...

องก์ที่ ๙ นำราษฎร์รุ่งเรืองพัฒนาชีวิต
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๙ นำราษฎร์รุ่งเรืองพัฒนาชีวิต
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของราษฎร ทรงรับทราบถึงปัญหาของราษฎรจากการเสด็จพระราชดำเนินไปยังภูมิภาคต่าง ๆ
จึงพระราชทานความช่วยเหลือขณะเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐานและเสด็จทรงงานในพื้นที่ต่าง ๆ ทรงพระราชทานพระราชดำริจัดตั้งโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือให้ราษฎรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ดำรงชีวิตอย่างมีความสุข มีสุขภาพอนามัยที่สมบูรณ์
     โครงการตามพระราชดำริของพระองค์มีลักษณะผสมผสานระหว่างการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการพัฒนาชีวิตของราษฎรที่ยากไร้ และมีการส่งเสริมศิลปาชีพควบคู่กันอีกประการหนึ่ง ด้วยพระองค์ทรงเล็งเห็นถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์กับธรรมชาติเป็นสำคัญ
“...เราไม่สามารถที่จะมั่นใจได้ว่าสุขภาพอนามัยของคนไทยจะดีขึ้น เราต้องรักษาให้เขาหาย ให้เขาเป็นธงชัยที่พึ่ง ดูแลครอบครัวเขาได้ และก็สอนอาชีพด้วย มูลนิธิศิลปาชีพให้เขายืนได้โดยไม่ต้องพึ่งใคร...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๒๖)
“...งานของศิลปาชีพได้บรรลุเป้าหมายมากขึ้น มีสมาชิกศิลปาชีพจำนวนมากเขียนจดหมายมาจากจังหวัดต่าง ๆ รายงานว่า ขณะนี้พวกเขามีรายได้พอเลี้ยงครอบครัวแล้ว บางคนว่าสามารถส่งบุตรหลานให้เรียนต่อ บางคนมีเงินพอซ่อมแซมต่อเติมบ้านได้ บ้างก็ซื้อวัวควายสัตว์เลี้ยงเพิ่ม ทั้งนี้ก็เพราะมูลนิธิได้รับการสนับสนุนทั้งจากประชาชนและจากจากรัฐบาลตลอดมา จึงสามารถบรรลุเป้าหมายที่สำคัญของมูลนิธิศิลปาชีพได้...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๑)
“...จุดเริ่มต้นของศิลปาชีพนั้นมาจากพระราโชบายของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวด้วยมีพระราชประสงค์จะสนับสนุนให้ราษฎรในหมู่บ้านที่ห่างไกลจากการคมนาคม มีการพัฒนาตนเองและพึ่งตนได้ในหมู่บ้าน เรียกกันว่า หมู่บ้านเบ็ดเสร็จทรงช่วยเหลือทางด้านแหล่งน้ำ ด้านการเกษตร ให้ชาวบ้านสามารถปลูกข้าว ปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ มีธนาคารข้าวในหมู่บ้าน...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓)
“...ระหว่างที่พระองค์ท่านทรงพระราชดำเนินไปตามไร่นานั้น ข้าพเจ้าก็จะอยู่กับราษฎรที่มารับเสด็จฯ ได้มีโอกาสพูดคุยซักถามเรื่องสุขภาพอนามัยและความเป็นอยู่ต่าง ๆ ของราษฎร จากความคุ้นเคยใกล้ชิดกับราษฎรนี้เอง ข้าพเจ้าจึงได้พบความสามารถที่แฝงอยู่ในตัวของคนไทย ทุกวันนี้ลูกหลานของชาวนาชาวไร่ผู้ยากจนและการศึกษาน้อย กลับมาเป็นผู้จรรโลงรักษาศิลปะของบ้านเมืองเราไว้ได้อย่างยอดเยี่ยม...”
(พระราชดำรัสพระราชทานในโอกาสที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทูลเกล้าฯ ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท วันที่ ๑๘ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๔)
“...การช่วยเหลืออะไรก็ไม่ดีเท่าที่ทำให้ประชาชนมีงานทำ มีความหวัง สามารถรักษาเกียรติยศของตัวเองได้ หมายความว่า ความภาคภูมิใจในตัวเองที่เขาสามารถหาเงินมาเลี้ยงครอบครัวด้วยความรู้ความสามารถของเขาเอง...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันอาทิตย์ ที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๕)
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑.  สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.  ๒๕๖๐.  ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน.  กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.  
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.  
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.

(จำนวนผู้เข้าชม 245 ครั้ง)


Messenger