องก์ที่ ๗ พัฒนาศาสตร์ศิลป์ภูมิปัญญา
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๗ พัฒนาศาสตร์ศิลป์ภูมิปัญญา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประจักษ์ว่าคนไทยมีศักยภาพสูงในด้านศิลปหัตถกรรมและทรงประจักษ์ในคุณประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับความงดงามของศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น จึงทรงริเริ่มให้ฟื้นฟู พัฒนางานฝีมือพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีรายได้นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านทั่วทุกภูมิภาคมิให้สูญหายและเผยแพร่ฝีมือช่างของคนไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงพร้อมใจกันทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลและน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านในฐานะที่ทรงอุปถัมภ์งานศิลปะของแผ่นดินไทยไว้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ทั้งยังนำไปสู่การสร้างสรรค์งานอาชีพแก่ราษฎร สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเพียงพอ
เหรียญทองโบโรพุทโธ
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองโบโรพุทโธ (UNESCO BOROBUDUR GOLD MEDAL) เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่ทรงส่งเสริมศิลปะและการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะงานศิลปาชีพด้านหัตถกรรมสิ่งทอ งานอนุรักษ์ฟื้นฟูผ้าไหมไทยมิให้สูญหาย เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง
องค์เอกอัครอุปถัมภ์ มรดกช่างศิลป์ไทย
คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “องค์เอกอัครอุปถัมภ์ มรดกช่างศิลป์ไทย” มีความหมายว่า ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ที่อนุรักษ์มรดกช่างศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ ด้วยทรงสนับสนุนการสร้างสรรค์งานช่างอันเป็นหัตถศิลป์ นับว่าได้พระราชทานอนาคตแก่งานช่างศิลป์และโอกาสให้คนรุ่นเก่าได้ถ่ายทอดวิชาการของตนสู่คนรุ่นใหม่ให้รู้คุณค่างานศิลปะที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ
รางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์
คณะกรรมการหม่อนไหมระหว่างประเทศ (International Sericultural Commission) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และศึกษาพัฒนาการผลิตไหมไทยจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ตลอดจนอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมสนับสนุนผ้าไหมไทย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สามารถช่วยให้ราษฎรผู้ผลิตไหมไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
กรมหม่อนไหม
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ มีการยกฐานะสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติขึ้นเป็นกรมหม่อนไหม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนองพระราชประสงค์ในการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไหมไทย ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและงานหัตถกรรมไหมไทย รวมทั้งพัฒนางานวิชาการด้านหม่อนไหมให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรสืบไป
พระมารดาแห่งไหมไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งไหมไทย” เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ เพื่อประกาศเกียรติคุณและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการไหมไทย ด้วยพระองค์ทรงให้ความสำคัญและทรงส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ราษฎร สนับสนุนอาชีพด้านหัตถกรรมทอผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมในทุกโอกาส และทรงงานด้านหม่อนไหมด้วยพระวิริยะอุตสาหะมาโดยตลอด
อัคราภิรักษศิลปิน
กระทรวงวัฒนธรรมในนามคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัคราภิรักษศิลปิน” มีความหมายว่า “ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักรักษางานศิลปะ” เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา สร้างสรรค์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปะของแผ่นดินให้เจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
