องก์ที่ ๖ นำพัสตราไทยแผ่ไกลทั่วแดนดิน
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๖ นำพัสตราไทยแผ่ไกลทั่วแดนดิน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงส่งเสริมและอนุรักษ์การทอผ้าไหมและผ้าทอพื้นเมืองศิลปะแบบไทย ทรงเป็นผู้นำในการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่เสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนทั่วไป
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ประจักษ์ในคุณค่าและความงดงามของผลิตภัณฑ์
พระองค์ทรงเผยแพร่ผลงานการผลิตผ้าไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลงานศิลปาชีพออกสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งนี้ในส่วนของการเผยแพร่ภายในประเทศ ทรงดำเนินการตั้งร้านศิลปาชีพขึ้นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงผลงานศิลปาชีพ และการส่งผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าและงานแสดงสินค้า ในส่วนของการเผยแพร่แก่ชาวต่างประเทศ ทรงพระราชทานผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพเป็นของขวัญแก่พระราชอาคันตุกะ พระอาคันตุกะ และบุคคลสำคัญที่เป็นชาวต่างประเทศ ทั้งยังเผยแพร่โดยการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศหลายครั้ง เพื่อให้นักธุรกิจและประชาชนในประเทศนั้น ๆ ได้มีโอกาสชื่นชมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากฝีมือ
คนไทย
ผ้าปักชาวไทยภูเขา
ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่ราษฎรชาวไทยภูเขา เพื่อพลิกฟื้นการดำรงชีพแบบใหม่ด้วยต่อยอดงานหัตถกรรมประจำท้องถิ่นจนสามารถสร้างรายได้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวไทยภูเขาในประเทศไทยทุกชาติพันธุ์ผลิตงานฝีมือผ้าปักทั้งที่เป็นแบบปักไขว้ ปักลูกโซ่ ปักปะ เย็บริมแถบผ้าต่อกันเป็นผืน หรือเย็บเป็นเชือกหลากสี นอกจากนี้ ยังมีผ้าทอ ผ้าปักประดับเหรียญเงิน ลูกปัดเงินและลูกเดือย สะท้อนถึงวัฒนธรรมและกรรมวิธีในการสร้างสรรค์บนผืนผ้าแตกต่างกันในแต่ละชนเผ่าได้อย่างชัดเจน
ผ้าไหมยกดอกลำพูน
เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ทรงมีพระราชดำริให้นำผ้าไหมยกดอกลำพูนมาตัดเย็บชุดประจำชาติ สำหรับทรงในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ซึ่งผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นผ้าไหมที่ใช้เทคนิคการทอยกเป็นลวดลายให้นูนสูงขึ้น โดยการใช้กี่พื้นเมือง ลวดลายที่ทอส่วนมากเป็นลายดอกไม้ ถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้ายกลำพูนและเป็นผ้าไหมประเภทแรกของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก
กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๐
ผ้าตีนจกแม่แจ่ม
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทอดพระเนตรเห็นการทอผ้าตีนจกของชาวแม่แจ่ม ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ช่างทอเข้าไปทอผ้าตีนจกในงานกาชาดที่สวนอัมพร และให้ช่างทอไปฝึกทอผ้าตีนจกแบบประยุกต์ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ช่างทอที่ได้รับการฝึกนำวิธีการทอตีนจกแบบประยุกต์มาสอนช่างทอบ้านท้องฝาย บ้านทับ บ้านไร่ ซึ่งผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม มีเอกลักษณ์สืบทอดมาแต่โบราณ ในอดีตจะทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทองผสมไหม โดยคุ้มเชียงใหม่เป็นผู้ส่งมาให้ทอเพื่อเป็นเครื่องบรรณาการใช้ในราชสำนัก ส่วนชาวบ้านทอผ้าฝ้ายไว้ใช้เองเท่านั้น
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
องก์ที่ ๖ นำพัสตราไทยแผ่ไกลทั่วแดนดิน
