องก์ที่ ๒ พระมหากรุณาธิคุณแผ่ผืนหล้า
นิทรรศการเฉลิมพระเกียรติ เรื่อง ๙๐ วัสสา ผืนป่าห่มหล้า ผืนผ้าห่มเมือง
องก์ที่ ๒ พระมหากรุณาธิคุณแผ่ผืนหล้า
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและถูกทำลายลงทุกขณะ จนเกิดผลกระทบ
ต่อการดำรงชีวิตของราษฎรและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาความแห้งแล้งและสร้างความอุดมสมบูรณ์คืนสู่ผืนดิน ทรงชักชวนและปลูกฝังให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของป่า ช่วยกันปลูกป่า และดูแลป่า รวมทั้งรู้จักใช้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกต้อง เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำลำธารอย่างถูกวิธีในอันที่จะสามารถพลิกผืนดินให้กลับมาชุ่มชื้นได้ ทรงมีแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ป่าให้เป็นไปอย่างเกื้อกูลกันระหว่างคนกับป่า ให้ป่าอยู่กับคนได้ คนอยู่กับป่าได้ โดยไม่มีการทำลาย แนวพระราชดำริของพระองค์จึงก่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ เช่น
โครงการหมู่บ้านรวมไทย
พื้นที่บริเวณปางอุ๋ง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่อันตรายที่อยู่ติดแนวชายแดน มีกองกำลังต่าง ๆ มีการขนส่งยาเสพติดตามแนวชายแดน มีการทำไร่ฝิ่นของชาวเขา และบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ทรงมีความห่วงใยสถานการณ์ในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการหมู่บ้านรวมไทยขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นราษฎรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภออมก๋อยมีความเป็นอยู่ยากไร้ จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยยึดหลัก ๓ ประการ คือ รักษาสภาพป่าไว้มิให้ถูกทำลาย ฟื้นฟูสภาพป่าให้คืนสู่สภาพธรรมชาติ โดยให้มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าไม้ใช้สอย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีอาชีพและมีที่ทำกินถาวร ตามหลักการของพระองค์คือให้คนเป็นผู้รักษาป่าหรือคนอยู่กับป่าได้อย่างกลมกลืนและเกื้อกูลกัน โดยคนเป็นผู้ดูแลรักษาป่าในลักษณะของ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ทรงมีพระราชดำริให้บ้านห้วยไม้หก ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการ เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัยและให้ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวบรวมพันธุ์ไม้ให้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพืช รวมทั้งเป็นสถานที่เผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของพรรณพฤกษชาติไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไป
โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง
จัดตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๓ กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือรวม ๑๘ สถานี ภายใต้หลักการ “คนอยู่ร่วมกับป่า” โดยการพัฒนาคนให้มีความรู้ มีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการฟื้นฟูทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ อย่างสมดุล และมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการ และช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่สูงดำรงชีพในพื้นที่ทำกินเดิม ไม่อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน มีอาหารเพียงพอ มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
องก์ที่ ๒ พระมหากรุณาธิคุณแผ่ผืนหล้า
สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ทรงตระหนักถึงสาเหตุที่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติเสื่อมโทรมและถูกทำลายลงทุกขณะ จนเกิดผลกระทบ
ต่อการดำรงชีวิตของราษฎรและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ พระองค์ได้พระราชทานแนวพระราชดำริให้ดำเนินโครงการต่าง ๆ เพื่อช่วยบรรเทาความแห้งแล้งและสร้างความอุดมสมบูรณ์คืนสู่ผืนดิน ทรงชักชวนและปลูกฝังให้ชาวบ้านเห็นคุณค่าของป่า ช่วยกันปลูกป่า และดูแลป่า รวมทั้งรู้จักใช้ประโยชน์จากป่าอย่างถูกต้อง เพื่ออนุรักษ์ต้นน้ำลำธารอย่างถูกวิธีในอันที่จะสามารถพลิกผืนดินให้กลับมาชุ่มชื้นได้ ทรงมีแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์ป่าให้เป็นไปอย่างเกื้อกูลกันระหว่างคนกับป่า ให้ป่าอยู่กับคนได้ คนอยู่กับป่าได้ โดยไม่มีการทำลาย แนวพระราชดำริของพระองค์จึงก่อให้เกิดโครงการต่าง ๆ ในหลายพื้นที่ เช่น
โครงการหมู่บ้านรวมไทย
พื้นที่บริเวณปางอุ๋ง จ.แม่ฮ่องสอน เป็นพื้นที่อันตรายที่อยู่ติดแนวชายแดน มีกองกำลังต่าง ๆ มีการขนส่งยาเสพติดตามแนวชายแดน มีการทำไร่ฝิ่นของชาวเขา และบุกรุกตัดไม้ทำลายป่า ทรงมีความห่วงใยสถานการณ์ในพื้นที่ จึงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการหมู่บ้านรวมไทยขึ้น เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๓ เพื่อให้เป็นพื้นที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัยตามแนวชายแดน พัฒนาความเป็นอยู่ของราษฎร และฟื้นฟูอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืนตลอดไป
โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่
พระองค์ทอดพระเนตรเห็นราษฎรส่วนใหญ่ในพื้นที่อำเภออมก๋อยมีความเป็นอยู่ยากไร้ จึงพระราชทานพระราชดำริให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎร โดยยึดหลัก ๓ ประการ คือ รักษาสภาพป่าไว้มิให้ถูกทำลาย ฟื้นฟูสภาพป่าให้คืนสู่สภาพธรรมชาติ โดยให้มีทั้งป่าธรรมชาติและป่าไม้ใช้สอย และพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรให้มีอาชีพและมีที่ทำกินถาวร ตามหลักการของพระองค์คือให้คนเป็นผู้รักษาป่าหรือคนอยู่กับป่าได้อย่างกลมกลืนและเกื้อกูลกัน โดยคนเป็นผู้ดูแลรักษาป่าในลักษณะของ “บ้านเล็กในป่าใหญ่” ทรงมีพระราชดำริให้บ้านห้วยไม้หก ตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหมู่บ้านนำร่องโครงการ เมื่อเดือนกรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๓๕
สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
จัดตั้งเมื่อวันที่ ๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๕ จุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาวิจัยและให้ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ ความหลากหลายทางชีวภาพและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม รวบรวมพันธุ์ไม้ให้เป็นหมวดหมู่ตามวงศ์สกุลต่าง ๆ ให้สอดคล้องกับธรรมชาติ มีความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพืช รวมทั้งเป็นสถานที่เผยแพร่ความสวยงามและคุณค่าของพรรณพฤกษชาติไทย ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ประชาชนทั่วไป
โครงการสถานีพัฒนาเกษตรที่สูง
จัดตั้งขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๓ กระจายอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือรวม ๑๘ สถานี ภายใต้หลักการ “คนอยู่ร่วมกับป่า” โดยการพัฒนาคนให้มีความรู้ มีจิตสำนึกในการใช้ประโยชน์ควบคู่กับการฟื้นฟูทรัพยากรดิน น้ำ ป่าไม้ อย่างสมดุล และมีการบริหารจัดการแบบบูรณาการ และช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่สูงดำรงชีพในพื้นที่ทำกินเดิม ไม่อพยพโยกย้ายถิ่นฐาน มีอาหารเพียงพอ มีความมั่นคงและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ :
หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
อ้างอิง :
๑. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. ๒๕๖๐. ๘๔ พรรษา ราชินีศรีแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล.
๒. คณะอนุกรรมการจัดทำหนังสือไม้ดอกและไม้ประดับเฉลิมพระเกียรติ. ๒๕๓๖. ไม้ดอกและไม้ประดับ. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธาการพิมพ์.
๓. กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๖๑. จดหมายเหตุงานเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๑๒ สิงหาคม ๒๕๕๙. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนาอินเตอร์พริ้นท์.
๔. สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี. ๒๕๔๘. ประมวลพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
๕. กรมการศาสนา. ๒๕๕๗. พระราโชวาทและพระราชดำรัสสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ. พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
๖. กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย, กระทรวงวัฒนธรรม, และ สภาสตรีแห่งชาติ ในพระบรมราชินูปถัมภ์. ๒๕๕๐. ถักร้อยดวงใจมหกรรมทอผ้าไทย เทิดไท้พระบรมราชินีนาถ. กรุงเทพมหานคร: ศรีสยามการพิมพ์.
๗. สถาบันส่งเสริมศิลปหัตถกรรมไทย (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. ผลิตภัณฑ์ศิลปาชีพ (Online). https://www.sacict.or.th/th/listitem/10223 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๘. อรุณวรรณ ตั้งจันทร, เกษร ธิตะจารี, และ นิรัช สุดสังข์. ๒๕๕๖. “การพัฒนาผลิตภัณฑ์เคหะสิ่งทอจากผ้าปักชาวเขาเผ่าม้ง จังหวัดเพชรบูรณ์.” วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ๔ (๒): ๕๕-๖๗.
๙. กระทรวงวัฒนธรรม. ๒๕๕๘. อัคราภิรักษศิลปิน. กรุงเทพมหานคร: มปท.
๑๐. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. ครูช่างทอ ผู้ได้ชื่อว่า “๔ ทหารเสือราชินี” แห่งวงการผ้าไหมไทย (Online). https://www.silpa-mag.com/culture/article_67780 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๖๔.
๑๑. กรมการพัฒนาชุมชน. ม.ป.ป. สืบสานอนุรักษ์ศิลป์ผ้าถิ่นไทยดำรงไว้ในแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
(จำนวนผู้เข้าชม 292 ครั้ง)