องก์ที่ ๔ สองพระหัตถ์โอบอุ้มผืนพสุธา
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๔ สองพระหัตถ์โอบอุ้มผืนพสุธา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระราชหฤทัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พระองค์ทรงย้ำเตือนให้ราษฎรเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกและขยะมูลฝอยลงแม่น้ำลำคลอง อนุรักษ์พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา เป็นต้น ทั้งยังทรงคิดค้นวิธีการพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์คืนสู่แผ่นดินด้วยแนวทางที่เหมาะสม ในขณะที่ราษฎรมีอาชีพ อาศัยป่าเป็นแหล่งทำกิน ปลูกจิตสำนึกรักป่า สร้างความสมดุลให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังที่พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสต่าง ๆ
“...บัดนี้ทุก ๆ คนได้ตระหนักแล้วว่า ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของเราไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็นเพียงสิ่งสวย ๆ งาม ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเราและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนั้น ก็เท่ากับเป็นการปกป้องรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย...”
(พระราชดำรัสพระราชทานเนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในรายการภาคค่ำของงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๑)
“...ป่าไม้นี้ช่วยซึมซับน้ำฝนไว้ใต้ดิน เรียกว่าทำน้ำใต้ดินแล้วค่อย ๆ ระบายลงมาเป็นธารน้ำ เป็นลำคลอง เป็นแม่น้ำที่ให้เราใช้ได้เสมอมา เราจึงควรถนอมรักษาป่าไว้ให้คงอยู่เป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อว่าลูกหลานเราจะได้ไม่ลำบาก...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔)
“...เพราะเหตุใดเราจึงควรรักษาป่า ไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเท่านั้น แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือแหล่งน้ำ...ควรที่เราทั้งหลายจะบำรุงรักษาแผ่นดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕)
“...ต้นไม้มีประโยชน์มหาศาล ผลที่เราได้รับโดยตรงจากต้นไม้นั้นมีมาก แต่โดยอ้อมที่เรามองไม่เห็นก็มีมากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้อากาศดีขึ้น ช่วยลดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่ทั่วโลกกำลังหวาดวิตกอยู่ ต้นไม้ใหญ่เพียงต้นเดียวยังทำให้เรารู้สึกได้ทันทีถึงความร่มเย็นชุ่มชื้น หากมีต้นไม้รวมกันอยู่มากๆ จนเป็นป่าที่กว้างใหญ่จะทำให้อากาศบริเวณนั้นเย็นและชื้นมาก...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗)
"...เราอยู่กับแผ่นดินมานาน แต่เราไม่ทะนุถนอม ไม่อะไรเลย เราอยู่อย่างฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เช่น ในแม่น้ำลำคลอง พวกเราก็ทิ้งของเสีย นึกว่าแม่น้ำลำคลอง แล้วเดี๋ยวนี้ทะเลด้วย กลายเป็นถังขยะ ทิ้งลงไป ทำให้ของที่หายากอยู่แล้ว คือน้ำจืดนี้ก็เสียไป ก็เน่า แม่น้ำเจ้าพระยาก็เน่าไปเยอะ และการเน่าของแม่น้ำเจ้าพระยาก็หมายถึง สูญเสีย สูญสิ้นพันธุ์ปลาต่างๆ ไปหลายสายพันธุ์ ซึ่งอันนี้น่าตกใจมาก เพราะว่าพวกเราก็รับประทานปลา ปลาดูจะเป็นอาหารที่ถูกที่สุดสำหรับคนยากจน เราก็ปล่อยให้ปลาสูญไปหลาย ๆ สายพันธุ์แล้ว...."
