กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ
ความเป็นมา
กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุจัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติพ.ศ.๒๕๕๖ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๒๓ ก วันที่ ๑๓ มีนาคม ๒๕๕๖ และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๔ มีนาคม ๒๕๕๖หมวด ๔ มาตรา ๒๔ กำหนดให้จัดตั้งกองทุนขึ้นในกรมศิลปากรกองทุนหนึ่งเรียกว่า “กองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับกิจการด้านงานจดหมายเหตุ ประกอบด้วย เงินและทรัพย์สิน คือ
๑. ค่าบริการที่จัดเก็บตามพระราชบัญญัตินี้
๒. เงินอุดหนุนที่รัฐบาลจัดสรรให้เป็นรายปี
๓. เงินอุดหนุนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศและเงินหรือทรัพย์สินที่มีผู้บริจาคให้
๔. ดอกผลของเงินหรือทรัพย์สินของกองทุน
๕. รายได้อื่น
วัตถุประสงค์ของกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ
เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับภารกิจด้านเอกสารจดหมายเหตุ
กรอบแนวทางการดำเนินงาน
๑. การบริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุให้มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้
๒. ส่งเสริมให้การดำเนินงานวิชาการจดหมายเหตุที่ถูกต้อง
๓. ประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่ายงานจดหมายเหตุตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๕๖
๔. พัฒนาบุคลากรด้านจดหมายเหตุให้มีความสามารถอย่างมืออาชีพ
แหล่งเงินทุน
๑. รายได้จากการอุดหนุนหน่วยงานของรัฐ ร้อยละ ๘๕
๒. รายรับการให้บริการ (สำเนา ซ่อม อบเอกสาร) ร้อยละ ๑๕
คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ
๑. อธิบดีกรมศิลปากร ประธานกรรมการ
๒. รองอธิบดีกรมศิลปากร รองประธานกรรมการ
๓. ผู้แทนสำนักงบประมาณ กรรมการ
๔. ผู้แทนกระทรวงการคลัง กรรมการ
๕. นายกสมาคมองค์การบริหารส่วนจังหวัดแห่งประเทศไทย กรรมการ
๖. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารจัดการ กรรมการ
๗. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านจดหมายเหตุ กรรมการ
๘. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านประวัติศาสตร์ กรรมการ
๙. ผู้อำนวยการสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรรมการและเลขานุการ
๑๐. ข้าราชการกรมศิลปากร กรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ
(จำนวนผู้เข้าชม 454 ครั้ง)
วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์
ส่งเสริมการบริหารเอกสารจดหมายเหตุให้เป็นสมบัติของชาติและมรดกความทรงจำของโลก
พันธกิจ
๑. บริหารจัดการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุให้มีประสิทธิภาพ ตามหลักธรรมมาภิบาลที่ดี
๒. บริหารจัดการงบประมาณเพื่อกิจการด้านเอกสารจดหมายเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับ พระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖ และ พระราชบัญญัติทุนหมุนเวียน พ.ศ. ๒๕๕๘ และการพัฒนางานจดหมายเหตุในระดับสากล
๓. กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลสัมฤทธิ์จากการใช้จ่ายงบประมาณเพื่อกิจการด้านเอกสารจดหมายเหตุ อย่างเป็นระบบ
๔. ส่งเสริมการเผยแพร่งานจดหมายเหตุอย่างสร้างสรรค์ เพื่อรักษาเชิดชูมรดกทางวัฒนธรรมของชาติด้านจดหมายเหตุ
๕. สนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์ในกระบวนการทำงานและการให้บริการ
วัตถุประสงค์จัดตั้ง
เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนและใช้จ่ายสำหรับกิจการด้านเอกสารจดหมายเหตุ
ประเด็นยุทธศาสตร์
๑. การส่งเสริมการเก็บรักษาเอกสารจดหมายเหตุ ตามพระราชบัญญัติจดหมายเหตุแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๕๖
๒. การสุ่งเสริมการพัฒนาสู่ Digital Archives
๓. การส่งเสริมการสื่อสารภาพลักษณ์และเผยแพร่ความรู้อย่างสร้างสรรค์
๔. การบริหารพัฒนากองทุนฯ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน
นโยบายกำกับดูแลองค์กรที่ดี
๑. ด้านรัฐ สังคม และสิ่งแวดล้อม
ให้ความร่วมมือและสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล และส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานของหอจดหมายเหตุแห่งชาติ ดำเนินงานโดยคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมและการมีส่วนร่วมของประชาชน
๒. ด้านผู้รับบริการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ส่งเสริมและสนับสนุนกระบวนการให้บริการที่มีความสะดวกทันสมัย โปร่งใสและสุจริต และอำนวยความสะดวกให้ผู้รับบริการและ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้รับการตอบสนองความต้องการ และมีความพึงพอใจ
๓. ด้านองค์กร
ส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนดำเนินงานที่ชัดเจนและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของกองทุนฯ และจัดให้มีระบบการติดตามตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นถึงผลสำฤทธิ์ของเป้าหมายและความสอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
๔. ด้านผู้ปฏิบัติงาน
ให้ความสำคัญกับการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องและส่งเสริมให้ผู้ปฏิบัติงานมีส่วนร่วมในการกำหนดยุทธศาสตร์ขององค์กร และแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อร่วมตัดสินใจในการพัฒนาองค์กร
(จำนวนผู้เข้าชม 344 ครั้ง)
# | ชื่อเอกสาร | ชนิดไฟล์ | ขนาดไฟล์ | |
---|---|---|---|---|
1 | คณะกรรมการกองทุนส่งเสริมงานจดหมายเหตุ. | 0 Mb | Download |