การแห่ไม้ก๊ำสะหรี (ไม้ค้ำโพธิ์)
การแห่ไม้ก๊ำสะหรี (ไม้ค้ำโพธิ์)
ไม้ก๊ำหรือไม้ค้ำ มีลักษณะเป็นท่อนไม้ยาวหลากหลายขนาด ที่ปลายทำเป็นง่ามสำหรับค้ำกิ่งไม้ มีการประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยการทาสีหรือหุ้มด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง ส่วนสะหรีหรือสรี หมายถึง ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ อ.สนั่น ธรรมธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ประเพณีการแห่ไม้ค้ำสะหรีน่าจะเริ่มต้นที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นที่แรก แล้วจึงเริ่มกระจายออกไปทั่วภาคเหนือในปัจจุบัน
ที่มาภาพ: เชียงใหม่นิวส์. ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง. เผยแพร่ทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2562.
การแห่ไม้ค้ำสะหรีนิยมทำใน ๒ พิธีกรรมหลัก ๆ ได้แก่ พิธีสืบชะตา และสงกรานต์ โดยการแห่ไม้ค้ำสะหรีนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถวายไม้ค้ำได้รับพรสมอย่างที่ตนปรารถนา สร้างเสริมสิริมงคลแก่ตนเอง ค้ำจุนชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ตกต่ำ และค้ำจุนพระพุทธศาสนา ในช่วงปีใหม่เมืองของทุกปี ชุมชนที่มีการแห่ไม้ค้ำสะหลีจะจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่วนไปรอบชุมชนก่อนจะนำไปถวายที่วัด จัดเป็นขบวนแห่งานบุญใหญ่ไม่แพ้งานปอยหลวงหรือขบวนแห่สลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เลยก็ว่าได้
ที่มาภาพ: ข่าวสดออนไลน์. คอลัมน์ รู้ไปโหม้ด : ไม้ค้ำโพธิ์ - ไม้ค้ำสะหลี. เผยแพร่ทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559.
ไม้ก๊ำหรือไม้ค้ำ มีลักษณะเป็นท่อนไม้ยาวหลากหลายขนาด ที่ปลายทำเป็นง่ามสำหรับค้ำกิ่งไม้ มีการประดับตกแต่งให้สวยงามด้วยการทาสีหรือหุ้มด้วยกระดาษเงินกระดาษทอง ส่วนสะหรีหรือสรี หมายถึง ต้นศรีมหาโพธิ์ ต้นไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของพระพุทธเจ้าและศาสนาพุทธ อ.สนั่น ธรรมธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรมล้านนา สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ประเพณีการแห่ไม้ค้ำสะหรีน่าจะเริ่มต้นที่วัดพระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นที่แรก แล้วจึงเริ่มกระจายออกไปทั่วภาคเหนือในปัจจุบัน
ที่มาภาพ: เชียงใหม่นิวส์. ประเพณีแห่ไม้ค้ำโพธิ์ วัดพระธาตุศรีจอมทอง. เผยแพร่ทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2562.
การแห่ไม้ค้ำสะหรีนิยมทำใน ๒ พิธีกรรมหลัก ๆ ได้แก่ พิธีสืบชะตา และสงกรานต์ โดยการแห่ไม้ค้ำสะหรีนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ถวายไม้ค้ำได้รับพรสมอย่างที่ตนปรารถนา สร้างเสริมสิริมงคลแก่ตนเอง ค้ำจุนชีวิตให้เจริญรุ่งเรือง ไม่ตกต่ำ และค้ำจุนพระพุทธศาสนา ในช่วงปีใหม่เมืองของทุกปี ชุมชนที่มีการแห่ไม้ค้ำสะหลีจะจัดขบวนแห่อย่างยิ่งใหญ่วนไปรอบชุมชนก่อนจะนำไปถวายที่วัด จัดเป็นขบวนแห่งานบุญใหญ่ไม่แพ้งานปอยหลวงหรือขบวนแห่สลากภัต (ตานก๋วยสลาก) เลยก็ว่าได้
ที่มาภาพ: ข่าวสดออนไลน์. คอลัมน์ รู้ไปโหม้ด : ไม้ค้ำโพธิ์ - ไม้ค้ำสะหลี. เผยแพร่ทางเว็บไซต์เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2559.
(จำนวนผู้เข้าชม 13505 ครั้ง)