...

บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี "พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม"
บทความออนไลน์จากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ปราจีนบุรี
"พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม"
พระพุทธรูปยืนปางแสดงธรรม
ศิลปะทวารวดี พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔
พบที่เมืองศรีมโหสถ อ.ศรีมโหสถ จ.ปราจีนบุรี
**พระพุทธรูปยืนปางประทานธรรม มีลักษณะเป็นหินทรายสีเขียว สูง ๑๑๓ ซม. ลักษณะพระพักตร์ ตาโปน คิ้วต่อกันเป็นปีกกา จมูกค่อนข้างแบน ปากหนา แสดงปางแสดงธรรมหรือวิตรรกะมุทรา นิ้วโป้งและนิ้วชี้จรดกันเป็นวงกลมที่เหลือชี้ขึ้นหรือกางออกทั้ง ๒ ข้าง ซึ่งการแสดงวิตรรกะมุทราสองพระหัตถ์ เป็นเอกลักษณ์และรูปแบบเฉพาะที่เกิดขึ้นในวัฒนธรรมทวารวดี ด้านหน้ามีจีวรห่มคลุม พาดผ่านพระกรทั้งสองข้าง มีชายจีวรด้านหน้าห้อยลงมาเป็นวงโค้ง เท้าทั้งสองข้างขาดหายไป
**นอกจากนี้ยังมีลักษณะศิลปะที่สามารถจัดเป็นกลุ่มเดียวกันกับพระพุทธรูปางประทานธรรมที่พบที่พื้นที่บ้านฝ้าย ตำบลไทยสามัคคี อ.ปลายมาศ จ.บุรีรัมย์ รวมทั้งพระพุทธรูปปางประทานธรรมอื่น ๆ ที่พบในวัฒนธรรมทวารดีด้วย
อ้างอิง :
- สำนักศิลปากรที่ 5 ปราจีนบุรี กรมศิลปากร.โบราณคดีเมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘.
- กรมศิลปากร. ประวัติศาสตร์และโบราณคดีเมืองศรีมโหสถ. กรุงเทพฯ, ๒๕๓๕.
- ศ.ดร.ศักดิ์ชัย สายสิงห์. ศิลปะทวารวดี วัฒนธรรมทางศาสนายุคแรกเริ่มในดินแดนประเทศไทย. นนทบุรี, ๒๕๖๒
ผู้เรียบเรียง :
นายนนทนันทน์ ใหม่อ้วน นักศึกษาฝึกประสบการณ์คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยบูรพา
นางสาวพิมชนน์ จันทร์งาม
นักศึกษาฝึกประสบการณ์คณะโบราณคดี สาขาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มหาวิทยาลัยศิลปากร

(จำนวนผู้เข้าชม 640 ครั้ง)