ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
#องค์ความรู้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเชียงใหม่
#ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
. ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีความสวยงาม กลิ่นหอม มีความบริสุทธิ์และควรค่าแก่การบูชา ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงนำเอาดอกไม้มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องสักการะสูงสุด และที่สำคัญคติความเชื่อของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่มีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นจึงพึงได้รับอานิสงส์จากการอุทิศตนถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
. ในวันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับดอกไม้ที่ใช้เป็นเครื่องสักการะในพุทธศาสนาอีกประเภทหนึ่ง คือ “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” ค่ะ ตามมานะคะ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง คืออะไร?? ///
. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” เป็นการจำลองรูปลักษณะของดอกไม้จริงให้กลายเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยทองและเงิน เพื่อความคงทนสำหรับสักการบูชาศาสนสถานหรือศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ล้านนา เรียกว่า “ดอกไม้เงินดอกไม้คำ” ทางมลายู เรียกว่า “บุหงามาสดานเประ” (Bunga Mas DanPerak) เป็นต้น
. ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง” ไว้ว่า “เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุกๆ ๓ ปี” หรือ “เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ” โดยจะนิยามใน ๒ ประเด็นหลัก คือ เป็นเครื่องบรรณาการ และ สื่อกลางในการเลื่อนชั้นและตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น
/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง : เครื่องสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ///
. ปรากฏหลักฐานแรกสุดจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองตักกสิลา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน) ในสถูปซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๖ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นอูบหรือผอบประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุดอกไม้ประดิษฐ์ที่ใช้วัตถุดิบเป็นทองคำและเงิน เนื่องจากมีมูลค่าและคุณค่าสูง ประกอบกับคงทนถาวรกว่าแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ
. ทั้งนี้เมืองตักกสิลาและบริเวณอื่นๆของอินเดียหลายแห่งเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาและระบบเครือข่ายทางการค้า ส่งผลให้คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจากตักกสิลาส่งอิทธิพลแนวคิดดังกล่าว เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางการค้า โดยเริ่มจากบริเวณคาบสมุทรมลายูก่อนเผยแพร่เข้าไปทางภาคใต้ของไทย กับอีกเส้นทางหนึ่งคือจากอินเดียเข้าสู่พม่า ล้านนา และเข้ามาสู่สยาม
. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในวโรกาสเจริญพระชนพรรษาครบ ๓๒ พรรษา เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยอัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานบนบุษบกทองคำ และใช้ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ล้อมบุษบก
นอกจากนี้คนในอดีตนิยมถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เสด็จยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงถวายต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : เครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองประเทศราช ///
. ในสมัยรัตนโกสินทร์ หัวเมืองประเทศราชของไทย เช่น เมืองหล่ม เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เขมร ชนกลุ่มต่างๆทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(กะเหรี่ยง) มลายู (ไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู) จะต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงเทพฯ ทุกๆ ๓ ปี หรือทุกปี ที่เป็นทั้งเงินทองหรือผลิตผลในท้องถิ่นมากน้อยไม่มีกฎเกณฑ์กำหนด หรืออาจเป็นสิ่งของที่กรุงเทพฯแจ้งความต้องการไป เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้นไทย
. โดยขนาดของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ที่ส่งมาถวาย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และฐานะความมั่งคั่งของแต่ละรัฐ ดังนั้น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เหล่านี้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องหมายความจงรักภักดีต่อประเทศราชเหล่านั้น
/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : สื่อกลางในการเลื่อนชั้นหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก ///
. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เป็นสิ่งที่เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมสูงขึ้น ทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและแสดงการยอมรับในพระราชอำนาจ โดยเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ แล้ว เช่น ขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็นเจ้าพระยาจะต้องนำพุ่มไม้เงิน พุ่มไม้ทอง ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย หลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการแล้ว พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทองคู่นี้จะนำมาใส่แจกัน อาจเป็นแจกันแก้วเจียรนัยหรือแจกันเคลือบ แล้วแต่ฐานะของผู้ที่ได้บรรดาศักดิ์
. จะเห็นได้ว่า “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” นอกจากจะใช้เป็นเครื่องพุทธบูชา ไว้สักการบูชาเนื่องในพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อเป็นของขวัญของกำนัล เชื่อมสัมพันธไมตรีก่อนจะถูกกำหนดให้เป็นเครื่องบรรณาการจากเมืองเจ้าของประเทศราช หลังจากนั้นเจ้าเมืองประเทศราชได้นำไปใช้ในการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักเพื่อแสดงการยอมรับพระราชอำนาจอีกด้วย
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ที่มา : - เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง. (2561) ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง - ดอกไม้บรรณาการ: จากสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพสู่ภาพตัวแทนอำนาจการปกครอง. วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม หน้า 29-60.
- สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี. (2556). ต้นไม้ทองต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม.
- สินชัย กระบวนแสง และวรรณิสิริ นุ่นสุข. (2545). การศึกษาคติในการบูชาพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช: กรณีดอกไม้เงินดอกไม้ทอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้นำตัวอย่างดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ที่จัดแสดงอยู่ ณ ห้องโบราณวัตถุที่พบในฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ
. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองทั้ง 4 รายการนี้ แม้จะเป็นสิ่งของที่มีขนาดเล็ก แต่ก็แสดงถึงความศรัทธาและฝีมือของช่างในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
#ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง
. ดอกไม้ เป็นสิ่งที่มีความสวยงาม กลิ่นหอม มีความบริสุทธิ์และควรค่าแก่การบูชา ดังนั้นคนในสมัยโบราณจึงนำเอาดอกไม้มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องสักการะสูงสุด และที่สำคัญคติความเชื่อของชาวล้านนา ที่เชื่อกันว่าดอกไม้เป็นสิ่งที่มีชีวิตเหมือนกับมนุษย์ ดังนั้นจึงพึงได้รับอานิสงส์จากการอุทิศตนถวายเป็นพุทธบูชาด้วย
. ในวันนี้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จะขอพาทุกท่านไปรู้จักกับดอกไม้ที่ใช้เป็นเครื่องสักการะในพุทธศาสนาอีกประเภทหนึ่ง คือ “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” ค่ะ ตามมานะคะ
"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง คืออะไร?? ///
. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” เป็นการจำลองรูปลักษณะของดอกไม้จริงให้กลายเป็นดอกไม้ประดิษฐ์ด้วยทองและเงิน เพื่อความคงทนสำหรับสักการบูชาศาสนสถานหรือศาสนวัตถุทางพระพุทธศาสนา
. “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป เช่น ล้านนา เรียกว่า “ดอกไม้เงินดอกไม้คำ” ทางมลายู เรียกว่า “บุหงามาสดานเประ” (Bunga Mas DanPerak) เป็นต้น
. ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ “ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง” ไว้ว่า “เครื่องราชบรรณาการที่ทำเป็นต้นไม้เงินต้นไม้ทองเป็นคู่ ซึ่งเมืองขึ้นส่งมาถวายแก่พระเจ้าแผ่นดินทุกๆ ๓ ปี” หรือ “เครื่องสักการะที่เจ้านายหรือขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์ตั้งแต่เจ้าพระยาขึ้นไปถวายพระเจ้าแผ่นดินเมื่อได้รับสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมให้สูงขึ้น หรือเมื่อได้รับพระราชทานตั้งยศ” โดยจะนิยามใน ๒ ประเด็นหลัก คือ เป็นเครื่องบรรณาการ และ สื่อกลางในการเลื่อนชั้นและตำแหน่งหน้าที่เท่านั้น
/// ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง : เครื่องสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ///
. ปรากฏหลักฐานแรกสุดจากการขุดค้นทางโบราณคดีในเมืองตักกสิลา (ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ประเทศปากีสถานในปัจจุบัน) ในสถูปซึ่งมีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๓ – ๖ พบหลักฐานทางโบราณคดีที่เป็นอูบหรือผอบประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ บรรจุดอกไม้ประดิษฐ์ที่ใช้วัตถุดิบเป็นทองคำและเงิน เนื่องจากมีมูลค่าและคุณค่าสูง ประกอบกับคงทนถาวรกว่าแร่ธาตุชนิดอื่น ๆ
. ทั้งนี้เมืองตักกสิลาและบริเวณอื่นๆของอินเดียหลายแห่งเป็นศูนย์กลางทางพุทธศาสนาและระบบเครือข่ายทางการค้า ส่งผลให้คติความเชื่อทางพระพุทธศาสนาจากตักกสิลาส่งอิทธิพลแนวคิดดังกล่าว เข้ามาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผ่านเส้นทางการค้า โดยเริ่มจากบริเวณคาบสมุทรมลายูก่อนเผยแพร่เข้าไปทางภาคใต้ของไทย กับอีกเส้นทางหนึ่งคือจากอินเดียเข้าสู่พม่า ล้านนา และเข้ามาสู่สยาม
. ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ในวโรกาสเจริญพระชนพรรษาครบ ๓๒ พรรษา เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๓๘ ทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ โดยอัญเชิญพระบรมอัฐิขึ้นประดิษฐานบนบุษบกทองคำ และใช้ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน ล้อมบุษบก
