...

ด้านความรู้อื่นๆ
ซุ้มประตูป่า

"ซุ้มประตูป่า". ซุ้มประตูป่า หมายถึง ปากทางที่จะเข้าสู่ป่า ซึ่งมักจะปรากฏอยู่เป็นเสา ตั้งอยู่ที่ชายหมู่บ้าน ขนาบทางเดินที่จะเข้าป่า ซึ่งมักจะเป็นส่วนประดับอยู่ระหว่างเสาทั้งคู่ ใช้เป็นบริเวณที่ประกอบพิธีกรรมสำหรับหมู่บ้าน. ชาวล้านนาจะเตรียมจัดตกแต่งประตูบ้านและประตูวัด ด้วยซุ้มประตูป่า โดยการนำต้นกล้วย ใบมะพร้าว ต้นอ้อย โคมหูกระต่าย โคมเงี้ยวหรือโคมชนิดอื่นๆ ดอกไม้ต่างๆ ตกแต่งเป็นซุ้มประตูป่าอย่างงดงาม เพื่อเป็นเครื่องสักการะถวายการต้อนรับพระเวสสันดรในวันยี่เป็ง ครั้งเสด็จออกจากป่าเข้าสู่เมือง ซึ่งปรากฏในเวสสันดรชาดก อันเป็นชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะประสูติเป็นพระพุทธเจ้า และเชื่อกันว่าถ้าใครตกแต่งซุ้มประตูป่าได้งดงาม อาจทำให้พระเวสสันดรเสด็จหลงเข้ามาในซุ้มประตูป่าที่จำลองเป็นป่าหิมพานต์ภายในบ้านของของเรา จะทำให้ได้อานิสงส์อย่างมาก. การสร้างซุ้มประตูป่า นอกจากมีคติความเชื่อ ในเรื่องการต้อนรับการเสด็จกลับจากป่าของพระเวสสันดรแล้ว ยังเป็นซุ้มที่ใช้จุดผางประทีป เพื่อบูชาพระเจ้าห้าพระองค์ โดยจุดไว้ในโคมหูกระต่าย อีกทั้งยังมีโคมชนิดอื่นๆ ที่ใช้ในการประดับตกแต่งอีกด้วย""""""""""""""""""""""""""""""". เอกสารอ้างอิงมณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.. ภาพถ่าย โดย คุณกานต์ธีรา ไชยนวล"""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+