องก์ที่ ๗ พัฒนาศาสตร์ศิลป์ภูมิปัญญา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงประจักษ์ว่าคนไทยมีศักยภาพสูงในด้านศิลปหัตถกรรมและทรงประจักษ์ในคุณประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติ ประกอบกับความงดงามของศิลปวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น จึงทรงริเริ่มให้ฟื้นฟู พัฒนางานฝีมือพื้นบ้านในแต่ละภูมิภาคขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรให้มีรายได้นอกเหนือจากอาชีพเกษตรกรรม ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านทั่วทุกภูมิภาคมิให้สูญหายและเผยแพร่ฝีมือช่างของคนไทยให้เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงพร้อมใจกันทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลและน้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญาแด่พระองค์ท่านในฐานะที่ทรงอุปถัมภ์งานศิลปะของแผ่นดินไทยไว้เป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ทั้งยังนำไปสู่การสร้างสรรค์งานอาชีพแก่ราษฎร สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้อย่างเพียงพอ
เหรียญทองโบโรพุทโธ
องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเหรียญทองโบโรพุทโธ (UNESCO BOROBUDUR GOLD MEDAL) เมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานะที่ทรงส่งเสริมศิลปะและการสร้างสรรค์ โดยเฉพาะงานศิลปาชีพด้านหัตถกรรมสิ่งทอ งานอนุรักษ์ฟื้นฟูผ้าไหมไทยมิให้สูญหาย เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้มีรายได้เลี้ยงตนเอง
องค์เอกอัครอุปถัมภ์ มรดกช่างศิลป์ไทย
คณะกรรมการอำนวยการวันอนุรักษ์มรดกไทย น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “องค์เอกอัครอุปถัมภ์ มรดกช่างศิลป์ไทย” มีความหมายว่า ทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ที่ยิ่งใหญ่ที่อนุรักษ์มรดกช่างศิลป์ไทยแขนงต่าง ๆ
เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๖ ด้วยทรงสนับสนุนการสร้างสรรค์งานช่างอันเป็นหัตถศิลป์ นับว่าได้พระราชทานอนาคตแก่งานช่างศิลป์และโอกาสให้คนรุ่นเก่าได้ถ่ายทอดวิชาการของตนสู่คนรุ่นใหม่ให้รู้คุณค่างานศิลปะที่ตกทอดมาแต่บรรพบุรุษ
รางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์
คณะกรรมการหม่อนไหมระหว่างประเทศ (International Sericultural Commission) ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายรางวัลหลุยส์ ปาสเตอร์ เมื่อวันที่ ๒๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๕๔๕ ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล
ด้วยพระอัจฉริยภาพและพระปรีชาสามารถด้านการอนุรักษ์และศึกษาพัฒนาการผลิตไหมไทยจนเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก ตลอดจนอนุรักษ์ภูมิปัญญาทางศิลปวัฒนธรรม ส่งเสริมสนับสนุนผ้าไหมไทย ซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สามารถช่วยให้ราษฎรผู้ผลิตไหมไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สร้างรายได้ สร้างอาชีพที่มั่นคง และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน
กรมหม่อนไหม
เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๕๒ มีการยกฐานะสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติขึ้นเป็นกรมหม่อนไหม ในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อสนองพระราชประสงค์ในการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมภูมิปัญญาไหมไทย ส่งเสริมและสนับสนุนอาชีพปลูกหม่อนเลี้ยงไหมและงานหัตถกรรมไหมไทย รวมทั้งพัฒนางานวิชาการด้านหม่อนไหมให้เป็นประโยชน์แก่เกษตรกรสืบไป
พระมารดาแห่งไหมไทย
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “พระมารดาแห่งไหมไทย” เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๕๕ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ เพื่อประกาศเกียรติคุณและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อวงการไหมไทย ด้วยพระองค์ทรงให้ความสำคัญและทรงส่งเสริมอาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมแก่ราษฎร สนับสนุนอาชีพด้านหัตถกรรมทอผ้าไหมลวดลายต่าง ๆ ทรงฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมในทุกโอกาส และทรงงานด้านหม่อนไหมด้วยพระวิริยะอุตสาหะมาโดยตลอด
อัคราภิรักษศิลปิน
กระทรวงวัฒนธรรมในนามคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายพระราชสมัญญา “อัคราภิรักษศิลปิน” มีความหมายว่า “ศิลปินยิ่งใหญ่ผู้ปกปักรักษางานศิลปะ” เมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๕๕๕ เพื่อเฉลิมพระเกียรติเนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๕ และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู รักษา สร้างสรรค์ ส่งเสริม สืบทอด และพัฒนามรดกทางศิลปะของแผ่นดินให้เจริญรุ่งเรืองอย่างต่อเนื่อง เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 514 ครั้ง)