กลุ่มโบราณสถานกลางเวียงกุมกาม : สมุดบันทึกความลับใต้พิภพจากอดีต
//กลุ่มโบราณสถานกลางเวียงกุมกาม : สมุดบันทึกความลับใต้พิภพจากอดีต//
.
.. เย็นนี้แล้ว สำหรับงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี "แอ่วกุมกามยามแลง" ที่จะจัดขึ้น ณ ลานกิจกรรมสาธารณะ วัดหนานช้าง - วัดอีค่าง ใจกลางเวียงกุมกาม ซึ่งมีความสวยงามคลาสสิคตามแบบฉบับของโบราณสถานยุคทองของล้านนา ซึ่งได้เก็บความลับจากอดีตผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานจนมีการค้นพบในปัจจุบัน
.
.. กลุ่มโบราณสถานใจกลางเวียงกุมกาม ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญ 3 แห่ง ประกอบด้วย วัดอีค่าง วัดหนานช้าง และวัดปู่เปี้ย กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ 20 - 22 ร่วมระยะเวลายุคทอง ของอาณาจักรล้านนา หนึ่งในนั้นมีโบราณสถาน 1 แห่งที่เก็บซ่อนความลับจากอดีต เปรียบเสมือนสมุดบันทึกเล่มใหญ่ของเวียงกุมกาม
.
.. โบราณสถานที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ คือ วัดหนานช้าง กลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยอาคารมากถึง 13 หลัง อยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกกว่า 2 เมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 ไร่ การขุดศึกษาทางโบราณคดี พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้
.
.. 1) ภูมิรู้สู้วิกฤตอุทกภัย การขุดศึกษาพบลักษณะชั้นดินก่อเป็นพนังกั้นน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ท่วมหลากเข้ามาในพื้นที่วัด สะท้อนถึงความพยายามแก้ปัญหาน้ำท่วมของชาวเวียงกุมกามในอดีต
.
.. 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับล้านนา การศึกษาทางโบราณคดี พบหลักฐานประจักษ์พยานสำคัญ คือ กลุ่มภาชนะเครื่องถ้วยจีนและเครื่อใช้อื่น ๆ รวมกว่า 50 รายการ บรรจุในใหและถูกนำมาฝังอยู่ในชั้นดินก่อนการล่มสลายของเวียงกุมกาม หนึ่งในหลักฐานกลุ่มนี้ปรากฏเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ที่ปรากฏจารึกอักษรจีน บ่งชี้ให้เห็นว่า เป็นของที่ผลิตขึ้นจากเตาหลวง สำหรับเป็นเป็นเครื่องต้นสำหรับจักรพรรดิ หรือพระราชทานให้แก่พระมหากษัตริย์ของดินแดนที่มีความสัมพันธ์ทางการทูต และได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิจีนเท่านั้น หลักฐานกลุ่มนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและล้านนาผ่านระบบบรรณาการได้เป็นอย่างดี
.
.. 3) การล่มสลายของเวียงกุมกาม จากลักษณะการฝังไหบรรจุกลุ่มเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่วัดหนานช้าง พบว่าอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าฐานรากของอาคารโบราณสถาน และมีซากปรักหักพังของโบราณสถานปะปนอยู่ชั้นดินตอนบนถัดขึ้นไปเป็นชั้นตะกอนทราย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป็นการฝังเพื่อต้องการซุกซ่อนสมบัติเพื่อรอเวลาที่จะนำกลับขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับจารึกที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีน จะพบว่าในห้วงระยะเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ 22) เชียงใหม่อยู่ในสภาวะวุ่นวาย มีการแย่งชิงอำนาจทั้งจากภายในและภายนอก จากทั้งพม่าและกรุงศรีอยุธยา จึงอาจเป็นสาเหตุของการฝังซ่อนสมบัติ ก่อนเวียงกุมกามจะถูกทั้งร้างไปและเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในราวปี พ.ศ.2200
.
.. สำหรับท่านที่อยากไปเสพอดีต เยือนสมุดบันทึกความลับจากใต้พิภพวัดหนานช้าง พบกันเย็นนี้ ในงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี "แอ่วกุมกามยามแลง" ณ ลานกิจกรรมสาธารณะวัดอีค่าง- วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป
.
.. เย็นนี้แล้ว สำหรับงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี "แอ่วกุมกามยามแลง" ที่จะจัดขึ้น ณ ลานกิจกรรมสาธารณะ วัดหนานช้าง - วัดอีค่าง ใจกลางเวียงกุมกาม ซึ่งมีความสวยงามคลาสสิคตามแบบฉบับของโบราณสถานยุคทองของล้านนา ซึ่งได้เก็บความลับจากอดีตผ่านกาลเวลามาอย่างยาวนานจนมีการค้นพบในปัจจุบัน
.
