สะพานนวรัฐ
สะพานนวรัฐ
สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ สร้างจากไม้สักล้วน เป็นสะพานแบบคานยื่น โครงส่วนบนเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ๕ ช่วง สร้างบนตอม่อ ๖ ตอม่อ เชื่อมระหว่างแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออกบริเวณถนนเจริญเมืองกับฝั่งตะวันตกย่านท่าแพ ถนนเศรษฐกิจหลักในสมัยนั้น ชาวบ้านเรียก ขัวไม้สัก หรือ ขัวใหม่ เนื่องจากมี ขัวกุลา (สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ ในปัจจุบัน) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรก เมื่อสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ถูกสร้างขึ้น จึงเรียกขัวกุลาว่า ขัวเก่า
ต่อมา ขัวใหม่ ถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน และเมื่อถึงฤดูน้ำหลากถูกไม้ซุงจำนวนมากที่ล่องไปตามแม่น้ำปิงกระแทกพังเสียหาย เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ทางราชการจึงได้รื้อขัวใหม่ออกในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ แล้วสร้างเป็นสะพานโครงเหล็ก สร้างบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนบนเป็นโครงเหล็กล้วน ๕ ช่วง เรียกชื่อว่า สะพานนวรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า ขัวเหล็ก หรือ ขัวดำ เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๖๖
เมื่อเชียงใหม่มีความเจริญขึ้น มีรถสัญจรมากขึ้น สะพานนวรัฐหรือขัวเหล็กเริ่มคับแคบ ไม่เหมาะสมกับสภาพการจราจรในสมัยนั้น ทางราชการจึงได้รื้อออกในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ แล้วสร้างสะพานนวรัฐแห่งใหม่ขึ้น เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขยายให้กว้างกว่าเดิม เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมาทำพิธีเปิดสะพานนวรัฐพร้อมกับสะพานเม็งรายอนุสรณ์ในคราวเดียวกัน
เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย
อ้างอิง :
๑. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๒. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่: ช้างเผือกการพิมพ์.
๓. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๕๙. สะพานนวรัฐ-สะพานขัวเหล็ก เมืองเชียงใหม่ (Online).
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/525730/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.
๔. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๒. ความเป็นมาของ “สะพานนวรัฐ” เชียงใหม่(Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1173950/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.
สะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ของเมืองเชียงใหม่ สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ สร้างจากไม้สักล้วน เป็นสะพานแบบคานยื่น โครงส่วนบนเป็นรูปโค้งครึ่งวงกลม ๕ ช่วง สร้างบนตอม่อ ๖ ตอม่อ เชื่อมระหว่างแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออกบริเวณถนนเจริญเมืองกับฝั่งตะวันตกย่านท่าแพ ถนนเศรษฐกิจหลักในสมัยนั้น ชาวบ้านเรียก ขัวไม้สัก หรือ ขัวใหม่ เนื่องจากมี ขัวกุลา (สะพานจันทร์สมอนุสรณ์ ในปัจจุบัน) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรก เมื่อสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งที่ ๒ ถูกสร้างขึ้น จึงเรียกขัวกุลาว่า ขัวเก่า
ต่อมา ขัวใหม่ ถูกไฟไหม้เสียหายบางส่วน และเมื่อถึงฤดูน้ำหลากถูกไม้ซุงจำนวนมากที่ล่องไปตามแม่น้ำปิงกระแทกพังเสียหาย เมื่อมีการสร้างทางรถไฟขึ้นมาถึงเชียงใหม่ ทางราชการจึงได้รื้อขัวใหม่ออกในปี พ.ศ. ๒๔๖๔ แล้วสร้างเป็นสะพานโครงเหล็ก สร้างบนตอม่อคอนกรีตเสริมเหล็ก ส่วนบนเป็นโครงเหล็กล้วน ๕ ช่วง เรียกชื่อว่า สะพานนวรัฐ เพื่อเป็นเกียรติแก่เจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ชาวบ้านเรียกว่า ขัวเหล็ก หรือ ขัวดำ เปิดใช้อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. ๒๔๖๖
เมื่อเชียงใหม่มีความเจริญขึ้น มีรถสัญจรมากขึ้น สะพานนวรัฐหรือขัวเหล็กเริ่มคับแคบ ไม่เหมาะสมกับสภาพการจราจรในสมัยนั้น ทางราชการจึงได้รื้อออกในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ แล้วสร้างสะพานนวรัฐแห่งใหม่ขึ้น เป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ขยายให้กว้างกว่าเดิม เปิดใช้งานอย่างเป็นทางการในวันที่ ๒๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๐ โดยจอมพลถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นได้เดินทางมาทำพิธีเปิดสะพานนวรัฐพร้อมกับสะพานเม็งรายอนุสรณ์ในคราวเดียวกัน
เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่ ภาพส่วนบุคคล ชุด นายบุญเสริม สาตราภัย
อ้างอิง :
๑. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๕๔. เชียงใหม่ในความทรงจำ. เชียงใหม่: โรงพิมพ์แสงศิลป์.
๒. บุญเสริม สาตราภัย. ๒๕๒๒. ลานนาไทยในอดีต. เชียงใหม่: ช้างเผือกการพิมพ์.
๓. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๕๙. สะพานนวรัฐ-สะพานขัวเหล็ก เมืองเชียงใหม่ (Online).
https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/525730/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.
๔. จักรพงษ์ คำบุญเรือง. ๒๕๖๒. ความเป็นมาของ “สะพานนวรัฐ” เชียงใหม่(Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/1173950/ , สืบค้นเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 3162 ครั้ง)