รอยอดีตบนเพิงผากับภาพเขียนสีออบหลวงที่พบใหม่
องค์ความรู้ : สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
เรื่อง : รอยอดีตบนเพิงผากับภาพเขียนสีออบหลวงที่พบใหม่
เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ
นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ
นายสิทธิศักดิ์ ทะสุใจ นักวิชาการวัฒนธรรม
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
การศึกษาอดีต หาใช่ความจริง ๑๐๐% หากแต่เป็นความเสมือนจริงที่สุดที่เราพยายามเข้าใกล้อดีตจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏ วันนี้เราจะมาพยายามเข้าใกล้ความจริงในอดีตของมนุษย์ด้วยกันอีกครั้ง ผ่านแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่เพิ่งค้นพบ นั่นคือแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
เตรียมจินตนาการของคุณไว้ให้ดี เพราะภาพเขียนสีนี้ พร้อมจะท้าทายความคิดของทุกท่าน
แหล่งภาพเขียนสีออบหลวง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งภาพเขียนสีแห่งแรกที่มีการสำรวจทางโบราณคดี ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเริ่มดำเนินการใน พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๓ โดยโครงการโบราณคดีภาคเหนือ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสำรวจพบภาพเขียนสี ๓ แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งภาพเขียนสีผาช้าง และแหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ในเขตอำเภอฮอด และแหล่งภาพเขียนสีผาคันนา เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง ในพ.ศ.๒๕๓๔ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีการดำเนินงานโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย – ฝรั่งเศส ทั้งนี้ในการดำเนินงานทั้งสองครั้ง ได้ทำการคัดลอกภาพเขียนสีที่แหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ทำให้สามารถเปรียบเทียบความเสื่อมสภาพภาพเขียนสีของผาหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๖๖) และทำให้สามารถศึกษารายละเอียดภาพและสัญลักษณ์ต่างๆที่เคยปรากฏได้มากขึ้น
ใน พ.ศ.๒๕๖๖ อุทยานแห่งชาติออบหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ติดต่อยังสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ สำรวจภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผาแต้ม เป็นจุดที่พบภาพเขียนสีจุดใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏข้อมูลการสำรวจหรือดำเนินการทางโบราณคดีมาก่อน สำนักศิลปากรที่๗ เชียงใหม่ จึงได้ทำการสำรวจในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง
