เจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวี
เจดีย์กู่กุดในวัดจามเทวี
วัดจามเทวี เดิมชื่อวัดสังฆาราม แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดกู่กุด หลังรัชสมัยของพระเจ้ามหันตยศ วัดกู่กุดได้ร้างลงจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาภาคเหนือ ได้สำรวจวัดกู่กุดและสืบถามความเป็นมาของผู้สร้างจนทราบนาม จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดจามเทวีวงศ์ ต่อมาคำว่าวงศ์ได้หายไปกลายเป็นวัดจามเทวี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐
วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างขึ้นสมัยพระนางจามเทวี บางหลักฐานกล่าวว่าพระโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ หลังจากพระโอรสทั้งสองถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้ว ได้นำพระอัฐิมาบรรจุลงในพระเจดีย์ ต่อมายอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่าพระเจดีย์กู่กุด ซึ่งมีความโดดเด่นด้วยรูปทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกัน ๕ ชั้น ในแต่ละชั้นประดับด้วยพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มจระนำ ชั้นละ ๑๒ องค์ รวม ๕ ชั้น เป็น ๖๐ องค์
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระมณี (พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐) รูปที่ ๒ เจ้าคุณราชสุตาจารย์ (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๕๒๕) รูปที่ ๓ พระครูปลัดประดิษฐ์ ปภสฺสโร (พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงปีใดไม่แน่ชัด) ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดจามเทวี คือ ท่านพระครูนิวิฐธรรมโชติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนเทศบาลวัดจามเทวีตั้งอยู่ภายในวัด เป็นศูนย์กลางการประชุมกิจการงานของหมู่บ้านด้วย
ผู้เรียบเรียง : นางสาวภาคินีย์ ศรีคำ นักศึกษาฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุดการประกวดภาพถ่ายเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน.
อ้างอิง :
๑. กองพุทธศาสนสถาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๓๓. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
๒. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี พระครูประวิตรวรานุยุต และรัครูพิพิธสุตาทร. ๒๕๖๑. การตรวจสอบรูปแบบพระพุทธรูปมีไรพระมัสสุในวรรณกรรมพุทธประวัติ. วารสารวิจิตรศิลป์. ๙ (๒): ๑-๓๔๘.
๓. ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๘๐. เล่มที่ ๕๔ ตอนที่ ๓๒, หน้า ๑๐๔๕.
๔. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน.วัดจามเทวี. (Online).
https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=502... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.
๕. จังหวัดลำพูน. ๒๕๖๒. วัดจามเทวี. https://www.lamphun.go.th/.../%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.
วัดจามเทวี เดิมชื่อวัดสังฆาราม แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่าวัดกู่กุด หลังรัชสมัยของพระเจ้ามหันตยศ วัดกู่กุดได้ร้างลงจนถึง พ.ศ. ๒๔๖๙ เมื่อกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จมาภาคเหนือ ได้สำรวจวัดกู่กุดและสืบถามความเป็นมาของผู้สร้างจนทราบนาม จึงได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า วัดจามเทวีวงศ์ ต่อมาคำว่าวงศ์ได้หายไปกลายเป็นวัดจามเทวี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒ กันยายน พ.ศ. ๒๔๘๐
วัดจามเทวี เป็นวัดที่มีความสำคัญทั้งทางด้านประวัติศาสตร์และโบราณคดี มีความเก่าแก่มากวัดหนึ่งในจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ถนนจามเทวี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองลำพูน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๕ ตารางวา ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างตั้งแต่สมัยใด ส่วนใหญ่เป็นการสันนิษฐานจากเอกสารชั้นหลัง ประกอบกับตำนานและนิยาย บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างขึ้นสมัยพระนางจามเทวี บางหลักฐานกล่าวว่าพระโอรสของพระนางจามเทวี คือ พระเจ้ามหันตยศและพระเจ้าอนันตยศ โปรดให้สร้างวัดนี้ขึ้นเพื่อถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้วโปรดให้สร้างเจดีย์เหลี่ยมมียอดหุ้มด้วยทอง เรียกว่า พระเจดีย์สุวรรณจังโกฏิ หลังจากพระโอรสทั้งสองถวายพระเพลิงพระศพพระนางจามเทวีแล้ว ได้นำพระอัฐิมาบรรจุลงในพระเจดีย์ ต่อมายอดพระเจดีย์ได้หักหายไป ชาวบ้านจึงเรียกว่าพระเจดีย์กู่กุด ซึ่งมีความโดดเด่นด้วยรูปทรงปราสาทยอดที่มีเรือนธาตุซ้อนลดหลั่นกัน ๕ ชั้น ในแต่ละชั้นประดับด้วยพระพุทธรูปประทับยืนในซุ้มจระนำ ชั้นละ ๑๒ องค์ รวม ๕ ชั้น เป็น ๖๐ องค์
การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระมณี (พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐) รูปที่ ๒ เจ้าคุณราชสุตาจารย์ (พ.ศ.๒๔๘๐-๒๕๒๕) รูปที่ ๓ พระครูปลัดประดิษฐ์ ปภสฺสโร (พ.ศ. ๒๕๒๖ ถึงปีใดไม่แน่ชัด) ปัจจุบันเจ้าอาวาสวัดจามเทวี คือ ท่านพระครูนิวิฐธรรมโชติ ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ นอกจากนี้ ยังมีโรงเรียนเทศบาลวัดจามเทวีตั้งอยู่ภายในวัด เป็นศูนย์กลางการประชุมกิจการงานของหมู่บ้านด้วย
ผู้เรียบเรียง : นางสาวภาคินีย์ ศรีคำ นักศึกษาฝึกงาน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์และบรรณารักษศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาพ : หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุดการประกวดภาพถ่ายเก่าเกี่ยวกับจังหวัดลำพูน.
อ้างอิง :
๑. กองพุทธศาสนสถาน กระทรวงศึกษาธิการ. ๒๕๓๓. ประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม ๙. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์การศาสนา.
๒. ศิริศักดิ์ อภิศักดิ์มนตรี พระครูประวิตรวรานุยุต และรัครูพิพิธสุตาทร. ๒๕๖๑. การตรวจสอบรูปแบบพระพุทธรูปมีไรพระมัสสุในวรรณกรรมพุทธประวัติ. วารสารวิจิตรศิลป์. ๙ (๒): ๑-๓๔๘.
๓. ราชกิจจานุเบกษา. ๒๔๘๐. เล่มที่ ๕๔ ตอนที่ ๓๒, หน้า ๑๐๔๕.
๔. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดลำพูน.วัดจามเทวี. (Online).
https://www.m-culture.go.th/lamphun/ewt_news.php?nid=502... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.
๕. จังหวัดลำพูน. ๒๕๖๒. วัดจามเทวี. https://www.lamphun.go.th/.../%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%94... , สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๖๕.
(จำนวนผู้เข้าชม 5502 ครั้ง)