จัดแสดงเรื่องราวของวรรณกรรมสำคัญ สองเรื่อง ที่เกี่ยวกับเมืองสุพรรณบุรี ได้แก่ เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน ที่ได้รับการยกย่องจากวรรคดีสโมสรให้เป็นเลิศประเภทกลอนเสภา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและโคลงนิราศสุพรรณซึ่งประพันธ์โดยสุนทรภู่ กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมทั้งสองเรื่องเปรียบเสมือนภาพสะท้อนวิถีชีวิตขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสุพรรณบุรีในอดีต
โคลงนิราศสุพรรณ
โคลงนิราศสุพรรณเป็นวรรณกรรมที่บันทึกสภาพบ้านเมืองของสุพรรณบุรีในอดีตเมื่อครั้งสุนทรภู่กวีเอกแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ผู้ประพันธ์ได้เดินทางมาสุพรรณ ในพุทธศักราช 2379 ขึ้น สมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 จึงมีคุณค่าเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่น และการศึกษาสภาพภูมิศาสตร์เมืองสุพรรณในอดีต
ขุนช้าง–ขุนแผน
ขุนช้าง – ขุนแผนเป็นนิทานคู่บ้านคู่เมืองสุพรรณมานานนับร้อยปี มีเค้าโครงเรื่องจากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์กรุงศรีอยุธยาตอนต้น เมื่อครั้งทำสงครามกับเมืองเชียงใหม่และเมืองเชียงทอง โดยผูกเรื่องให้ตัวเอกรับราชการเป็นขุนนานใต้เบื้องยุคลบาทพระมหากษัตรยิ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ตามเนื้อเรื่องคือ สมเด็จพระพันวษา ซึ่งสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงสันนิษฐานว่าอาจเป็นพระนามหนึ่งของด้วยเป็นเรื่องราวของความรัก ความหึงหวงระหว่างหญิง – ชาย เล่ห์เหลี่ยมกลโกงระหว่างเพื่อน ความเชื่อทางไสยศาสตร์ มนต์ดำและการทำสงคราม ให้อรรถรสครบทุกอารมณ์ จึงเป็นที่นิยมจนได้นำไปประพันธ์ใหม่เป็นร้อยกรองประเภท กลอนเสภา ใช้ขับเล่าประกอบเสียงกรับอันไพเราะ ตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาภายหลังเสียกรุง พุทธศักราช 2310 ต้นฉบับกลอนเสภาสูญหายไป ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ จึงโปรดให้ประชุมกวีเอกของราชสำนัก เพื่อชำระกลอนเสภาขุนช้าง – ขุนแผน จากความทรงจำของช่างขับเสภาที่รอดชีวิตมาจากสงคราม และแต่งบทกลอนเพิ่มเติมในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ก็ได้มีการแต่งกลอนเพิ่มเติมต่อมาจนสมบูรณ์13 เป็นวรรณคดีที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้เป็นเลิศในประเภทกลอนเสภา
ตัวเอกของเรื่องขุนช้าง – ขุนแผน ล้วนมีพื้นเพเป็นชาวสุพรรณบุรี ซึ่งมีฐานะเป็นเมืองหนึ่งของอาณาจักรกรุงศรีอยุธยาทั้งขุนแผนผู้เป็นพระเอก นางพิมพิลาไลยเป็นนางเอก และขุนช้างเป็นผู้ร้าย เรื่องดำเนินไปด้วยเหตุการณ์ชิงรักหักสวาทของตัวเอกทั้งสามตั้งแต่เด็ก กระทั่งเติบโต ถึงชั้นลูกหลาน โดยสอดแทรกเนื้อหาของประเพณี วัฒนธรรม และหลักจริยธรรมในสังคมไทย เช่น ประเพณีการบวชเรียน พิธีแต่งงาน การปลงศพ ผลการประพฤติดี ประพฤติชั่ว ความเคารพนับถือในเครือญาติ ความเชื่อ ไสยศาสตร์ และความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ ที่สื่อถึงผู้อ่านและผู้ฟังได้ นับเป็นคุณค่าที่สมบูรณ์ของวรรณกรรมเรื่องนี้
นอกจากภาพสะท้อนถึงวิถีชีวิตชาไทยสมัยอยุธยา – รัตนโกสินทร์ตอนต้นแล้ว การที่เนื้อหาและฉากในเรื่องถูกผูกให้เป็นตำนานของชื่อสถานที่ในจังหวัดสุพรรณบุรี และกาญจนบุรี เช่นวัดป่าเลไลย์ วัดแค วัดตระไกร บ้านไร่ฝ้าย บ้านท่าสิบเบี้ย เป็นต้น สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันของชาวสุพรรณต่อนิทานเรื่องนี้ ยิ่งเมื่อได้รับเลือกไปประพันธ์เป็นกลอนเสภา ที่ได้รับยกย่องเป็นสุดยอดแห่งกลอนเสภาไทยจากวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ยิ่งเป้นความภาคภูมิใจของชาวสุพรรณและถือเป็นเอกลักษณ์ของเมืองสุพรรณมาตั้งแต่อดีต โดยเห็นได้จากการตั้งชื่อเรือเมล์ขาว – แดง ตามชื่อตัวเอกในเรื่องถึงสมัยปัจจุบันก็ยังตั้งชื่อถนน ตรอก ซอย เป็นชื่อตัวละครในเรื่องขุนช้าง – ขุนแผนอีกด้วย
(จำนวนผู้เข้าชม 4357 ครั้ง)