เมื่อพิจารณาที่ตั้งแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผาแต้ม พบว่ามีลักษณะร่วมบางประการที่เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปแบบของแหล่งภาพเขียนสีบริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวง คือ ตั้งอยู่บนเพิงผาที่ใกล้กับลำห้วยในพื้นที่ โดยเพิงผาภาพเขียนสีอยู่สูงกว่าลำห้วยราว ๒๐ - ๓๐ เมตร และหันเข้าหาลำห้วย โดยภาพเขียนสีผาหมายหันหน้าเข้าหาลำห้วยผาหมาย และภาพเขียนสีผาแต้มหันเข้าหาลำห้วยแม่ทัง ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าใกล้กับลำห้วยทั้งสองมีผาหินปูนปรากฏหลายแห่ง แต่เพิงผาที่เป็นแหล่งภาพเขียนสีจะมีเพิงผาที่มีความยาวที่เหมาะสมแก่การเขียนภาพคือยาว ๘ – ๑๑ เมตร
อย่างที่เรียนในตอนต้นว่า หลักฐานทางโบราณคดีประเภทภาพเขียนสีท้าทายความคิดและจินตนาการ หากท่านผู้อ่านมองเห็นเป็นอื่นใดจากที่ผู้เขียนวิเคราะห์ สามารถให้ความเห็นและจินตนาการได้ตามแต่ใจของท่าน
เทคนิคที่ใช้ในการเขียน ปรากฏทั้งเทคนิคแบบเงาทึบ (silhouette) และแบบโครงร่างภายนอก (outline) ใช้สีแดงในการเขียน รูปบุคคลและสัตว์เกือบทั้งหมดเขียนในลักษณะรูปด้านหน้าตรง(ในสัตว์อาจมีการเขียนจากมุมสูง อาทิ รูปเต่า ตะพาบน้ำ) ไม่นิยมการเขียนด้านข้างอย่างที่ปรากฏที่ถ้ำเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (แต่ทั้งปรากฏภาพเขียนหันด้านข้างเล็กน้อยที่ภาพเขียนผาหมาย ที่เป็นภาพบุคคลกำลังขี่หรือบังคับจูงสัตว์อยู่) ภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏเขียนใน ๒ ลักษณะ คือ เป็นรูปร่างบุคคลเสมือนจริง และเป็นเส้นแบบกิ่งไม้ บุคคลกางแขนขา (แขนกางในลักษณะคว่ำแขนลง) บุคคลมีลักษณะศีรษะต่างกันหลายแบบ ทั้งศีรษะกลม ค่อนข้างเหลี่ยม และเป็นวงรีที่วางในแนวนอน บางบุคคลมีคอยาว แต่มีข้อสังเกตที่สำคัญคือ เกือบทุกบุคคลมีหาง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ที่ปรากฏในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง วิเคราะห์ว่าหางนี้อาจเป็นอวัยวะเพศชาย ดังนั้นภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคน หรือเป็นสัตว์(ประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่มีหาง)
ทั้งนี้ภาพที่น่าสนใจต่อการวิเคราะห์ตีความแหล่งภาพเขียนสีนี้ที่สุด คือ ภาพเขียนสีที่ผาหมายที่สามารถสื่อความหมายได้ใน ๓ แนวทาง คือ เป็นภาพพานหรือฆ้องที่ห้อยอยู่กับเสา (อาจเป็นฆ้องหรือกลองมโหรทึกสำริด) หรืออาจมองเป็นเป็นภาพกิ่งไม้ที่มีรังผึ้งติดอยู่และมีการตัดลงมาแขวนไว้กับเสาไม้ หรืออาจเป็นภาพสัตว์สี่เท้า มีกีบเท้า ท้องโต คล้ายกับถูกลากจูงโดยบุคคลที่อยู่ด้านหน้า บุคคลเขียนด้วยเงาทึบสีแดง (ข้อมูลในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง และรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีผาหมาย ในโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย-ฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเป็นแนวทางอย่างหลังสุด) ทั้งนี้ในการวิเคราะห์เพิ่มเติม