โคมยี่เป็ง

. ในช่วงนี้เป็นช่วงที่กำลังจะเข้าสู่ 'ประเพณียี่เป็ง' ของล้านนาค่ะ จะเห็นได้ว่าตามวัดและบ้านเรือนต่างๆ เริ่มประดับประดาโคมไฟหลากหลายสีสัน ก่อให้เกิดเป็นภาพงดงามซึ่งจะมีโอกาสได้เห็นกันในช่วงประเพณีนี้เท่านั้นค่ะ. ประเพณียี่เป็ง หรือประเพณีเดือนยี่ เป็นประเพณีเก่าแก่ของล้านนาที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ ๑๔ โดยคำว่า “ยี่” แปลว่า สอง “เป็ง” แปลว่า เพ็ญ หรือ คืนพระจันทร์เต็มดวง ซึ่งหมายถึงประเพณีในวันเพ็ญเดือนสองของชาวล้านนานั้นเอง. กิจกรรมอีกหนึ่งอย่างที่ชาวล้านนานิยมทำกันในวันนี้คือ การจุดผางประทีปและโคมไฟบูชาพระพุทธเจ้า 5 พระองค์ และอธิษฐานขอพรเสริมความเป็นสิริมงคลแก่ตนเองค่ะ . พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ จึงขอพาทุกๆท่านไปทำรู้จักกับ”โคมยี่เป็ง : มนต์เสน่ห์แห่งล้านนา ” พร้อมกับเก็บภาพบรรยายงานประเพณียี่เป็งของเชียงใหม่ในปีนี้ค่ะ มาฝากทุกๆท่านค่ะ """"""""""""""""""""""""/// ความหมายของโคม ///. “โคม” หรือ ภาคเหนือออกเสียงว่า “โกม” หมายถึง ตะเกียง หรือ เครื่องโคมไฟ ซึ่งมีบังลม อาจทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม, แปดเหลี่ยม, วงกลม หรือทรงอื่นๆ หิ้วหรือแขวน ตามที่ต่างๆ เพื่อให้แสงสว่างโดยตรงและเป็นเครื่องบูชาสิ่งที่เคารพนับถือ/// ความสำคัญและความเชื่อของการจุดโคมยี่เป็ง ///. “โคม” เป็นงานหัถตกรรมพื้นบ้าน ที่ได้รับการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ให้คงอยู่สืบต่อจนถึงปัจจุบันในภาคเหนือ ซึ่งชาวล้านนาใช้เพื่อสักการบูชาพระพุทธเจ้า ในคืนวันเพ็ญเดือนสิบสอง โดยเชื่อกันว่าแสงประทีปจากโคมจะช่วยส่องประกายให้ดำเนินชีวิตเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข. นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า การปล่อยโคมขึ้นบนท้องฟ้า เป็นการลอยเคราะห์ลอยนาม โคมที่ปล่อยขึ้นไปนั้นก็เพื่อจะให้ลอยขึ้นไปบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสรวงสรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจออีกด้วยค่ะ /// ประเภทของโคมยี่เป็ง /// มีหลักๆอยู่ 4 ประเภท ได้แก่--- 1.โคมถือ. โคมถือ คือ โคมที่มีกำบังทำด้วยกระดาษสี มี 2 แบบ คือ “โคมหูกระต่าย” จะมีลักษณะคล้ายหูกระต่าย มักใช้ถือไปเดินขบวนแห่งานลอยกระทง ข้างในโคมจะจุดเทียนไขไว้ เมื่อเดินขบวนเสร็จแล้ว ก็จะนำไปปักไว้บริเวณรอบๆ โบสถ์ วิหาร หรือ สถานที่มีงานพิธีกรรม ส่วนอีกแบบคือ “โคมกลีบบัว” มีลักษณะคล้ายกลีบบัว มีด้ามไม้ใช้ถือคล้ายๆเป็นก้านดอกบัว เมื่อแห่ขบวนเสร็จแล้วมักจะนำไปบูชาพระประธานในพระวิหาร--- 2.โคมลอย. โคมลอย คือ โคมที่จุดแล้วปล่อยให้ลอยไปในอากาศ มีลักษณะเป็นรูปถุงทรงกระบอก ก้นใหญ่ปากแคบ ทำด้วยกระดาษว่าว โคมลอยที่ปล่อยขึ้นไปนั้น เชื่อกันว่าจะให้ลอยขึ้นไป เพื่อบูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์อันเป็นที่บรรจุพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีจอ หรือเพื่อบูชาแก่เจ้าผู้ใช้กำเนิดของตนบนสวรรค์ ที่เรียกว่า "พ่อเกิดแม่เกิด" --- 3.โคมแขวน. โคมแขวน คือ โคมที่ใช้แขวนบนหลักหรือขื่อ นิยมแขวนในวิหาร โบสถ์ หรือทำค้างไม้ไผ่ชักรอกแขวนข้างโบสถ์ วิหาร เพื่อเป็นพุทธบูชา หรือใช้ตกแต่งบ้านเรือน เพื่อบูชาเทพารักษ์ ผู้รักษาหอเรือน อาคารบ้านเรือนก็ได้ โคมแขวนมีหลากหลายรูปแบบและรูปทรงที่แตกต่างกันออกไป เช่น โคมรังมดส้ม (โคมเสมาธรรมจักร), โคมดาว โคมไห, โคมเงี้ยว (โคมเพชร), โคมกระบอก เป็นต้น--- 4. โคมผัด. โคมผัด คือ โคมที่มีภาพไว้ตรงที่ครอบ เมื่อจุดไฟแล้วที่ครอบนั้นจะหมุน ทำให้เงาของภาพสะท้อนบนพื้นผนัง บอกเล่าเรื่องราวภาพในตัวโคมได้ มักนิยมทำเป็นรูป 12 ราศี. โคมผัด เป็นภาษาพื้นเมือง คำว่า "ผัด" แปลว่า หมุนหรือเวียนไปรอบ ดังนั้น โคมผัดคือโคมที่มีลักษณะหมุนไปรอบๆ หรือเวียนไปรอบๆ เมื่อจุดไฟในโคมก็จะเกิดอากาศร้อนลอยสูงขึ้น อากาศเย็นจะเวียนเข้ามาแทนที่ ทำให้เกิดเป็นกระแสอากาศเบาๆ พัดให้โคมหมุนไปรอบๆทำให้ตัวโคมที่ติดรูปภาพต่างๆ หมุนไปเกิดการสะท้อนของภาพไปตกอยู่ที่ตัวโคม ซึ่งเป็นฉากอยู่ทำให้เกิดความสวยงาม โคมผัดจะตั้งไว้เป็นที่ ไม่เคลื่อนย้าย""""""""""""""""""""""""""". “โคม” กับงานประเพณียี่เป็ง ถือได้ว่าเป็นของคู่กัน แต่ก่อนชาวล้านนามีโคมใช้ไม่แพร่หลายมากนัก จุดประสงค์ของการใช้สอยของโคมไฟโบราณทำขึ้นเพื่อใช้เป็น ตะเกียง หรือสิ่งประดิษฐ์ สำหรับจุดไฟให้สว่าง แต่ด้วยเหตุผลที่น้ำมันมีราคาแพง ประเพณีการจุดโคมแต่เดิมจึงมักมีเฉพาะในพระราชสำนักและบ้านเรือน ของเจ้านายใหญ่โต เท่าที่ผ่านมาชาวล้านนาจะใช้โคมไฟในฐานะของเครื่องใช้ในครัวเรือนและเครื่องใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น. ในปัจจุบันโคมไฟถูกนำไปใช้อย่างหลากหลาย เช่น ตกแต่ง บ้านเรือน โรงแรม รีสอร์ท วัด สถานที่ราชการ และเอกชน เพื่อความสวยงามดูบรรยากาศสบายๆแบบล้านนา และเสริมความเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้าน ซึ่งชาวล้านนาเชื่อว่า การจุดโคมไฟนั้น จะนำความเจริญรุ่งเรืองและความสุขมาให้กับตนและครอบครัวต่อไป--------------------------. ช่วงนี้อากาศในเชียงใหม่กำลังดีเลยค่ะ ยิ่งช่วงเวลากลางคืน ลมหนาวเย็นๆพัดมา บวกกับบรรยากาศแสงเทียนจากโคมยี่เป็งและจากผางประทีปตามอาคารบ้านเรือนต่างๆ ก่อให้เกิดเป็นภาพที่งดงามจริงๆค่ะ . ทางพิพิธภัณฑ์ของเราเลยเก็บภาพสวยๆมาฝากทุกๆท่าน หากมีโอกาสแวะมาเที่ยวประเพณียี่เป็งที่จังหวัดเชียงใหม่ได้นะคะ พบกันใหม่ในองค์ความรู้รอบหน้าค่ะ ---------------------------/ เอกสารอ้างอิง /มณี พยอมยงค์. (๒๕๔๗). ประเพณีสิบสองเดือนล้านนาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุงเพิ่มเติม). เชียงใหม่ : ส.ทรัพย์การพิมพ์.ศรีเลา เกษพรหม. (๒๕๔๒). ล่องสะเพา. ใน สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ (เล่ม ๑๑, หน้า ๕๘๕๐-๕๘๕๐). กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.สงวน โชติสุขรัตน์. (๒๕๑๑). ประเพณีไทย ภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.https://lampssky.com/โคมล้านนามรดกของชาวเหนือ เข้าถึงเมื่อ 12 พ.ย. 2564/ ภาพประกอบ / คุณกานต์ธีรา ไชยนวล และ คุณวรรณพร ปินตาปลูก""""""""""""""""""""""""""""""""""""""พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น.e-mail: cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308For more information, please leave your message via inbox or call: +66 5322 1308+

