เงี้ยวปล้นเมืองเชียงแสน
เงี้ยวปล้นเมืองเชียงแสน
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริปรับปรุงการปกครองทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อดึงอำนาจรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น ซึ่งการปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ทำให้ราษฎรในดินแดนล้านนาหรือมณฑลพายัพเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากการถูกเกณฑ์แรงงานและการจัดเก็บภาษีระบบใหม่ รวมถึงบรรดาเจ้านายที่สูญเสียอำนาจไปเรื่อย ๆ ได้สนับสนุนพวกเงี้ยวให้ก่อกบฏ และในส่วนของพวกเงี้ยวเองก็มีความไม่พอใจสยามจากสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ห้ามคนในบังคับของอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงการตัดไม้เพื่อสร้างบ้านหรือวัดในราชอาณาจักรสยาม หากเงี้ยวคนใดไม่มีหนังสือรับรองว่าเป็นคนในบังคับของอังกฤษก็ถือว่าเป็นคนของสยามและต้องเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน ๔ บาทต่อปี เงี้ยวบางพวกอาศัยอยู่ในสยามมานานแต่ต้องการได้สิทธิพิเศษบางประการจากอังกฤษ จึงเข้าไปเป็นคนในบังคับของอังกฤษ เมื่อสยามบังคับใช้กฎหมายตามสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างเคร่งครัด พวกเงี้ยวเหล่านี้จึงต้องเสียสิทธิสภาพจากสยามไปโดยปริยาย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน จนนำไปสู่เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๔๕ และได้ลุกลามไปในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย
เมืองเชียงแสนเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ถูกพวกเงี้ยวก่อการจลาจล เอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พบได้จากเอกสารรายงานสถานการณ์ของพระยาอุตรกิจพิจารณ์ ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ใบบอก โทรเลข ร่างจดหมาย ซึ่งส่งถึงเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่ มณฑลพายัพ เสนาบดีมหาดไทย กรุงเทพ และเจ้าคุณยอดเมืองขวาง โดยในระยะนั้นมีโจรกลุ่มของพระยาศรีสองเมือง กับสล่าทุ เมืองอ๊อต นำกองกำลังเข้าตีเมืองเชียงแสน วางเพลิงที่ว่าการแขวงและบ้านเรือนราษฎร และมีแผนบุกเมืองเชียงราย แต่พระยาราชเดชดำรง (น้อย ไชยวงศ์) ญาติพี่น้อง แคว่น (กำนัน) แก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) และราษฎร ออกมาป้องกันเมืองไว้ได้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ หัวหน้าพวกเงี้ยว คือ สล่าทุ เมืองอ๊อตและสล่าป๊อกถูกยิงตาย พวกเงี้ยวที่เหลือจึงถูกขับไล่ไปหมด พระยาอุตรกิจพิจารณ์จึงขอประทานรางวัลให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือการปราบปรามพวกเงี้ยวเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลแห่งความกล้าหาญ
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
อ้างอิง :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. เอกสารรายงานการก่อจลาจลของเงี้ยวเมืองเชียงราย.
๒. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. การปฏิรูปมณฑลพายัพของสยาม บีบบังคับให้เงี้ยวก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ. 2445? (Online). https://www.silpa-mag.com/history/article_28848, สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔.
๓. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๑. “พระยารัตนาณาเขตร์” (น้อยเมืองไชย) เจ้าเมืองเชียงรายองค์สุดท้ายที่ถูกลืม (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/870910/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔
๔. สิริเดชะกุล. ๒๕๕๗. ย้อนรอยอาณาจักรเมืองเชียงแสน (Online). https://m.facebook.com/.../a.450220515.../548206211962945..., สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔.
