ผางประทีป
ประเพณียี่เป็ง
ตอนที่ ๓ : ผางประทีป
แสงสว่างส่องนำทางศรัทธาแห่งล้านนา
ผางประทีป ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก ใส่น้ำมันหรือขี้ผึ้ง มีไส้ทำมาจากเส้นฝ้าย ใช้จุดให้เกิดแสงสว่าง เพื่อสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยจุดวางตามวัดวาอารามหรือศาสนสถานในวันสำคัญทางศาสนาหรือเทศกาลสำคัญ
ก่อนถึงช่วงประเพณียี่เป็ง จะมีการนำดินเหนียวที่มีการหมักมาปั้นเป็นตัวภาชนะขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไป ในปัจจุบันมีวางขายทั่วไป มักจากมีขนาดประมาณ ๒ - ๓ เซนติเมตร จากนั้นนำมาผึ่งลมทิ้งไว้ให้พอหมาดนำไปเผา ใส่ไส้เทียน เทขี้ผึ้ง ทิ้งไว้จนขี้ผึ้งแข็งตัวเป็นอันเรียบร้อย
เมื่อถึงช่วงประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมจุดผางประทีปเป็นพุทธบูชา และใช้จุดบูชาแสดงออกถึงความเคารพผู้มีพระคุณ สักการบูชาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วย
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
๑. รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน. (๒๕๓๗). ชีวิตแสนสุขที่เชียงใหม่. กรุงเทพฯ : หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (๒๕๔๘). ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท เชียงใหม่พริ้นติ้ง จำกัด.
ตอนที่ ๓ : ผางประทีป
แสงสว่างส่องนำทางศรัทธาแห่งล้านนา
ผางประทีป ภาชนะดินเผาขนาดเล็ก ใส่น้ำมันหรือขี้ผึ้ง มีไส้ทำมาจากเส้นฝ้าย ใช้จุดให้เกิดแสงสว่าง เพื่อสักการบูชาตามความเชื่อทางพระพุทธศาสนา โดยจุดวางตามวัดวาอารามหรือศาสนสถานในวันสำคัญทางศาสนาหรือเทศกาลสำคัญ
ก่อนถึงช่วงประเพณียี่เป็ง จะมีการนำดินเหนียวที่มีการหมักมาปั้นเป็นตัวภาชนะขนาดเล็กใหญ่ต่างกันไป ในปัจจุบันมีวางขายทั่วไป มักจากมีขนาดประมาณ ๒ - ๓ เซนติเมตร จากนั้นนำมาผึ่งลมทิ้งไว้ให้พอหมาดนำไปเผา ใส่ไส้เทียน เทขี้ผึ้ง ทิ้งไว้จนขี้ผึ้งแข็งตัวเป็นอันเรียบร้อย
เมื่อถึงช่วงประเพณียี่เป็ง ชาวล้านนาจะนิยมจุดผางประทีปเป็นพุทธบูชา และใช้จุดบูชาแสดงออกถึงความเคารพผู้มีพระคุณ สักการบูชาสิ่งต่าง ๆ ที่ได้ใช้ประโยชน์ เช่น ประตูบ้าน บ่อน้ำ ยุ้งข้าว เตาไฟ บันได และยังเป็นการบูชาแสงสว่างโดยเชื่อว่าจะทำให้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด มีแสงสว่างนำทางชีวิตให้โชติช่วงชัชวาลอีกด้วย
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
๑. รุ่งวิทย์ สุวรรณอภิชน. (๒๕๓๗). ชีวิตแสนสุขที่เชียงใหม่. กรุงเทพฯ : หจก. เม็ดทรายพริ้นติ้ง.
๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. (๒๕๔๘). ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท เชียงใหม่พริ้นติ้ง จำกัด.
(จำนวนผู้เข้าชม 7209 ครั้ง)