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒)
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
องก์ที่ ๔ สองพระหัตถ์โอบอุ้มผืนพสุธา
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงสนพระราชหฤทัยในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ พระองค์ทรงย้ำเตือนให้ราษฎรเห็นความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ เช่น ไม่ตัดไม้ทำลายป่า ไม่ทิ้งสิ่งสกปรกและขยะมูลฝอยลงแม่น้ำลำคลอง อนุรักษ์พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ พันธุ์ปลา เป็นต้น ทั้งยังทรงคิดค้นวิธีการพลิกฟื้นความอุดมสมบูรณ์คืนสู่แผ่นดินด้วยแนวทางที่เหมาะสม ในขณะที่ราษฎรมีอาชีพ อาศัยป่าเป็นแหล่งทำกิน ปลูกจิตสำนึกรักป่า สร้างความสมดุลให้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน ดังที่พระองค์ได้พระราชทานพระราชดำรัสเนื่องในโอกาสต่าง ๆ
“...บัดนี้ทุก ๆ คนได้ตระหนักแล้วว่า ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมของเราไม่ว่าจะเป็นแผ่นดิน ป่าไม้ แม่น้ำ ทะเล และอากาศ มิได้เป็นเพียงสิ่งสวย ๆ งาม ๆ เท่านั้น หากแต่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตของเราและการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมของเราไว้ให้ดีนั้น ก็เท่ากับเป็นการปกป้องรักษาอนาคตไว้ให้ลูกหลานของเราด้วย...”
(พระราชดำรัสพระราชทานเนื่องในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในรายการภาคค่ำของงานวันสิ่งแวดล้อมโลก ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย วันที่ ๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๑)
“...ป่าไม้นี้ช่วยซึมซับน้ำฝนไว้ใต้ดิน เรียกว่าทำน้ำใต้ดินแล้วค่อย ๆ ระบายลงมาเป็นธารน้ำ เป็นลำคลอง เป็นแม่น้ำที่ให้เราใช้ได้เสมอมา เราจึงควรถนอมรักษาป่าไว้ให้คงอยู่เป็นต้นน้ำลำธาร เพื่อว่าลูกหลานเราจะได้ไม่ลำบาก...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๔)
“...เพราะเหตุใดเราจึงควรรักษาป่า ไม่ใช่เพียงเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่าเท่านั้น แต่เหตุผลที่สำคัญที่สุดคือแหล่งน้ำ...ควรที่เราทั้งหลายจะบำรุงรักษาแผ่นดินให้คงความอุดมสมบูรณ์ไว้...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ๕ รอบ ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕)
“...ต้นไม้มีประโยชน์มหาศาล ผลที่เราได้รับโดยตรงจากต้นไม้นั้นมีมาก แต่โดยอ้อมที่เรามองไม่เห็นก็มีมากเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ต้นไม้ช่วยดูดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทำให้อากาศดีขึ้น ช่วยลดปฏิกิริยาเรือนกระจกที่ทั่วโลกกำลังหวาดวิตกอยู่ ต้นไม้ใหญ่เพียงต้นเดียวยังทำให้เรารู้สึกได้ทันทีถึงความร่มเย็นชุ่มชื้น หากมีต้นไม้รวมกันอยู่มากๆ จนเป็นป่าที่กว้างใหญ่จะทำให้อากาศบริเวณนั้นเย็นและชื้นมาก...”
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๗)
"...เราอยู่กับแผ่นดินมานาน แต่เราไม่ทะนุถนอม ไม่อะไรเลย เราอยู่อย่างฟุ่มเฟือย สุรุ่ยสุร่าย เช่น ในแม่น้ำลำคลอง พวกเราก็ทิ้งของเสีย นึกว่าแม่น้ำลำคลอง แล้วเดี๋ยวนี้ทะเลด้วย กลายเป็นถังขยะ ทิ้งลงไป ทำให้ของที่หายากอยู่แล้ว คือน้ำจืดนี้ก็เสียไป ก็เน่า แม่น้ำเจ้าพระยาก็เน่าไปเยอะ และการเน่าของแม่น้ำเจ้าพระยาก็หมายถึง สูญเสีย สูญสิ้นพันธุ์ปลาต่างๆ ไปหลายสายพันธุ์ ซึ่งอันนี้น่าตกใจมาก เพราะว่าพวกเราก็รับประทานปลา ปลาดูจะเป็นอาหารที่ถูกที่สุดสำหรับคนยากจน เราก็ปล่อยให้ปลาสูญไปหลาย ๆ สายพันธุ์แล้ว...."
(พระราชดำรัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่าง ๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา วันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๔๒)
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 348 ครั้ง)