เครื่องถ้วยเวียงแก้ว จากวัตถุสู่พัฒนาการวังหลวงแห่งเวียงเชียงใหม่

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ขอเชิญชวนทุกท่านเยี่ยมชมนิทรรศการพิเศษ เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย เรื่อง "เครื่องถ้วยเวียงแก้ว จากวัตถุสู่พัฒนาการวังหลวงแห่งเวียงเชียงใหม่" โดย พิพิธภัณฑ์ของเราได้รวบรวมเครื่องถ้วยที่พบจากการขุดค้นในแหล่งโบราณคดีเวียงแก้ว ทั้งเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หยวน ราชวงศ์หมิง ราชวงศ์ชิง และสมัยสาธารณรัฐจีน เครื่องถ้วยจากญี่ปุ่นและเวียดนาม รวมถึงเครื่องถ้วยจากแหล่งเตาในภาคเหนือที่ร่วมสมัยกับอาณาจักรล้านนา นำมาจัดแสดงให้ทุกท่านได้เข้าชมตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564 ณ อาคารจัดแสดงชั้น 2 พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ ค่ะ.......................................................................................................................................พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.comสอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308........................................................................................................................................Chiang Mai National Museum proudly presents a temporary exhibition"Wiang Kaew Potteries: From pieces to palace"Our museum exhibits special pieces of potteries that were found at the Wiang Kaew excavation site, such as Chinese ceramics from the Yuan Dynasty, Ming Dynasty, Qing Dynasty, and the Republic of China. Joined with the Vietnamese, Japanese ceramics, and potteries from northern Thailand's kilns which are contemporary aged in Lan - Na period. This special exhibition starts from 1 September - 31 December 2021 on the second floor of the exhibition building, Chiang Mai National Museum..........................................................................................................................................Chiang Mai National MuseumOpen: Wednesday - Sunday 09.00 AM. - 04.00 PM.Closes: Monday - Tuesday and public holidaysContact us: 053-221308 or inbox to our page's direct message E-mail: cm_museum@hotmail.com