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริปรับปรุงการปกครองทั่วพระราชอาณาจักร เพื่อดึงอำนาจรัฐเข้าสู่ศูนย์กลางมากขึ้น ซึ่งการปฏิรูปการปกครองดังกล่าว ทำให้ราษฎรในดินแดนล้านนาหรือมณฑลพายัพเกิดความไม่พอใจ เนื่องจากการถูกเกณฑ์แรงงานและการจัดเก็บภาษีระบบใหม่ รวมถึงบรรดาเจ้านายที่สูญเสียอำนาจไปเรื่อย ๆ ได้สนับสนุนพวกเงี้ยวให้ก่อกบฏ และในส่วนของพวกเงี้ยวเองก็มีความไม่พอใจสยามจากสนธิสัญญาเบาว์ริงที่ห้ามคนในบังคับของอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน ที่อยู่อาศัย รวมถึงการตัดไม้เพื่อสร้างบ้านหรือวัดในราชอาณาจักรสยาม หากเงี้ยวคนใดไม่มีหนังสือรับรองว่าเป็นคนในบังคับของอังกฤษก็ถือว่าเป็นคนของสยามและต้องเสียภาษีแทนการเกณฑ์แรงงาน ๔ บาทต่อปี เงี้ยวบางพวกอาศัยอยู่ในสยามมานานแต่ต้องการได้สิทธิพิเศษบางประการจากอังกฤษ จึงเข้าไปเป็นคนในบังคับของอังกฤษ เมื่อสยามบังคับใช้กฎหมายตามสนธิสัญญาดังกล่าวอย่างเคร่งครัด พวกเงี้ยวเหล่านี้จึงต้องเสียสิทธิสภาพจากสยามไปโดยปริยาย จึงก่อให้เกิดความไม่พอใจขึ้นโดยเฉพาะเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน จนนำไปสู่เหตุการณ์กบฏเงี้ยวเมืองแพร่ พ.ศ. ๒๔๔๕ และได้ลุกลามไปในพื้นที่อื่น ๆ ด้วย
เมืองเชียงแสนเป็นอีกเมืองหนึ่งที่ถูกพวกเงี้ยวก่อการจลาจล เอกสารจดหมายเหตุที่กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าว พบได้จากเอกสารรายงานสถานการณ์ของพระยาอุตรกิจพิจารณ์ ข้าหลวงประจำเมืองเชียงใหม่ ได้แก่ ใบบอก โทรเลข ร่างจดหมาย ซึ่งส่งถึงเจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าพระยาสุรสีห์วิศิษฐ์ศักดิ์ (เชย กัลยาณมิตร) ข้าหลวงใหญ่ มณฑลพายัพ เสนาบดีมหาดไทย กรุงเทพ และเจ้าคุณยอดเมืองขวาง โดยในระยะนั้นมีโจรกลุ่มของพระยาศรีสองเมือง กับสล่าทุ เมืองอ๊อต นำกองกำลังเข้าตีเมืองเชียงแสน วางเพลิงที่ว่าการแขวงและบ้านเรือนราษฎร และมีแผนบุกเมืองเชียงราย แต่พระยาราชเดชดำรง (น้อย ไชยวงศ์) ญาติพี่น้อง แคว่น (กำนัน) แก่บ้าน (ผู้ใหญ่บ้าน) และราษฎร ออกมาป้องกันเมืองไว้ได้ ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้ หัวหน้าพวกเงี้ยว คือ สล่าทุ เมืองอ๊อตและสล่าป๊อกถูกยิงตาย พวกเงี้ยวที่เหลือจึงถูกขับไล่ไปหมด พระยาอุตรกิจพิจารณ์จึงขอประทานรางวัลให้แก่บุคคลที่ช่วยเหลือการปราบปรามพวกเงี้ยวเพื่อเป็นบำเหน็จรางวัลแห่งความกล้าหาญ
ผู้เรียบเรียง : นางเกษราภรณ์ กุณรักษ์ นักจดหมายเหตุชำนาญการ
อ้างอิง :
๑. หอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เชียงใหม่. เอกสารรายงานการก่อจลาจลของเงี้ยวเมืองเชียงราย.
๒. นิตยสารศิลปวัฒนธรรม. ๒๕๖๔. การปฏิรูปมณฑลพายัพของสยาม บีบบังคับให้เงี้ยวก่อกบฏ เมื่อ พ.ศ. 2445? (Online). https://www.silpa-mag.com/history/article_28848, สืบค้นเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๖๔.
๓. เชียงใหม่นิวส์. ๒๕๖๑. “พระยารัตนาณาเขตร์” (น้อยเมืองไชย) เจ้าเมืองเชียงรายองค์สุดท้ายที่ถูกลืม (Online). https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/870910/, สืบค้นเมื่อวันที่ ๑๓ สิงหาคม ๒๕๖๔
๔. สิริเดชะกุล. ๒๕๕๗. ย้อนรอยอาณาจักรเมืองเชียงแสน (Online). https://m.facebook.com/.../a.450220515.../548206211962945..., สืบค้นเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๖๔.
(จำนวนผู้เข้าชม 1690 ครั้ง)