แนวทางที่น่าสนใจอย่างมากคือการตีความว่าภาพนี้อาจจะเป็นกลองมโหระทึกสำริดหรือฆ้อง ซึ่งอาจทำให้บริบทรอบๆที่เป็นภาพบุคคลมีหางคือ คนที่เข้าร่วมในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่อาจมีการสวมใส่ชุดพิเศษในพิธีกรรม (ทำให้ปรากฏส่วนศีรษะที่ไม่เหมือนกัน และปรากฏหาง หรืออวัยวะเพศชาย) นอกจากนั้นภาพรังผึ้งที่อยู่ส่วนกลางของภาพและด้านบนซ้ายก็เป็นภาพที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ใกล้กันกับรังผึ้งปรากฏกากบาทขนาดเล็ก ชวนให้ตีความได้ว่าคือผึ้งที่บินอยู่รอบๆรัง ใกล้กับรังผึ้งกลางภาพมีภาพบุคคลกางแขนขนาดใหญ่ และมีบุคคลขนาดเล็กอีก ๔ คนอยู่ใกล้ ขนาดภาพของบุคคลขนาดใหญ่มีขนาดที่แตกต่างจากบุคคลขนาดเล็กอย่างชัดเจนที่ขนาดใกล้เคียงกัน จึงสันนิษฐานว่าบุคคลขนาดใหญ่นี้อาจเป็นหมี
จากการสำรวจพบว่าแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผ้าแต้ม พบสัตว์ต่างๆคือ สัตว์เลื้อยคลาน(ตะกวด?) เต่าหรือตะพาบน้ำ ผึ้ง หมี วัว ซึ่งวัวที่พบปรากฏทั้งวัวมีหนอก(กระทิง?)และไม่มีหนอก ภาพสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อการตีความและทำความเข้าใจด้านมนุษยวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมของคนในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติสาสตร์เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ล้านนาหลายฉบับ อาทิ ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา กล่าวถึงคนที่เกิดในรอยเท้าสัตว์ (ในมูลศาสนากล่าวถึงทารกที่เกิดมาในรอยเท้าสัตว์ ๓ ชนิด คือ ช้าง แรด วัว) ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า (totem) ดังนั้น ถ้ารูปสัตว์ที่ปรากฏบนเพิงผาเหล่านี้มิใช่เพียงภาพแสดงความอุดมสมบูรณ์หรือวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงการแสดงตัวตนของแต่ละเผ่าที่มีสัตว์เป็นสัญลักษณ์ในพื้นที่ก็เป็นได้ ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าที่แหล่งโบราณคดีผาหมายและผาแต้มไม่พบภาพมือ ซึ่งเป็นภาพที่นิยมเขียนอย่างมากในพื้นที่ภาคเหนือ (หรือในอีกทาง ภาพนี้อาจแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการหาน้ำผึ้งก็เป็นได้) ในด้านแนวทางการกำหนดอายุเบื้องต้น ใช้การกำหนดอายุจากโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งเปรียบเทียบกับค่าอายุของแหล่งภาพเขียนสีที่อยู่ใกล้ คือภาพเขียนสีผาช้าง จากการพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) ซึ่งเป็นรูปแบบเครื่องมือที่กำหนดอายุในยุคหินกลาง (ตามการกำหนดโดยใช้เทคโนโลยี) และเป็นพัฒนาการทางสังคมสมัยหาของป่าล่าสัตว์ ที่กำหนดอายุได้ ๑๐,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้มเป็นค่าอายุที่สอดคล้องกับการกำหนดอายุแหล่งภาพเขียนสีเพิงผาช้าง ที่กำหนดอายุที่ ๘,๕๐๐ – ๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้ม พบเศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน ส่วนขอบปาก เผาไม่สุก เนื้อไส้กลางภาชนะเป็นสีน้ำตาลเทา ไม่ตกแต่งผิวภาชนะ และยังพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) เช่นเดียวกันนี้