วันปากปี

--- วันปากปี --- . “วันปากปี” หรือ “วันปากปี๋” วันที่สี่ของประเพณีปีใหม่เมือง จัดว่าเป็นวันสำคัญ อีกวันหนึ่ง ในเทศกาลปีใหม่ ถือเป็นวันแรกของปี (ในปี 2564 นี้ วันปากปีตรงกับวันที่ 17 เม.ย. ) . วันนี้คนล้านนาจะกินแกงขนุนกันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ช่วงสายๆชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ใจบ้านเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน บางแห่งอาจ จะต่อด้วยพิธีสืบชะตาหมู่บ้านและพากันไปขมาคารวะรดน้ำดำหัว ผู้อาวุโสประจำหมู่บ้านต่างๆ ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคล แก่ครอบครัว """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+

วันพญาวัน

--- วันพญาวัน --- “วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศกเปลี่ยนศักราช เริ่มต้นปีใหม่ (ในปี 2564 นี้ วันพญาวันตรงกับวันที่ 16 เม.ย. ) . ในวันนี้มีการทำบุญทางศาสนาตั้งแต่เช้าตรู่และอุทิศส่วนบุญกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือที่เรียกว่า “ทานขันข้าว ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำ พระพุทธรูปเจดีย์ วันนี้คนล้านนาจะทัดดอกไม้นามปี เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ชีวิต (ปี 2564 นี้ ดอกไม้นามปี คือ ดอกบุนนาค) . นอกจากนี้ วันนี้ยังเป็นวันที่นิยมเริ่มต้นเรียนศาสตร์ศิลป์ต่างๆ เช่น มนต์คาถา สักยันต์ หรือทำพิธีสืบชะตา ขึ้นบ้านใหม่ ไหว้ครู และในหลายพื้นที่ยังมีกิจกรรมแห่ไม้ค้ำศรี หรือไม้ค้ำโพธิ์ เพื่อสืบต่ออายุพระศาสนาและค้ำชูอุดหนุนให้แก่ชีวิตเจริญรุ่งเรือง """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+

วันเนาว์

--- วันเนาว์ --- . "วันเนาว์” หรือ “วันเน่า" เป็นวันที่สองของปีใหม่เมือง (ในปี 2564 นี้ วันเนาว์ตรงกับวันที่ 15 เม.ย. ) . วันนี้ยังไม่ถือว่าเป็นวันปีใหม่ เป็นช่วงที่พระอาทิตย์ยังเนาอยู่ระหว่างราศีมีนกับราศีเมษ ในแง่โหราศาสตร์ถือเป็นวันไม่ดี ไม่ส่งเสริมมงคลและเชื่อว่าหากใครด่าทอ ทะเลาะ วิวาทกัน จะทำให้เป็นอัปมงคลตลอดทั้งปี ดังนั้นวันนี้จะไม่ดุด่า ว่าร้ายให้แก่กัน . ในวันนี้เป็นวันที่จะต้องเตรียมสิ่งของต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในประเพณีปีใหม่เมือง เช่น ช่อ ตุง ข้าวตอกดอกไม้ หมากเหมี้ยง เสื้อผ้า เป็นต้น เพื่อใช้ในการทำบุญ ดำหัว ผู้มีพระคุณ ขนมที่มักนิยมทำกันในช่วงปีใหม่ ได้แก่ ข้าวหนมจ็อก ข้าววิตูหรือข้าวเหนียวแดง ข้าวต้มหัวงอก ข้าวต้มมัด ข้าวหนมจั้น ข้าวแคบ ข้าวควบ ข้าวแตน เป็นต้น . ตลอดทั้งวัน เด็กๆ คนหนุ่มสาว คนเฒ่าคนแก่ จะพากันไปขนทรายที่แม่น้ำเข้าวัด เพื่อก่อเป็นเจดีย์ทราย โดยมีคติในการกำหนดรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น ก่อเป็นเจดีย์ ทรายเล็กๆ เท่าจำนวนอายุ หรือก่อเจดีย์ทรายตามจำนวนสมาชิกในครอบครัว เมื่อก่อเสร็จ ให้นำตุงแบบต่างๆ ช่อข้าวตอก ดอกไม้ปักประดับให้สวยงามเพื่อเป็นพุทธบูชา """""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""" พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เชียงใหม่ เปิดให้บริการทุกวันพุธ – วันอาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 09.00 - 16.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์ อังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์) e-mail : cm_museum@hotmail.com สอบถามเพิ่มเติมกรุณาติดต่อผ่านกล่องข้อความ หรือ โทรศัพท์ : 053-221308 For more information, please leave your message via inbox or call : +66 5322 1308+