ก่องเข้า หรือ กล่องข้าว
ภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวที่นึ่งสุกแล้ว เพื่อให้ข้าวเหนียวอยู่ได้นานตลอดวันและไม่แฉะ สมัยโบราณใช้กันทั่วไปในเขตล้านนา ทำด้วยวัสดุหลายชนิด เช่น สานด้วยตอกไม้ไผ่ สานด้วยใบลาน หรือสานด้วยใบตาล มีหลายขนาด แบ่งเป็น ขนาดใหญ่ ความกว้าง ๗๐ - ๘๐ ซม .ขึ้นไป เรียกก่องเข้าหลวง ใช้เมื่อมีงานใหญ่ในชุมชน ขนาดกลาง ความกว้าง ๓๐ ซม. ใช้ในครัวเรือน ขนาดเล็ก ความกว้าง ๒๐ ซม.ขึ้นไป ใช้สำหรับพกพาอาหารไปตามที่ต่าง ๆ เช่น ทำไร่ไถนา หรือ ไปค้าขาย
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด ประเพณีทอดกฐินเมืองเหนือ
๒. พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม
อ้างอิง : โรงเรียนวัดเสด็จ.ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Online). http://www.watsadet.ac.th/increase_data/local/index.html#top, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน
๒๕๖๔.
ภาพ :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. ภาพชุด ประเพณีทอดกฐินเมืองเหนือ
๒. พิพิธภัณฑ์ชุมชนวัดเกตการาม
อ้างอิง : โรงเรียนวัดเสด็จ.ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Online). http://www.watsadet.ac.th/increase_data/local/index.html#top, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน
๒๕๖๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 1324 ครั้ง)