เครื่องมือช่วยการเข้าถึง
color contrast
text size
highlighting content
zoom in


ประวัติและบทบาทหน้าที่กองโบราณคดี

ประวัติกองโบราณคดี





พุทธศักราช ๒๕๕๗ - ปัจจุบัน
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ กรมศิลปากรกระทรวงวัฒนธรรม พ.ศ ๒๕๕๙ ได้แบ่งส่วนราชการกรมศิลปากร โดยสำนักโบราณคดีได้เปลี่ยนชื่อเป็นกองโบราณคดี ประกอบด้วย กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณ สถาน กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน กลุ่มอนุรักษ์กิจกรรมและประติมากรรมและฝ่ายบริหารงานทั่วไป



หน้าที่และความรับผิดชอบ (กฎกระทรวงฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2557)

กองโบราณคดี

1.ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยหลักฐานทางโบราณคดี เพื่อพัฒนางานทางโบราณคดี และงานศิลปวัฒนธรรมที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ
2.ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน รวมทั้งการควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์
3.ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัยโบราณสถานและโบราณวัตถุ เพื่อการอนุรักษ์ ซ่อมแซม การจัดทำแผน และเป็นศูนย์ปฏิบัติการอนุรักษ์โบราณสถาน
4.สำรวจ ขุดค้น ขึ้นทะเบียน ควบคุม ดูแลรักษา และอนุรักษ์ รวมทั้งปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และกฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
5.ควบคุม ดูแล รักษา และอนุรักษ์โบราณสถานในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
6.สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ ดำเนินการหรือร่วมดำเนินงานทางด้านโบราณคดีและด้านการอนุรักษ์โบราณสถานและศิลปกรรมกับหน่วยงานอื่น
ที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินงานด้านเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม
7.ให้ความเห็นและข้อวินิจฉัย เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านมรดกทางวัฒนธรรมระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับโลก
8.กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุม และพัฒนามาตรฐานงานด้านโบราณคดี ด้านการอนุรักษ์โบราณสถานและศิลปกรรมสำหรับส่วนราชการของกรม
9.จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลองค์ความรู้ด้านโบราณคดี การอนุรักษ์โบราณสถานและศิลปกรรม รวมทั้งให้บริการข้อมูลเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์ และการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ
10.ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มวิจัยและพัฒนางานโบราณคดี

1.  ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ ขุดค้นทางวิชาการโบราณคดี และสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านโบราณคดีของประเทศ อันจะทำให้เกิดค่านิยม และจิตสำนึก เห็นคุณค่าความสำคัญของความเป็นชาติ สร้างความมั่นคง และความเข้าใจอันดีในระดับประชาชน ระดับชาติ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ
2.  ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย สำรวจ ขุดค้นทางวิชาการโบราณคดี และประเมินคุณค่าโบราณสถาน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมในกระบวนการอนุรักษ์โบราณสถาน ทั้งในขั้นการกำหนดกรอบและแนวทางการอนุรักษ์ ผู้ร่วมวิเคราะห์และออกแบบเพื่อการอนุรักษ์
3.  รวบรวม ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัยและพัฒนาระบบฐานข้อมูลทางโบราณคดี และห้องปฏิบัติการทางโบราณคดี เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานวิชาการทางโบราณคดีและการอนุรักษ์มรดกศิลปวัฒนธรรม
4.  กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุม และพัฒนามาตรฐานงาน คู่มือการปฏิบัติงานทางโบราณคดี เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ ทั้งหน่วยงานในสังกัดกรมศิลปากร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
5.  ให้ความคิดเห็นและข้อวินิจฉัยที่เกี่ยวข้องกับงานวิชาการทางโบราณคดี เพื่อประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายและยุทธศาสตร์ การบริหารจัดการมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ และ/หรือ การตัดสินใจในการอนุมัติ/อนุญาต กิจกรรม งาน โครงการฯ ที่มีผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรมของชาติครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
6.  สนับสนุน ให้คำปรึกษา แนะนำ แลกเปลี่ยนข้อมูลและบุคลากร ดำเนินการหรือร่วมดำเนินงานทางด้านโบราณคดีและด้านการอนุรักษ์โบราณสถานและศิลปกรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งการดำเนินงานด้านเครือข่ายมรดกศิลปวัฒนธรรม
7.  เผยแพร่ประชาสัมพันธ์  ให้บริการข้อมูลงานวิชาการทางโบราณคดี เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์และการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ
8.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