เรื่อง : รอยอดีตบนเพิงผากับภาพเขียนสีออบหลวงที่พบใหม่
เรียบเรียงโดย : นายสายกลาง จินดาสุ นักโบราณคดีชำนาญการ
นายยอดดนัย สุขเกษม นักโบราณคดีชำนาญการ
นายสิทธิศักดิ์ ทะสุใจ นักวิชาการวัฒนธรรม
กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่
การศึกษาอดีต หาใช่ความจริง ๑๐๐% หากแต่เป็นความเสมือนจริงที่สุดที่เราพยายามเข้าใกล้อดีตจากหลักฐานทางโบราณคดีที่ปรากฏ วันนี้เราจะมาพยายามเข้าใกล้ความจริงในอดีตของมนุษย์ด้วยกันอีกครั้ง ผ่านแหล่งโบราณคดีแห่งใหม่ที่เพิ่งค้นพบ นั่นคือแหล่งภาพเขียนสีสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่
เตรียมจินตนาการของคุณไว้ให้ดี เพราะภาพเขียนสีนี้ พร้อมจะท้าทายความคิดของทุกท่าน
แหล่งภาพเขียนสีออบหลวง ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแหล่งภาพเขียนสีแห่งแรกที่มีการสำรวจทางโบราณคดี ในพื้นที่ภาคเหนือ โดยเริ่มดำเนินการใน พ.ศ.๒๕๒๗ – ๒๕๓๓ โดยโครงการโบราณคดีภาคเหนือ ฝ่ายวิชาการ กองโบราณคดี กรมศิลปากร โดยในช่วงเวลาดังกล่าวสำรวจพบภาพเขียนสี ๓ แหล่ง ประกอบด้วยแหล่งภาพเขียนสีผาช้าง และแหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ในเขตอำเภอฮอด และแหล่งภาพเขียนสีผาคันนา เขตอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้มีการตีพิมพ์ข้อมูลดังกล่าวในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง ในพ.ศ.๒๕๓๔ ต่อมาใน พ.ศ.๒๕๓๘ ได้มีการดำเนินงานโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย – ฝรั่งเศส ทั้งนี้ในการดำเนินงานทั้งสองครั้ง ได้ทำการคัดลอกภาพเขียนสีที่แหล่งภาพเขียนสีผาหมาย ทำให้สามารถเปรียบเทียบความเสื่อมสภาพภาพเขียนสีของผาหมายจากอดีตถึงปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๖๖) และทำให้สามารถศึกษารายละเอียดภาพและสัญลักษณ์ต่างๆที่เคยปรากฏได้มากขึ้น
ใน พ.ศ.๒๕๖๖ อุทยานแห่งชาติออบหลวง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธ์พืช ได้ติดต่อยังสำนักศิลปากรที่ ๗ เชียงใหม่ สำรวจภาพเขียนสีในพื้นที่อุทยานฯ ซึ่งจากข้อมูลเบื้องต้นพบว่า ผาแต้ม เป็นจุดที่พบภาพเขียนสีจุดใหม่ที่ยังไม่เคยปรากฏข้อมูลการสำรวจหรือดำเนินการทางโบราณคดีมาก่อน สำนักศิลปากรที่๗ เชียงใหม่ จึงได้ทำการสำรวจในพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติออบหลวง
