จิตรกรรมล้านนา
ตอน จิตรกรรมล้านนา
๐ สวัสดีค่าาา กลับมาพบกันอีกครั้งกับสาระความรู้จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ในวันนี้ เราขอเสนอองค์ความรู้ เรื่อง “จิตรกรรมล้านนา”
๐ จิตรกรรมและภาพลายเส้นของล้านนานั้น อาจกล่าวได้ว่าเป็นศิลปะการช่างที่มีความสำคัญ และน่าสนใจมากที่สุดแขนงหนึ่ง เพราะนอกจากจะเป็นสิ่งที่สร้างขึ้น เพื่อตอบสนองต่อเงื่อนไขการดำรงอยู่ของสังคมล้านนาในอดีตแล้ว ยังสามารถบ่งบอกถึงคติความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ อีกด้วย เทคนิคและวิธีการตลอดจนการแสดงออกของศิลปะ บ่งบอกถึงงานช่าง ความรู้สึกนึกคิด และการติดต่อ สัมพันธ์กับสังคม วัฒนธรรมอื่น อีกทั้งยังมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดีอีกด้วย
๐ เนื่องจากจิตรกรรมฝาผนังในดินแดนล้านนานั้นมีมากมายหลายแห่ง พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงคัดเลือก “จิตรกรรมฝาผนังที่โดดเด่นของล้านนา” จำนวน ๘ แห่ง มานำเสนอให้กับแฟนเพจทุกๆท่านค่ะ โดยเราจะแบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ตอนค่ะ
---------------------------------------
(ตอนที่ ๑)
- วัดอุโมงค์ (สวนพุทธธรรม) จังหวัดเชียงใหม่ : จิตรกรรมช่วงพุทธศาสนารุ่งเรืองในอาณาจักรล้านนา พุทธศตวรรษที่ ๒๐-๒๑
- วิหารน้ำแต้ม วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง : จิตรกรรมสกุลช่างลำปาง พุทธศตวรรษที่ ๒๒-๒๔
- วิหารวัดบวกครกหลวง อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ : ฝีมือช่างไทใหญ่ ครึ่งแรกพุทธศตวรรษที่ ๒๕
----------------------------------------
๐โปรดติดตามตอนต่อไป...
----------------------------------------
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่
เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.
โทรศัพท์ : ๐๕๓-๒๒๑๓๐๘
(จำนวนผู้เข้าชม 25198 ครั้ง)