กลุ่มวิชาการทะเบียนโบราณสถาน

1. ดำเนินการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานทั่วประเทศให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถานโบราณวัตถุศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและ หรือกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 
2. รวบรวม ตรวจสอบข้อมูลโบราณสถานให้ครบถ้วน พร้อมข้อเสนอหรือข้อสังเกตประกอบการพิจารณาการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานทั่วประเทศเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐาน และขั้นตอน
3. สำรวจ จัดทำรายงานและแผนผังโบราณสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถานตามกฎหมาย
4.  สำรวจ รวบรวม ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ เปรียบเทียบข้อมูลโบราณสถาน หรือพิสูจน์หลักฐานตามหลักวิชาการทางด้านโบราณคดีเพื่อประเมินคุณค่าความสำคัญของโบราณสถาน และประโยชน์ในการกำหนดสิ่งสำคัญและขอบเขตในการประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน
5. ศึกษา ค้นคว้า กำหนดวิธีการ ระเบียบปฏิบัติ เกณฑ์มาตรฐาน และจัดการประชุมสัมมนา เพื่อพัฒนางานทะเบียนโบราณสถาน
6. รวบรวมและประมวลข้อมูลทะเบียนและบัญชีโบราณสถานทั่วประเทศ ทั้งที่ขึ้นทะเบียนแล้วและยังไม่ขึ้นทะเบียน เพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์ และการบริหารจัดการโบราณสถาน
7. เผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ผลการศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์เปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับโบราณสถาน เพื่อการบริการแก่หน่วยงานหรือบุคลากรทั้งภายในและภายนอกกรม
8. สนับสนุน ให้คำปรึกษาแนะนำ เกี่ยวกับการขึ้นทะเบียนโบราณสถาน การประเมินคุณค่าและความสำคัญโบราณสถาน แก่หน่วยงานหรือบุคลากรทั้งภายในและภายนอกกรม 
9. ให้ความเห็นและข้อวินิจฉัยเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ หรือ นโยบายที่จะมีผลกระทบกับโบราณสถานในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
10. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กลุ่มอนุรักษ์โบราณสถาน

 

1. ดำเนินการอนุรักษ์และบูรณปฏิสังขรณ์โบราณสถาน ตามแนวทางในการอนุรักษ์
รวมทั้งการควบคุมงานบูรณปฏิสังขรณ์ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
2. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ลักษณะรูปแบบทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมของโบราณสถาน ตลอดจนข้อมูลทางประวัติศาสตร์ศิลปะ และการปฏิบัติงานทาง
เทคนิคช่าง รวมทั้งข้อมูลพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์โบราณสถาน
3. สำรวจ ตรวจสภาพ ควบคุม ดูแลรักษาและอนุรักษ์โบราณสถานในเขตพื้นที่-กรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
4. กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุมและพัฒนามาตรฐานงานอนุรักษ์โบราณสถาน ตลอดจนการพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
5. จัดทำและพัฒนาระบบข้อมูลองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์โบราณสถาน รวมทั้งให้บริการข้อมูลเพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการอนุรักษ์โบราณสถาน
6. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง 
หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

กลุ่มอนุรักษ์จิตรกรรมและประติมากรรม

 

1. ศึกษา ค้นคว้า วิเคราะห์ วิจัย จัดทำและเก็บข้อมูลการปฏิบัติงานทางวิชาการและทางเทคนิคในการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม
2. ศึกษา ค้นคว้า สำรวจ ตรวจสอบสาเหตุและการเสื่อมสภาพของจิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม เพื่อหาวิธีการอนุรักษ์จิตรกรรม ประติมากรรมให้ที่มีประสิทธิภาพ
3. ดำเนินการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม 
4. กำหนดหลักเกณฑ์ ควบคุมและพัฒนามาตรฐานงานด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม 
5. ประสานงาน แลกเปลี่ยนความรู้ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรมแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
6. จัดทำองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม รวมทั้งให้บริการข้อมูลด้านการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนัง ประติมากรรม เพื่อการศึกษา ค้นคว้า วิจัย อนุรักษ์และการบริหารจัดการมรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ
7.  ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

ฝ่ายบริหารงานทั่วไป

 

1. ดำเนินการเกี่ยวกับงานสารบรรณ งานธุรการ และเลขานุการการประชุมของหน่วยงาน
2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานการเงินและบัญชีในเบื้องต้นของหน่วยงาน  
3. ดำเนินการเกี่ยวกับงานพัสดุ  งานอาคารสถานที่ และงานยานพาหนะของหน่วยงาน
4. ดำเนินการเกี่ยวกับงานบุคคลในเบื้องต้นของหน่วยงาน
5. ดำเนินการเกี่ยวกับงานแผนงาน/โครงการและงานงบประมาณของหน่วยงาน  
6. สนับสนุนและประสานงานการพัฒนาระบบราชการของหน่วยงาน
7. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง หรือที่ได้รับมอบหมาย

 

 

(จำนวนผู้เข้าชม 1269 ครั้ง)