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงส่งเสริมและอนุรักษ์การทอผ้าไหมและผ้าทอพื้นเมืองศิลปะแบบไทย ทรงเป็นผู้นำในการใช้ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวอยู่เสมอ เพื่อเป็นแบบอย่างแก่คนทั่วไป
ทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศให้ประจักษ์ในคุณค่าและความงดงามของผลิตภัณฑ์
พระองค์ทรงเผยแพร่ผลงานการผลิตผ้าไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผลงานศิลปาชีพออกสู่ประชาชนอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทั้งนี้ในส่วนของการเผยแพร่ภายในประเทศ ทรงดำเนินการตั้งร้านศิลปาชีพขึ้นเพื่อจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การจัดแสดงผลงานศิลปาชีพ และการส่งผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพไปจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้าและงานแสดงสินค้า ในส่วนของการเผยแพร่แก่ชาวต่างประเทศ ทรงพระราชทานผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพเป็นของขวัญแก่พระราชอาคันตุกะ พระอาคันตุกะ และบุคคลสำคัญที่เป็นชาวต่างประเทศ ทั้งยังเผยแพร่โดยการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพในโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศหลายครั้ง เพื่อให้นักธุรกิจและประชาชนในประเทศนั้น ๆ ได้มีโอกาสชื่นชมผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพจากฝีมือ
คนไทย
ผ้าปักชาวไทยภูเขา
ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริแก่ราษฎรชาวไทยภูเขา เพื่อพลิกฟื้นการดำรงชีพแบบใหม่ด้วยต่อยอดงานหัตถกรรมประจำท้องถิ่นจนสามารถสร้างรายได้ครัวเรือนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งชาวไทยภูเขาในประเทศไทยทุกชาติพันธุ์ผลิตงานฝีมือผ้าปักทั้งที่เป็นแบบปักไขว้ ปักลูกโซ่ ปักปะ เย็บริมแถบผ้าต่อกันเป็นผืน หรือเย็บเป็นเชือกหลากสี นอกจากนี้ ยังมีผ้าทอ ผ้าปักประดับเหรียญเงิน ลูกปัดเงินและลูกเดือย สะท้อนถึงวัฒนธรรมและกรรมวิธีในการสร้างสรรค์บนผืนผ้าแตกต่างกันในแต่ละชนเผ่าได้อย่างชัดเจน
ผ้าไหมยกดอกลำพูน
เมื่อครั้งเสด็จเยือนประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศต่าง ๆ ในทวีปยุโรป เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๐๓ ทรงมีพระราชดำริให้นำผ้าไหมยกดอกลำพูนมาตัดเย็บชุดประจำชาติ สำหรับทรงในการเสด็จพระราชดำเนินครั้งนั้น ซึ่งผ้าไหมยกดอกลำพูน เป็นผ้าไหมที่ใช้เทคนิคการทอยกเป็นลวดลายให้นูนสูงขึ้น โดยการใช้กี่พื้นเมือง ลวดลายที่ทอส่วนมากเป็นลายดอกไม้ ถือเป็นเอกลักษณ์ของผ้ายกลำพูนและเป็นผ้าไหมประเภทแรกของโลกที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจาก
กรมทรัพย์สินทางปัญญาประกาศให้เป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ในประเทศไทย เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๐
ผ้าตีนจกแม่แจ่ม
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๕๑๗ ทอดพระเนตรเห็นการทอผ้าตีนจกของชาวแม่แจ่ม ทรงมีพระราชเสาวนีย์ให้ช่างทอเข้าไปทอผ้าตีนจกในงานกาชาดที่สวนอัมพร และให้ช่างทอไปฝึกทอผ้าตีนจกแบบประยุกต์ที่พระตำหนักภูพิงคราชนิเวศน์ ช่างทอที่ได้รับการฝึกนำวิธีการทอตีนจกแบบประยุกต์มาสอนช่างทอบ้านท้องฝาย บ้านทับ บ้านไร่ ซึ่งผ้าซิ่นตีนจกแม่แจ่ม มีเอกลักษณ์สืบทอดมาแต่โบราณ ในอดีตจะทอด้วยดิ้นเงินดิ้นทองผสมไหม โดยคุ้มเชียงใหม่เป็นผู้ส่งมาให้ทอเพื่อเป็นเครื่องบรรณาการใช้ในราชสำนัก ส่วนชาวบ้านทอผ้าฝ้ายไว้ใช้เองเท่านั้น
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 456 ครั้ง)