจมาจากเปอร์เซียและอินเดีย
.
เสื้อครุย มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาว แขนกว้าง ผ่าอกตลอด ทำจากผ้าหลายชนิด เช่น ผ้ากรองทอง ผ้าขาวบาง ผ้าบุหงา หากผู้สวมใส่ยิ่งมีตำแหน่งที่สูง ผ้าและลวดลายของเสื้อครุยก็จะมีความงาม การประดับตกแต่ง รายละเอียดที่มากขึ้นตาม หากเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ มักจะนิยมใช้เสื้อครุยพื้นกรองทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองต่อกันเป็นผืน ส่วนลวดลายประดับที่มักปรากฏบนเสื้อครุย เช่น ลายเทพพนม ลายพรรณพฤกษา ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านขด โดยปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อมเงินเลื่อมทอง ปีกแมลงทับ และอื่น ๆ เป็นต้น
.
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชกำหนดเสื้อครุย ร.ศ. 130 อย่างเป็นทางการขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการสวมใส่ โดยผู้ที่จะสวมใส่เสื้อครุยได้ เฉพาะผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือเป็นผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ได้รับพระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง นับตั้งแต่ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ผู้ที่จะสวมได้โดยตำแหน่งนั้น คือ 1. ผู้พิพากษาทุกชั้น ให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ 2. พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล 3. ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมชุดครุย
.
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการจัดแสดง เสื้อครุย ที่ห้องจัดแสดงชั้น 2 ซึ่งเป็นสมบัติของ “เจ้าแก้วนวรัฐ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ผ้าและลวดลายที่ใช้เป็นแบบกลุ่มบุคคลชั้นสูง โดยเป็นเสื้อครุยแบบพื้นผ้ากรองทอง ปักด้วยดิ้นทองและเลื่อม เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีสำรดขอบ สำรดต้นและปลายพระกร เป็นลายประจำยามลูกฟักก้ามปู
+++++++++++++++++++++
เอกสารอ้างอิง
เผ่าทอง ทองเจือ. (2549). พระภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
สมภพ จันทรประภา. (2520). อยุธยาอาภรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร
พระราชกำหนดเสื้อครุย. (ร.ศ.130, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 28 หน้า 141-143
พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม (2457, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 31 หน้า 422-424
.
เสื้อครุย มีลักษณะเป็นเสื้อตัวยาว แขนกว้าง ผ่าอกตลอด ทำจากผ้าหลายชนิด เช่น ผ้ากรองทอง ผ้าขาวบาง ผ้าบุหงา หากผู้สวมใส่ยิ่งมีตำแหน่งที่สูง ผ้าและลวดลายของเสื้อครุยก็จะมีความงาม การประดับตกแต่ง รายละเอียดที่มากขึ้นตาม หากเป็นพระมหากษัตริย์และพระบรมวงศานุวงศ์ มักจะนิยมใช้เสื้อครุยพื้นกรองทอง ซึ่งเป็นผ้าที่ถักด้วยแล่งเงินหรือแล่งทองต่อกันเป็นผืน ส่วนลวดลายประดับที่มักปรากฏบนเสื้อครุย เช่น ลายเทพพนม ลายพรรณพฤกษา ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายก้านแย่ง ลายก้านขด โดยปักด้วยดิ้นเงินดิ้นทอง เลื่อมเงินเลื่อมทอง ปีกแมลงทับ และอื่น ๆ เป็นต้น
.
ในสมัยรัชกาลที่ 6 ได้มีพระราชกำหนดเสื้อครุย ร.ศ. 130 อย่างเป็นทางการขึ้น เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการสวมใส่ โดยผู้ที่จะสวมใส่เสื้อครุยได้ เฉพาะผู้มีบรรดาศักดิ์ หรือเป็นผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาต ได้รับพระราชเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชั้นสูง นับตั้งแต่ชั้นตติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป ผู้ที่จะสวมได้โดยตำแหน่งนั้น คือ 1. ผู้พิพากษาทุกชั้น ให้สวมเสื้อครุยในเวลาแต่งเต็มยศทุกเมื่อ 2. พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการผู้อ่านประกาศหรืออ่านคำถวายชัยมงคลในชั่วเวลาเฉพาะกาล 3. ข้าราชการเข้าในหน้าที่พระราชพิธีอันมีกำหนดให้สวมชุดครุย
.
ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้มีการจัดแสดง เสื้อครุย ที่ห้องจัดแสดงชั้น 2 ซึ่งเป็นสมบัติของ “เจ้าแก้วนวรัฐ” เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้าย ผ้าและลวดลายที่ใช้เป็นแบบกลุ่มบุคคลชั้นสูง โดยเป็นเสื้อครุยแบบพื้นผ้ากรองทอง ปักด้วยดิ้นทองและเลื่อม เป็นลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีสำรดขอบ สำรดต้นและปลายพระกร เป็นลายประจำยามลูกฟักก้ามปู
+++++++++++++++++++++
เอกสารอ้างอิง
เผ่าทอง ทองเจือ. (2549). พระภูษาผ้าทรงในราชสำนักสยาม. กรุงเทพฯ : ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน)
สมภพ จันทรประภา. (2520). อยุธยาอาภรณ์. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์กรมแผนที่ทหาร
พระราชกำหนดเสื้อครุย. (ร.ศ.130, 2 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 28 หน้า 141-143
พระราชกำหนดเสื้อครุยเพิ่มเติม (2457, 11 พฤศจิกายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 31 หน้า 422-424
(จำนวนผู้เข้าชม 5636 ครั้ง)