เมื่อพิจารณาที่ตั้งแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผาแต้ม พบว่ามีลักษณะร่วมบางประการที่เป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับรูปแบบของแหล่งภาพเขียนสีบริเวณอุทยานแห่งชาติออบหลวง คือ ตั้งอยู่บนเพิงผาที่ใกล้กับลำห้วยในพื้นที่ โดยเพิงผาภาพเขียนสีอยู่สูงกว่าลำห้วยราว ๒๐ - ๓๐ เมตร และหันเข้าหาลำห้วย โดยภาพเขียนสีผาหมายหันหน้าเข้าหาลำห้วยผาหมาย และภาพเขียนสีผาแต้มหันเข้าหาลำห้วยแม่ทัง ทั้งนี้จากการสำรวจพบว่าใกล้กับลำห้วยทั้งสองมีผาหินปูนปรากฏหลายแห่ง แต่เพิงผาที่เป็นแหล่งภาพเขียนสีจะมีเพิงผาที่มีความยาวที่เหมาะสมแก่การเขียนภาพคือยาว ๘ – ๑๑ เมตร
อย่างที่เรียนในตอนต้นว่า หลักฐานทางโบราณคดีประเภทภาพเขียนสีท้าทายความคิดและจินตนาการ หากท่านผู้อ่านมองเห็นเป็นอื่นใดจากที่ผู้เขียนวิเคราะห์ สามารถให้ความเห็นและจินตนาการได้ตามแต่ใจของท่าน
เทคนิคที่ใช้ในการเขียน ปรากฏทั้งเทคนิคแบบเงาทึบ (silhouette) และแบบโครงร่างภายนอก (outline) ใช้สีแดงในการเขียน รูปบุคคลและสัตว์เกือบทั้งหมดเขียนในลักษณะรูปด้านหน้าตรง(ในสัตว์อาจมีการเขียนจากมุมสูง อาทิ รูปเต่า ตะพาบน้ำ) ไม่นิยมการเขียนด้านข้างอย่างที่ปรากฏที่ถ้ำเขาจันทร์งาม อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา (แต่ทั้งปรากฏภาพเขียนหันด้านข้างเล็กน้อยที่ภาพเขียนผาหมาย ที่เป็นภาพบุคคลกำลังขี่หรือบังคับจูงสัตว์อยู่) ภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏเขียนใน ๒ ลักษณะ คือ เป็นรูปร่างบุคคลเสมือนจริง และเป็นเส้นแบบกิ่งไม้ บุคคลกางแขนขา (แขนกางในลักษณะคว่ำแขนลง) บุคคลมีลักษณะศีรษะต่างกันหลายแบบ ทั้งศีรษะกลม ค่อนข้างเหลี่ยม และเป็นวงรีที่วางในแนวนอน บางบุคคลมีคอยาว แต่มีข้อสังเกตที่สำคัญคือ เกือบทุกบุคคลมีหาง ทั้งนี้จากการวิเคราะห์ที่ปรากฏในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง วิเคราะห์ว่าหางนี้อาจเป็นอวัยวะเพศชาย ดังนั้นภาพเขียนบุคคลที่ปรากฏจึงมีความเป็นไปได้ที่จะเป็นคน หรือเป็นสัตว์(ประเภทสัตว์เลื้อยคลานที่มีหาง)
ทั้งนี้ภาพที่น่าสนใจต่อการวิเคราะห์ตีความแหล่งภาพเขียนสีนี้ที่สุด คือ ภาพเขียนสีที่ผาหมายที่สามารถสื่อความหมายได้ใน ๓ แนวทาง คือ เป็นภาพพานหรือฆ้องที่ห้อยอยู่กับเสา (อาจเป็นฆ้องหรือกลองมโหรทึกสำริด) หรืออาจมองเป็นเป็นภาพกิ่งไม้ที่มีรังผึ้งติดอยู่และมีการตัดลงมาแขวนไว้กับเสาไม้ หรืออาจเป็นภาพสัตว์สี่เท้า มีกีบเท้า ท้องโต คล้ายกับถูกลากจูงโดยบุคคลที่อยู่ด้านหน้า บุคคลเขียนด้วยเงาทึบสีแดง (ข้อมูลในหนังสือโบราณคดีลุ่มแม่น้ำปิง และรายงานการขุดค้นทางโบราณคดีผาหมาย ในโครงการวิจัยสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ไทย-ฝรั่งเศส สันนิษฐานว่าเป็นแนวทางอย่างหลังสุด) ทั้งนี้ในการวิเคราะห์เพิ่มเติม แนวทางที่น่าสนใจอย่างมากคือการตีความว่าภาพนี้อาจจะเป็นกลองมโหระทึกสำริดหรือฆ้อง ซึ่งอาจทำให้บริบทรอบๆที่เป็นภาพบุคคลมีหางคือ คนที่เข้าร่วมในพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์ ที่อาจมีการสวมใส่ชุดพิเศษในพิธีกรรม (ทำให้ปรากฏส่วนศีรษะที่ไม่เหมือนกัน และปรากฏหาง หรืออวัยวะเพศชาย) นอกจากนั้นภาพรังผึ้งที่อยู่ส่วนกลางของภาพและด้านบนซ้ายก็เป็นภาพที่มีความน่าสนใจอย่างมาก ใกล้กันกับรังผึ้งปรากฏกากบาทขนาดเล็ก ชวนให้ตีความได้ว่าคือผึ้งที่บินอยู่รอบๆรัง ใกล้กับรังผึ้งกลางภาพมีภาพบุคคลกางแขนขนาดใหญ่ และมีบุคคลขนาดเล็กอีก ๔ คนอยู่ใกล้ ขนาดภาพของบุคคลขนาดใหญ่มีขนาดที่แตกต่างจากบุคคลขนาดเล็กอย่างชัดเจนที่ขนาดใกล้เคียงกัน จึงสันนิษฐานว่าบุคคลขนาดใหญ่นี้อาจเป็นหมี
จากการสำรวจพบว่าแหล่งภาพเขียนสีผาหมายและผ้าแต้ม พบสัตว์ต่างๆคือ สัตว์เลื้อยคลาน(ตะกวด?) เต่าหรือตะพาบน้ำ ผึ้ง หมี วัว ซึ่งวัวที่พบปรากฏทั้งวัวมีหนอก(กระทิง?)และไม่มีหนอก ภาพสัตว์เหล่านี้มีความสำคัญต่อการตีความและทำความเข้าใจด้านมนุษยวิทยาเกี่ยวกับพัฒนาการทางสังคมของคนในพื้นที่ภาคเหนือตั้งแต่สมัยก่อนประวัติสาสตร์เข้าสู่สมัยประวัติศาสตร์ เอกสารทางประวัติศาสตร์ในพื้นที่ล้านนาหลายฉบับ อาทิ ตำนานจามเทวีวงศ์ ตำนานมูลศาสนา กล่าวถึงคนที่เกิดในรอยเท้าสัตว์ (ในมูลศาสนากล่าวถึงทารกที่เกิดมาในรอยเท้าสัตว์ ๓ ชนิด คือ ช้าง แรด วัว) ซึ่งสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงสัตว์ที่เป็นสัญลักษณ์ประจำเผ่า (totem) ดังนั้น ถ้ารูปสัตว์ที่ปรากฏบนเพิงผาเหล่านี้มิใช่เพียงภาพแสดงความอุดมสมบูรณ์หรือวิถีชีวิตของคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ภาพสัตว์เหล่านี้อาจหมายถึงการแสดงตัวตนของแต่ละเผ่าที่มีสัตว์เป็นสัญลักษณ์ในพื้นที่ก็เป็นได้ ทั้งนี้เป็นที่น่าสังเกตว่าที่แหล่งโบราณคดีผาหมายและผาแต้มไม่พบภาพมือ ซึ่งเป็นภาพที่นิยมเขียนอย่างมากในพื้นที่ภาคเหนือ (หรือในอีกทาง ภาพนี้อาจแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับการหาน้ำผึ้งก็เป็นได้) ในด้านแนวทางการกำหนดอายุเบื้องต้น ใช้การกำหนดอายุจากโบราณวัตถุที่พบในพื้นที่แหล่งเปรียบเทียบกับค่าอายุของแหล่งภาพเขียนสีที่อยู่ใกล้ คือภาพเขียนสีผาช้าง จากการพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) ซึ่งเป็นรูปแบบเครื่องมือที่กำหนดอายุในยุคหินกลาง (ตามการกำหนดโดยใช้เทคโนโลยี) และเป็นพัฒนาการทางสังคมสมัยหาของป่าล่าสัตว์ ที่กำหนดอายุได้ ๑๐,๐๐๐ – ๖,๐๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้มเป็นค่าอายุที่สอดคล้องกับการกำหนดอายุแหล่งภาพเขียนสีเพิงผาช้าง ที่กำหนดอายุที่ ๘,๕๐๐ – ๗,๕๐๐ ปีมาแล้ว ซึ่งจากการสำรวจตามความลาดชันโดยรอบภาพเขียนสีผาแต้ม พบเศษภาชนะดินเผาแบบเนื้อดิน ส่วนขอบปาก เผาไม่สุก เนื้อไส้กลางภาชนะเป็นสีน้ำตาลเทา ไม่ตกแต่งผิวภาชนะ และยังพบเครื่องมือหินกะเทาะแบบสุมาตราลิธ กะเทาะหน้าเดียวจากหินกรวดแม่น้ำ (unifacial pebble tools,sumatralithe type axe) เช่นเดียวกันนี้
(จำนวนผู้เข้าชม 1335 ครั้ง)