ฟ้อนโตหรือเต้นโต
ฟ้อนโตหรือเต้นโต
การแสดงในช่วงเทศกาลออกหว่าหรือออกพรรษาของชาวไทใหญ่ นอกจากการฟ้อนนกกิงกะหร่าแล้ว ยังมีการแสดงที่ควบคู่กันคือ การฟ้อนโตหรือเต้นโต เป็นการแสดงที่อิงมาจากท่าทางของสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามตำราทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับจากการโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มายังบนโลกมนุษย์ในวันเทโวโรหณะ บรรดาสัตว์ทั้งหลายจึงมาร่วมกันเฝ้าพระองค์และต่างแสดงกิริยาดีใจตามธรรมชาติของตน โดยเฉพาะนกกิงกะหร่าและโต
ในการแสดงฟ้อนโต หรือที่เรียกว่าเต้นโตนั้น ผู้แสดงจะออกท่าทางตามภูมิปัญญาของผู้ถ่ายทอดหรือบรรพชน การแต่งกายมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางแห่งมีลักษณะการแต่งหน้าคล้ายเลียงผา ลำตัวสั้น แต่บางแห่งมีลักษณะเหมือนกิเลน ลำตัวยาว มักใช้ผู้แสดง ๒ คน การเต้นโตคล้ายการเชิดสิงโตของชาวจีน คนหนึ่งเชิดส่วนหัว อีกคนเชิดส่วนหาง ผู้แสดงต้องซ้อมและนัดหมายจังหวะกันอย่างดีเพื่อให้การแสดงเป็นธรรมชาติและสร้างความสนุกสนานแก่ผู้ชม
การแสดงโต จังหวัดเชียงราย ในอำเภอแม่สาย มักมีผู้แสดงอีกคนที่คล้ายแป๊ะยิ้มในการเชิดสิงโตแบบจีน แต่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนนั้นไม่นิยม การแสดงโตโดยมาก มักให้ตัวโตคาบธนบัตร โดยการสนับสนุนจากผู้ว่าจ้าง
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงนั้น มีวงกลองก้นยาวของชาวไทใหญ่ (กลองปู่เจ่) ๑ ลูกกว้างมีความยาว ๒เมตรขึ้นไป ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้อง ๓ ลูกขึ้นไป โดยใช้ผู้ตีลูกละ ๑ คน ส่วนวงกลางมองเชิง ประกอบไปด้วยกลองหน้าตัด ๒ ด้าน (ลักษณะคล้ายกลองตะโพนของภาคกลาง) ๑ ลูก ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้องไล่ระดับเสียงกัน ๑ ชุด โดยเน้นเสียงฆ้องเป็นหลัก ทำให้เกิดความไพเราะเมื่อบรรเลงร่วมกัน
ปัจจุบันการฟ้อนกิงกะหร่าและการฟ้องโตไม่ได้แสดงแค่ช่วงเทศกาลวันออกพรรษา แต่ยังแสดงในงานมงคลทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง :
๑. ธีรยุทธ ยวงศรี. ม.ป.ป. "ฟ้อนโต/เต้นโต". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย(Online). https://db.sac.or.th/thailand-cultural.../detail.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
๒. มหาวิทยาลัยราชฏักเชียงใหม่. ม.ป.ป. "ข้อมูลการฟ้อนนกกิงกะหร่าและการเต้นโต". โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชฏักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา(Online). https://online.pubhtml5.com/aofc/ufdf/#p=2 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
การแสดงในช่วงเทศกาลออกหว่าหรือออกพรรษาของชาวไทใหญ่ นอกจากการฟ้อนนกกิงกะหร่าแล้ว ยังมีการแสดงที่ควบคู่กันคือ การฟ้อนโตหรือเต้นโต เป็นการแสดงที่อิงมาจากท่าทางของสัตว์ในป่าหิมพานต์ ตามตำราทางพระพุทธศาสนาได้กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จกลับจากการโปรดพระมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มายังบนโลกมนุษย์ในวันเทโวโรหณะ บรรดาสัตว์ทั้งหลายจึงมาร่วมกันเฝ้าพระองค์และต่างแสดงกิริยาดีใจตามธรรมชาติของตน โดยเฉพาะนกกิงกะหร่าและโต
ในการแสดงฟ้อนโต หรือที่เรียกว่าเต้นโตนั้น ผู้แสดงจะออกท่าทางตามภูมิปัญญาของผู้ถ่ายทอดหรือบรรพชน การแต่งกายมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางแห่งมีลักษณะการแต่งหน้าคล้ายเลียงผา ลำตัวสั้น แต่บางแห่งมีลักษณะเหมือนกิเลน ลำตัวยาว มักใช้ผู้แสดง ๒ คน การเต้นโตคล้ายการเชิดสิงโตของชาวจีน คนหนึ่งเชิดส่วนหัว อีกคนเชิดส่วนหาง ผู้แสดงต้องซ้อมและนัดหมายจังหวะกันอย่างดีเพื่อให้การแสดงเป็นธรรมชาติและสร้างความสนุกสนานแก่ผู้ชม
การแสดงโต จังหวัดเชียงราย ในอำเภอแม่สาย มักมีผู้แสดงอีกคนที่คล้ายแป๊ะยิ้มในการเชิดสิงโตแบบจีน แต่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอนนั้นไม่นิยม การแสดงโตโดยมาก มักให้ตัวโตคาบธนบัตร โดยการสนับสนุนจากผู้ว่าจ้าง
เครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงนั้น มีวงกลองก้นยาวของชาวไทใหญ่ (กลองปู่เจ่) ๑ ลูกกว้างมีความยาว ๒เมตรขึ้นไป ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้อง ๓ ลูกขึ้นไป โดยใช้ผู้ตีลูกละ ๑ คน ส่วนวงกลางมองเชิง ประกอบไปด้วยกลองหน้าตัด ๒ ด้าน (ลักษณะคล้ายกลองตะโพนของภาคกลาง) ๑ ลูก ฉาบใหญ่หรือกลาง ๑ คู่ และฆ้องไล่ระดับเสียงกัน ๑ ชุด โดยเน้นเสียงฆ้องเป็นหลัก ทำให้เกิดความไพเราะเมื่อบรรเลงร่วมกัน
ปัจจุบันการฟ้อนกิงกะหร่าและการฟ้องโตไม่ได้แสดงแค่ช่วงเทศกาลวันออกพรรษา แต่ยังแสดงในงานมงคลทั่วไป สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาวไทใหญ่
ผู้เรียบเรียง : นางสาวอริสรา คงประเสริฐ นักจดหมายเหตุ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่.
อ้างอิง :
๑. ธีรยุทธ ยวงศรี. ม.ป.ป. "ฟ้อนโต/เต้นโต". สารานุกรมวัฒนธรรมไทย(Online). https://db.sac.or.th/thailand-cultural.../detail.php... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
๒. มหาวิทยาลัยราชฏักเชียงใหม่. ม.ป.ป. "ข้อมูลการฟ้อนนกกิงกะหร่าและการเต้นโต". โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชฏักเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เรื่อง การวิจัยหลักสูตรอย่างมีส่วนร่วมของมนุษยชนสำหรับสถานศึกษา(Online). https://online.pubhtml5.com/aofc/ufdf/#p=2 , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๕ มกราคม ๒๕๖๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 9705 ครั้ง)