.. กลุ่มโบราณสถานใจกลางเวียงกุมกาม ประกอบด้วยโบราณสถานสำคัญ 3 แห่ง ประกอบด้วย วัดอีค่าง วัดหนานช้าง และวัดปู่เปี้ย กำหนดอายุอยู่ในช่วงพุทธศตวรรษ 20 - 22 ร่วมระยะเวลายุคทอง ของอาณาจักรล้านนา หนึ่งในนั้นมีโบราณสถาน 1 แห่งที่เก็บซ่อนความลับจากอดีต เปรียบเสมือนสมุดบันทึกเล่มใหญ่ของเวียงกุมกาม
.
.. โบราณสถานที่กล่าวถึงข้างต้นนี้ คือ วัดหนานช้าง กลุ่มโบราณสถานขนาดใหญ่ ที่ประกอบด้วยอาคารมากถึง 13 หลัง อยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกกว่า 2 เมตร ครอบคลุมพื้นที่กว่า 3 ไร่ การขุดศึกษาทางโบราณคดี พบข้อมูลสำคัญ ดังนี้
.
.. 1) ภูมิรู้สู้วิกฤตอุทกภัย การขุดศึกษาพบลักษณะชั้นดินก่อเป็นพนังกั้นน้ำ มีวัตถุประสงค์เพื่อกั้นน้ำไม่ให้ท่วมหลากเข้ามาในพื้นที่วัด สะท้อนถึงความพยายามแก้ปัญหาน้ำท่วมของชาวเวียงกุมกามในอดีต
.
.. 2) ความสัมพันธ์ระหว่างจีนกับล้านนา การศึกษาทางโบราณคดี พบหลักฐานประจักษ์พยานสำคัญ คือ กลุ่มภาชนะเครื่องถ้วยจีนและเครื่อใช้อื่น ๆ รวมกว่า 50 รายการ บรรจุในใหและถูกนำมาฝังอยู่ในชั้นดินก่อนการล่มสลายของเวียงกุมกาม หนึ่งในหลักฐานกลุ่มนี้ปรากฏเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิง ที่ปรากฏจารึกอักษรจีน บ่งชี้ให้เห็นว่า เป็นของที่ผลิตขึ้นจากเตาหลวง สำหรับเป็นเป็นเครื่องต้นสำหรับจักรพรรดิ หรือพระราชทานให้แก่พระมหากษัตริย์ของดินแดนที่มีความสัมพันธ์ทางการทูต และได้รับการยอมรับในพระราชอำนาจจากจักรพรรดิจีนเท่านั้น หลักฐานกลุ่มนี้จึงแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างจีนและล้านนาผ่านระบบบรรณาการได้เป็นอย่างดี
.
.. 3) การล่มสลายของเวียงกุมกาม จากลักษณะการฝังไหบรรจุกลุ่มเครื่องถ้วยจีนสมัยราชวงศ์หมิงที่วัดหนานช้าง พบว่าอยู่ในชั้นดินที่ต่ำกว่าฐานรากของอาคารโบราณสถาน และมีซากปรักหักพังของโบราณสถานปะปนอยู่ชั้นดินตอนบนถัดขึ้นไปเป็นชั้นตะกอนทราย แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า เป็นการฝังเพื่อต้องการซุกซ่อนสมบัติเพื่อรอเวลาที่จะนำกลับขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อวิเคราะห์ร่วมกับจารึกที่ปรากฏบนเครื่องถ้วยจีน จะพบว่าในห้วงระยะเวลาดังกล่าว (พุทธศตวรรษที่ 22) เชียงใหม่อยู่ในสภาวะวุ่นวาย มีการแย่งชิงอำนาจทั้งจากภายในและภายนอก จากทั้งพม่าและกรุงศรีอยุธยา จึงอาจเป็นสาเหตุของการฝังซ่อนสมบัติ ก่อนเวียงกุมกามจะถูกทั้งร้างไปและเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่ขึ้นในราวปี พ.ศ.2200
.
.. สำหรับท่านที่อยากไปเสพอดีต เยือนสมุดบันทึกความลับจากใต้พิภพวัดหนานช้าง พบกันเย็นนี้ ในงานท่องเที่ยวโบราณสถานยามราตรี "แอ่วกุมกามยามแลง" ณ ลานกิจกรรมสาธารณะวัดอีค่าง- วัดหนานช้าง เวียงกุมกาม เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป
(จำนวนผู้เข้าชม 327 ครั้ง)