ตั้งธัมม์หลวง
ตอนที่ ๒
ตั้งธัมม์หลวง
ท่วงทำนองบทเทศน์เล่าขานตำนานพระพุทธศาสนา
ประเพณีตั้งธัมม์หลวงของล้านนา คือประเพณีเทศน์มหาชาติทางภาคกลางที่นิยมจัดขึ้นในเดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับเดือนยี่เพ็ญ (ยี่เป็ง) ของล้านนา ในอดีตมักจะฟังเทศน์ให้จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ จากเช้าของวันหนึ่งไปจนถึงเช้าอีกวันหนึ่ง หรืออาจจะกำหนดต่อเนื่องไม่เกิน ๗ วัน ตามความสะดวกของวัดและชุมชน โดยใช้บทเทศน์เกี่ยวกับเวสสันดรชาดก พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา
การเทศน์แต่ละกัณฑ์จะเริ่มด้วยการแหล่ ซึ่งล้านนาเรียกว่ากาพย์ มี ๓ ตอน หรือ ๓ บั้ง แหล่ต้นเรียกว่า กาพย์เค้า ตอนกลางเรียกว่า กาพย์กลาง ตอนปลายหรือแหล่ส่งเรียกว่า กาพย์ปลาย โดยใช้ทำนองการเทศน์ทางล้านนาเรียกว่า ระบำ เช่น เชียงใหม่มีระบำน้ำตกตาดค่อนข้างช้า แพร่มีระบำนกเขาเหินเร็วกว่าเชียงใหม่เล็กน้อย น่านมีระบำช้างข้ามทุ่ง ช้า ๆ เนิบ ๆ เป็นต้น
การจัดงานตั้งธัมม์หลวงเป็นประเพณีที่อาศัยความร่วมมือของวัด ชุมชน ถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องเตรียมงานหลายสิ่ง ดังนั้น จึงไม่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เมื่อมีการจัดขึ้นครั้งใด ผู้คนภายในชุมชน รวมทั้งจากพื้นที่อื่นเมื่อทราบข่าวก็จะเข้าร่วมจำนวนมาก เพราะมีความเชื่อว่าจะเกิดสิริมงคลแก่ชีวิต หมดเคราะห์ บางความเชื่อหากใครได้ฟังกัณฑ์เทศน์ครบ ๑๓ กัณฑ์ จะได้ขึ้นสวรรค์
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
๑. ประคอง นิมมานเหมินท์. ๒๕๒๖. มหาชาติล้านนา : การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. ๒๕๔๘. ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท เชียงใหม่พริ้นติ้ง จำกัด.
ตั้งธัมม์หลวง
ท่วงทำนองบทเทศน์เล่าขานตำนานพระพุทธศาสนา
ประเพณีตั้งธัมม์หลวงของล้านนา คือประเพณีเทศน์มหาชาติทางภาคกลางที่นิยมจัดขึ้นในเดือน ๑๒ ซึ่งตรงกับเดือนยี่เพ็ญ (ยี่เป็ง) ของล้านนา ในอดีตมักจะฟังเทศน์ให้จบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ จากเช้าของวันหนึ่งไปจนถึงเช้าอีกวันหนึ่ง หรืออาจจะกำหนดต่อเนื่องไม่เกิน ๗ วัน ตามความสะดวกของวัดและชุมชน โดยใช้บทเทศน์เกี่ยวกับเวสสันดรชาดก พระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้มาประสูติและตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาติต่อมา
การเทศน์แต่ละกัณฑ์จะเริ่มด้วยการแหล่ ซึ่งล้านนาเรียกว่ากาพย์ มี ๓ ตอน หรือ ๓ บั้ง แหล่ต้นเรียกว่า กาพย์เค้า ตอนกลางเรียกว่า กาพย์กลาง ตอนปลายหรือแหล่ส่งเรียกว่า กาพย์ปลาย โดยใช้ทำนองการเทศน์ทางล้านนาเรียกว่า ระบำ เช่น เชียงใหม่มีระบำน้ำตกตาดค่อนข้างช้า แพร่มีระบำนกเขาเหินเร็วกว่าเชียงใหม่เล็กน้อย น่านมีระบำช้างข้ามทุ่ง ช้า ๆ เนิบ ๆ เป็นต้น
การจัดงานตั้งธัมม์หลวงเป็นประเพณีที่อาศัยความร่วมมือของวัด ชุมชน ถือเป็นงานใหญ่ที่ต้องเตรียมงานหลายสิ่ง ดังนั้น จึงไม่ได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี เมื่อมีการจัดขึ้นครั้งใด ผู้คนภายในชุมชน รวมทั้งจากพื้นที่อื่นเมื่อทราบข่าวก็จะเข้าร่วมจำนวนมาก เพราะมีความเชื่อว่าจะเกิดสิริมงคลแก่ชีวิต หมดเคราะห์ บางความเชื่อหากใครได้ฟังกัณฑ์เทศน์ครบ ๑๓ กัณฑ์ จะได้ขึ้นสวรรค์
ผู้เรียบเรียง : นายวีระยุทธ ไตรสูงเนิน นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่
อ้างอิง
๑. ประคอง นิมมานเหมินท์. ๒๕๒๖. มหาชาติล้านนา : การศึกษาในฐานะที่เป็นวรรณคดีท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพาณิช จำกัด.
๒. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่. ๒๕๔๘. ประเพณีพิธีกรรมเมืองเชียงใหม่. เชียงใหม่ : บริษัท เชียงใหม่พริ้นติ้ง จำกัด.
(จำนวนผู้เข้าชม 501 ครั้ง)