นอกจากนี้คนในอดีตนิยมถวายต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน เป็นเครื่องสักการบูชาพระรัตนตรัย เช่น ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๔ เสด็จยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงถวายต้นไม้ทองต้นไม้เงินเป็นพุทธบูชาแด่องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร
/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : เครื่องราชบรรณาการจากหัวเมืองประเทศราช ///
. ในสมัยรัตนโกสินทร์ หัวเมืองประเทศราชของไทย เช่น เมืองหล่ม เมืองหลวงพระบาง เมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เขมร ชนกลุ่มต่างๆทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ(กะเหรี่ยง) มลายู (ไทรบุรี ปัตตานี กลันตัน และตรังกานู) จะต้องส่งต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง พร้อมด้วยเครื่องราชบรรณาการมายังกรุงเทพฯ ทุกๆ ๓ ปี หรือทุกปี ที่เป็นทั้งเงินทองหรือผลิตผลในท้องถิ่นมากน้อยไม่มีกฎเกณฑ์กำหนด หรืออาจเป็นสิ่งของที่กรุงเทพฯแจ้งความต้องการไป เพื่อแสดงความสวามิภักดิ์และการยอมเป็นเมืองขึ้นไทย
. โดยขนาดของต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง ที่ส่งมาถวาย จะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่และฐานะความมั่งคั่งของแต่ละรัฐ ดังนั้น ต้นไม้เงิน ต้นไม้ทอง หรือ ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เหล่านี้ จึงเปรียบเสมือนเครื่องหมายความจงรักภักดีต่อประเทศราชเหล่านั้น
/// ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง : สื่อกลางในการเลื่อนชั้นหรือบรรดาศักดิ์ของขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนัก ///
. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง เป็นสิ่งที่เจ้านายหรือพระบรมวงศานุวงศ์ที่ได้รับการสถาปนาให้ทรงกรมหรือเลื่อนกรมสูงขึ้น ทูลเกล้าฯถวายพระมหากษัตริย์ เพื่อแสดงความจงรักภักดีและแสดงการยอมรับในพระราชอำนาจ โดยเป็นธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ แล้ว เช่น ขุนนางที่ได้รับบรรดาศักดิ์สูงขึ้นเป็นเจ้าพระยาจะต้องนำพุ่มไม้เงิน พุ่มไม้ทอง ขึ้นทูลเกล้าฯถวาย หลังจากที่ได้มีพระบรมราชโองการแล้ว พุ่มไม้เงินพุ่มไม้ทองคู่นี้จะนำมาใส่แจกัน อาจเป็นแจกันแก้วเจียรนัยหรือแจกันเคลือบ แล้วแต่ฐานะของผู้ที่ได้บรรดาศักดิ์
. จะเห็นได้ว่า “ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง” นอกจากจะใช้เป็นเครื่องพุทธบูชา ไว้สักการบูชาเนื่องในพุทธศาสนาแล้ว ยังเป็นสิ่งที่ใช้เพื่อเป็นของขวัญของกำนัล เชื่อมสัมพันธไมตรีก่อนจะถูกกำหนดให้เป็นเครื่องบรรณาการจากเมืองเจ้าของประเทศราช หลังจากนั้นเจ้าเมืองประเทศราชได้นำไปใช้ในการเลื่อนชั้นเลื่อนตำแหน่งให้แก่ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในราชสำนักเพื่อแสดงการยอมรับพระราชอำนาจอีกด้วย
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
ที่มา : - เกรียงไกร ฮ่องเฮงเส็ง. (2561) ดอกไม้เงินดอกไม้ทอง - ดอกไม้บรรณาการ: จากสัญลักษณ์แห่งมิตรภาพสู่ภาพตัวแทนอำนาจการปกครอง. วารสารไทยศึกษา ปีที่ 14 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม - ธันวาคม หน้า 29-60.
- สมศักดิ์ ฤทธิ์ภักดี. (2556). ต้นไม้ทองต้นไม้เงินสมัยรัตนโกสินทร์. กรุงเทพฯ : นิทรรศการพลังแผ่นดิน อัศจรรย์งานศิลป์แผ่นดินสยาม.
- สินชัย กระบวนแสง และวรรณิสิริ นุ่นสุข. (2545). การศึกษาคติในการบูชาพระบรมธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร อำเภอเมืองจังหวัดนครศรีธรรมราช: กรณีดอกไม้เงินดอกไม้ทอง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
. พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ได้นำตัวอย่างดอกไม้เงิน ดอกไม้ทอง ที่จัดแสดงอยู่ ณ ห้องโบราณวัตถุที่พบในฮอด จังหวัดเชียงใหม่ มาให้ทุกท่านได้ชมกันค่ะ
. ดอกไม้เงิน ดอกไม้ทองทั้ง 4 รายการนี้ แม้จะเป็นสิ่งของที่มีขนาดเล็ก แต่ก็แสดงถึงความศรัทธาและฝีมือของช่างในสมัยนั้นได้เป็นอย่างดีค่ะ
แล้วพบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้านะคะ
""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.
(หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
e-mail : cm_museum@hotmail.com
สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308
For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+
(จำนวนผู้เข้าชม 7110 ครั้ง)