มกรคายมังกร
เปิดที่มา "มกรคายมังกร" หนึ่งเดียวในล้านนา ศิลปกรรมโบราณจาก "เวียงกุมกาม" นครโบราณใต้พิภพ
.
เวียงกุมกาม นครโบราณที่ถือได้ว่าเป็นต้นทางของประวัติศาสตร์ของล้านนา เดิมทีเป็นเมืองในตำนานที่ปรากฏเพียงชื่อในเอกสารประวัติศาสตร์ ในฐานะเมืองที่พญามังรายทรงสร้างขึ้นก่อนการสถาปนาเมืองเชียงใหม่
.
ชื่อ "เวียงกุมกาม" ยังคงเป็นปริศนานับศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ.2527 กรมศิลปากรได้ค้นพบเวียงกุมกาม และมีการขุดศึกษาทางโบราณคดีต่อเนื่องนานกว่า 3 ทศวรรษ
.
ผลการศึกษาทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้พบว่า เวียงกุมกาม เป็นเมืองที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานชุมชนดั้งเดิมในวัฒนธรรมสมัยหริภุญชัย และมีการใช้งานพื้นที่ต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 22 จนกระทั่งสุดท้ายเมืองก็ถูกทับถมด้วยชั้นตะกอนทราย และหายไปจากความทรงจำ เก็บซ่อนความงามของศิลปกรรมเชิงช่างล้านนามากมายไว้ใต้พื้นพิภพ เรื่อยมา
.
หนึ่งในการค้นพบงานศิลปกรรมโบราณของเวียงกุมกามที่มีความโดดเด่น คือ ประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดของอุโบสถและวิหาร ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมาสามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ประกอบด้วย 1) ลายม้วนแบบก้นหอย 2) ลายกนก ตัวเหงาหรือหางวัน และ 3) ลายมกรคายนาค ซึ่งยังคงสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ซ่อนอยู่ภายใต้ชั้นตะกอนทราย
.
นอกจากลวดลาย 3 กลุ่มข้างต้นที่มีความโดดเด่นแล้ว ทีมนักโบราณคดียังค้นพบ ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดที่มีความพิเศษยิ่งกว่า คือ "ลายมกรคายมังกร" ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง ที่มีการค้นพบในดินแดนล้านนาเป็นครั้งแรก และยังคงเป็นหนึ่งเดียวของล้านนาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
.
ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดรูป "มกรคายมังกร" ชิ้นนี้ พบจากการขุดแต่งอุโบสถวัดกู่ป้าด้อม ซึ่งอยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกมากกว่า 2 เมตร สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน โดยประยุกต์คติความเชื่อดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะจากดินแดนภายนอก จนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว จึงถือเป็นอีกหนึ่งที่สุดของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของช่างล้านนาสมัยโบราณ
.
ในปี 2566 นี้ นับเป็นโอกาสดี ที่กรมศิลปากร ได้นำลวดลายที่สุดแห่งการสร้างสรรค์ของช่างล้านนาสมัยโบราณ มาประยุกต์ต่อยอดสร้างเป็นของที่ระลึกที่เปี่ยมไปด้วยความงามและทรงคุณค่า มอบให้แก่ผู้ที่มาร่วมงาน "แอ่วกุมกามยามแลง" ระหว่างวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจกับงานศิลปกรรมโบราณฝีมือบรรพชนเวียงกุมกามไปด้วยกัน
.
เวียงกุมกาม นครโบราณที่ถือได้ว่าเป็นต้นทางของประวัติศาสตร์ของล้านนา เดิมทีเป็นเมืองในตำนานที่ปรากฏเพียงชื่อในเอกสารประวัติศาสตร์ ในฐานะเมืองที่พญามังรายทรงสร้างขึ้นก่อนการสถาปนาเมืองเชียงใหม่
.
ชื่อ "เวียงกุมกาม" ยังคงเป็นปริศนานับศตวรรษ จนกระทั่งเมื่อ ปี พ.ศ.2527 กรมศิลปากรได้ค้นพบเวียงกุมกาม และมีการขุดศึกษาทางโบราณคดีต่อเนื่องนานกว่า 3 ทศวรรษ
.
ผลการศึกษาทางโบราณคดีอย่างต่อเนื่อง ทำให้พบว่า เวียงกุมกาม เป็นเมืองที่สร้างขึ้นบนพื้นฐานชุมชนดั้งเดิมในวัฒนธรรมสมัยหริภุญชัย และมีการใช้งานพื้นที่ต่อเนื่องยาวนาน ตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 17 - 22 จนกระทั่งสุดท้ายเมืองก็ถูกทับถมด้วยชั้นตะกอนทราย และหายไปจากความทรงจำ เก็บซ่อนความงามของศิลปกรรมเชิงช่างล้านนามากมายไว้ใต้พื้นพิภพ เรื่อยมา
.
หนึ่งในการค้นพบงานศิลปกรรมโบราณของเวียงกุมกามที่มีความโดดเด่น คือ ประติมากรรมปูนปั้นประดับราวบันไดของอุโบสถและวิหาร ซึ่งการศึกษาที่ผ่านมาสามารถจำแนกได้ 3 กลุ่มใหญ่ ๆ ประกอบด้วย 1) ลายม้วนแบบก้นหอย 2) ลายกนก ตัวเหงาหรือหางวัน และ 3) ลายมกรคายนาค ซึ่งยังคงสภาพที่ค่อนข้างสมบูรณ์ซ่อนอยู่ภายใต้ชั้นตะกอนทราย
.
นอกจากลวดลาย 3 กลุ่มข้างต้นที่มีความโดดเด่นแล้ว ทีมนักโบราณคดียังค้นพบ ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดที่มีความพิเศษยิ่งกว่า คือ "ลายมกรคายมังกร" ซึ่งมีความสำคัญยิ่ง ที่มีการค้นพบในดินแดนล้านนาเป็นครั้งแรก และยังคงเป็นหนึ่งเดียวของล้านนาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
.
ประติมากรรมปูปั้นประดับราวบันไดรูป "มกรคายมังกร" ชิ้นนี้ พบจากการขุดแต่งอุโบสถวัดกู่ป้าด้อม ซึ่งอยู่ใต้ชั้นตะกอนทรายลึกมากกว่า 2 เมตร สันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะจีน โดยประยุกต์คติความเชื่อดั้งเดิมผสมผสานกับศิลปะจากดินแดนภายนอก จนเกิดเป็นงานสร้างสรรค์ที่มีความโดดเด่นเฉพาะตัว จึงถือเป็นอีกหนึ่งที่สุดของการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะของช่างล้านนาสมัยโบราณ
.
ในปี 2566 นี้ นับเป็นโอกาสดี ที่กรมศิลปากร ได้นำลวดลายที่สุดแห่งการสร้างสรรค์ของช่างล้านนาสมัยโบราณ มาประยุกต์ต่อยอดสร้างเป็นของที่ระลึกที่เปี่ยมไปด้วยความงามและทรงคุณค่า มอบให้แก่ผู้ที่มาร่วมงาน "แอ่วกุมกามยามแลง" ระหว่างวันที่ 1 - 2 ธันวาคม 2566 นี้ เพื่อร่วมชื่นชมและภาคภูมิใจกับงานศิลปกรรมโบราณฝีมือบรรพชนเวียงกุมกามไปด้วยกัน
(จำนวนผู้เข้าชม 732 ครั้ง)