อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (International Convention for the Safety of Life at Sea (SOLAS))


กฎหมายระว่างประเทศที่สำคัญฉบับหนึ่ง นั่นคือ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล (International Convention for the Safety of Life at Sea) หรือที่ชาวเรือรู้จักกันในชื่อย่อว่า SOLAS กัน เป็นอนุสัญญาที่ผู้ปฏิบัติงานในเรือที่รัฐเจ้าของธง (flag state) เป็นภาคีอนุสัญญาฯ จะต้องเรียนรู้และปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด เป็นมาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ “ลูกเรือ” ย้ำอีกครั้ง “ลูกเรือ”
วันที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2455 เวลาประมาณ 00.05 น. กลางมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ กัปตันเอ็ดเวิร์ด สมิธ นายเรือบนเรือ อาร์เอ็มเอส ไททานิค เรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ที่สุดในตอนนั้น ได้ออกคำสั่งให้นายประจำเรือและลูกเรือทุกคนเตรียมอพยพผู้โดยสารลงเรือช่วยชีวิต หลังจากที่ประสบเหตุชนเข้ากับภูเขาน้ำแข็งที่ลอยตามกระแสน้ำออกจากแผ่นน้ำแข็งขั้วโลกจากอุณภูมิที่อุ่นขึ้นในเดือนเมษายน ส่งผลให้เกิดการรั่วที่ลำเรือ มีน้ำทะเลไหลท่วมห้อวระวางกั้นน้ำ 6 ระวาง เรือไททานิคได้รับการออกแบบมามีห้องระวางกั้นน้ำซึ่งสามารถปิดประตูกั้นน้ำไม่ให้ไหลถึงกันได้ในแต่ละระวางได้ แต่อย่างไรเสียเรือลำนี้สามารถรับน้ำท่วมห้องระวางได้เพียง 4 ห้องพร้อมกันที่หัวเรือเท่านั้น หากเกินกว่านั้น หัวเรือที่ค่อยจมลงจากน้ำหนักของน้ำจะทำให้น้ำล้นจากห้องระวางหนึ่งสู่อีกห้องระวางหนึ่งได้ คล้ายกับการที่เราเทน้ำใส่ถาดน้ำแข็งในตู้เย็น ดังนั้นน้ำที่ท่วมถึง 6 ห้องระวางจึงยืนยันว่า ไททานิค ต้องอับปาง!
จากความมั่นใจในการออกแบบประกอบกับกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยของเรือเดินทะเลที่ยังไม่เข้มงวด เรือช่วยชีวิตมีจำนวนไม่เพียงพอต่อลูกเรือและผู้โดยสาร การจัดการอพยพคนลงเรือช่วยชีวิตที่ไม่มีประสิทธิภาพทำให้เรือช่วยชีวิตบางลำมีผู้โดยสารไม่เต็ม ผู้โดยสารชั้นสามที่ดีรับการปฏิบัติอย่างไม่เท่าเทียม และเหตุปัจจัยอื่น ๆ ส่งผลให้เหตุอับปางของเรือไททานิคนั้น เกิดความสูญเสียอย่างมาก มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำทะเลและหนาวตายถึง 1,500 ชีวิต โดยมีผู้รอดชีวิตเพียง 710 ชีวิต ไม่ถึงครึ่งของคนที่มากับเรือ
จากเหตุการณ์การอับปางของเรือไททานิค ได้นำมาสู่การร่างสัญญาระหว่างประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นกฎหมายที่ชาติสมาชิกจะต้องปฏิบัติตามในเรื่องของความปลอดภัยและขั้นตอนวิธีปฏิบัติต่าง ๆ เมื่อเรือประสบภัยในทะเล SOLAS นับว่าเป็นสัญญาระหว่างประเทศฉบับแรกที่มุ่งให้ความสำคัญการความปลอดภัยของเรือพาณิชย์ บังคับใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2457 และมีการแก้ไขปรับปรุงเรื่อยมา ปัจจุบันคือ อนุสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยความปลอดภัยแห่งชีวิตในทะเล พ.ศ. 2517 (1974) อยู่ภายใต้การกำกับดูแลขององค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (International Maritime Organization) หรือ IMO มีประเทศร่วมเป็นภาคีสมาชิกเกือบทุกประเทศเว้นแต่เพียงประเทศที่ไม่มีอาณาเขตติดต่อทางทะเล (landlocked states)
ภายในอนุสัญญาฯ ได้กำหนดให้เรือและรัฐเจ้าของธง ต้องกำหนดมาตรการให้สอกคล้องกับข้อกำหนดด้านความปลอยของ SOLAS เช่น ข้อกำหนดเกี่ยวกับมาตรฐานโครงสร้าง อุปกรณ์ความปลอดภัยภายในเรือ อุปกรณ์ช่วยชีวิต อุปกรณ์ดับไฟ เสื้อชูชีพ เรือและแพชูชีพ อุปกรณ์ส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือต่าง ๆ ซึ่งที่กล่าวมาข้างต้นจะต้องมีเพียงพอต่อการช่วยเหลือลูกเรือและผู้โดยสารทุกคน รวมไปถึงการฝึกอบรมชาวเรือให้มีความรู้ความสามารถในการดำรงชีพในทะเลหากเกิดกรณีเรืออับปางด้วย
นอกจากนั้น SOLAS ยังกำหนดให้รัฐเจ้าของธงต้องจัดให้มีหน่วยงานกำกับดูแลรวมทั้งออกใบอนุญาตให้เรือและบริษัทเจ้าของเรือต้องจัดให้เรือมีอุปกรณ์ด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนดของ SOLAS ซึ่งมนกรณีของประเทศไทยมี กรมเจ้าท่า เป็นหน่วยงานกำกับดูแล อย่างไรก็ตาม SOLAS เป็นอนุสัญญาภายใต้การกำกับดูแลของ IMO ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแลเพียงเรือพาณิชย์และเรือพลเรือนเท่านั้น ไม่ได้บังคับแก่เรือของกองทัพเรือหรือเรือทางทหาร ซึ่งอาจปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยของกองทัพเหล่านั้นเอง
Star vote. Star vote. Star vote. Star vote. Star vote.

(จำนวนผู้เข้าชม 3727 ครั้ง)